Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

สาเหตุภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2556

E-mail Print PDF

นางสาวนภสวรรณ  เกตุไธสง และคณะ

งานห้องคลอด โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

 

การคลอดก่อนกำหนดคือทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ไม่ครบ 37 สัปดาห์ (259 วัน) โดยไม่คำนึงถึงน้ำหนักแรกเกิด การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกเสียชีวิตและมีความพิการสูง การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด จำนวน 59 คน ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ที่ใช้พัฒนาโดยผู้ศึกษาประกอบด้วย ข้อคำถามที่ได้ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสาเหตุ และภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล และแจกแจง ความถี่หาค่าร้อยละสรุปผลการวิจัย พบว่า สาเหตุการคลอดก่อนกำหนดในห้องคลอด โรงพยาบาลเพ็ญ มีสาเหตุมาจากการทำงานหนักร้อยละ 20.34 การเดินทางไกล ร้อยละ 15.25 ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ร้อยละ 10.17 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปร้อยละ 69.44 เป็นครรภ์แรกร้อยละ 40.68 ฝากครรภ์ในเขตจังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 79.66 ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ร้อยละ 50.85 อายุครรภ์ที่มีผลภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอยู่ในช่วง 34-37 สัปดาห์ ร้อยละ 54.24 การศึกษาที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด คือมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 33.9 รายได้อยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.32 ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7,322.03:3,861.57 ค่ามัธยฐาน 6,000 (4,000:28,800) อาชีพแม่บ้านร้อยละ 72.88 การสูบบุหรี่ดื่มสุราไม่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ 1. ต่อผู้ป่วย - ผู้คลอดทราบสาเหตุ อาการของการคลอดก่อนกำหนด ทำให้เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเร็วขึ้น - ผู้คลอดทราบถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนด มีผลต่อมารดา ทารก และเศรษฐกิจ ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น  2. ต่อบุคคลากร - เผยแพร่งานวิจัยให้เครือข่ายทราบถึงสาเหตุการคลอดก่อนกำหนด เพื่อหาแนวทางป้องกันร่วมกัน - บุคลากรทราบสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด และหาแนวทางป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดเป็นแนวทางเดียวกัน - บุคลากรในพื้นที่สามารถหาแนวทางป้องกันและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดจากสาเหตุที่แท้จริงได้ - บุคลากรสามารถวางแผนการดูแลรักษาจากสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดได้ 3. ผลต่อการพัฒนางาน - พัฒนาระบบประสานงานระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต. อสม. ในพื้นที่ในการประสานงานในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด - พัฒนาโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน ให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆโดยเน้นการสอนภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด - จัดกิจกรรมสายด่วนรับปรึกษาการฝากครรภ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีที่ปรึกษาตลอดเวลา - กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ - มีแนวทางการส่งต่อหญิงเจ็บครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด - มีแนวทางการดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด บทเรียนที่ได้รับ 1.ทราบกลุ่มเสี่ยงในภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 2.ทราบสาเหตุภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 3. ทราบแนวทางป้องกัน และแก้ไขภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 4.ทราบแนวทางการดูแลรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนด 5.ทราบการประสานงานระหว่างเครือข่ายในการดูแลกลุ่มเสี่ยง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1.ความรู้ในเชิงวิจัยของผู้วิจัย 2.ความร่วมมือระหว่างเครือข่าย รพ.สต. และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 3. ความร่วมมือและความสามัคคี ในหน่วยงานห้องคลอด 4.ความร่วมมือของหญิงตั้งครรภ์และญาติที่เข้ารับบริการที่ห้องคลอด โรงพยาบาลเพ็ญ 5.อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย 6.ผู้ประสานงานโครงการวิจัย

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday14
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week59
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month475
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249226

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.219.224.139
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024