Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางกรองแก้ว  อัคเนตร และคณะ

แผนกผู้ป่วยในสูติ-นรีเวชกรรม รพ.กุมภวาปี

 

ทีมาของปัญหาและวัตถุประสงค์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลกุมภวาปี พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 26.0 , 29.6 ,31.27 และ31.40  ในปี 2551, 2552 ,2553  และ 2554 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สาเหตุของภาวะตัวเหลืองพบว่า ร้อยละ 78.9 เกิดจากทารกแรกเกิดได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ จากการทบทวนกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่ามีการพยาบาลที่แตกต่าง การดูแลไม่ครอบคลุม ต่อเนื่อง สอดคล้องกับปัญหาของมารดาและทารกจนส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอจานวนมากขึ้นขึ้นจนกระทั่งในปี 2554 เป็นลำดับที่ 2 ใน 5 อันดับโรคผู้ป่วยในโรงพยาบาลกุมภวาปี  ถ้าทารกมีระดับค่าตัวเหลืองที่สูงเกินค่าปกติ ทารกจะมีอาการซึม  ดูดนมได้ไม่ดีและอาจมีภาวะ Kernicterus เกิดขึ้นตามมา ถ้ารอดชีวิตทารกจะปรากฏอาการของรอยโรคให้เห็นได้ เช่น  พัฒนาการช้า  หูหนวก  ชัก  ตัวแข็งเกร็ง  ปัญญาอ่อน ตลอดจนส่งผลต่อจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและต้นทุนในการดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น   ดังนั้นทีมบุคลากรตึกสูติ-นรีเวชกรรม จึงได้นำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นมาใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดเพื่อลดจำนวนการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด   มารดาหลังคลอดและครอบครัวพึงพอใจต่อการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ที่ตึกสูติ-นรีเวชกรรม ในปีงบประมาณ 2555 (1 ตุลาคม -30 กันยายน 2555 ) โดยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลและนำมาใช้ในการบริการหญิงหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินที่จัดทำขึ้น ประกอบด้วย 1.การประเมินปัจจัยเสี่ยงของทารกแรกเกิดใช้ Modified Risk Index for hyperbilirubinemia 2.การประเมิน Breastfeeding Warning Signs 3.แบบนิเทศติดตาม การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ 4.แบบประเมินภาวะตัวเหลือง จากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด 5.แบบความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและครอบครัว ผลการศึกษา เมื่อติดตามผลลัพธ์ พบว่าจำนวนการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดลดลงจากร้อยะ 31.40 เหลือเพียงร้อย 10.54 ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองจากการได้น้ำนมไม่เพียงพอลดลงจากร้อยละ78.8 เหลือ ร้อยละ 57.6 และผลการประเมินความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและครอบครัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 81 ในปี 2555 การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ 1.วางแผนและเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ก่อนนำแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด มาใช้ในตึกสูติ-นรีเวชกรรม โดยมีการดำเนินการประชุมให้ความรู้ที่สำคัญและฝึกทักษะปฏิบัติที่กำหนดไว้ในแนวปฏิบัติการพยาบาล 2. การติดตามภาวะผิดปกติที่ต้องเฝ้าระวังของการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอและ ประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติแพทย์ กุมารแพทย์ เภสัชกร โภชนากร แพทย์แผนไทยในการดำเนินกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมการมาเร็วของน้ำนมโดยจัดบริการน้ำสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมและการนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพร 3.ประเมินLATCH Score, ระดับปริมาณน้ำนม,น้ำหนักทารกแรกเกิด และสื่อสารผลการประเมินระหว่างทีม สูติแพทย์ กุมารแพทย์ 4. การให้ความรู้และฝึกทักษะปฏิบัติผ่านสื่อเรียนรู้ / การเข้าช่วยเหลือ/เสริมพลังให้มารดาสามารถดูแลทารกดูดนมได้ถูกต้องและมีส่วนร่วมลงข้อมูลในแบบบันทึกลูกน้อยแม่คอยใส่ใจ บทเรียนที่ได้รับ 1. ควรสนับสนุนให้มีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด ไปใช้อย่างต่อเนื่อง 2. การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานตอบสนองได้ตรงกับความต้องการทั้งของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ทุกคนในหน่วยงานตระหนักและเข้าใจประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เกิดการทำงานเป็นทีมในตึกสูติ-นรีเวชกรรม เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ 3.ผู้รับบริการคือมารดาหลังคลอดและญาติมีส่วนร่วม เข้าใจและเห็นความสำคัญของบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday24
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week69
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month485
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249236

We have: 2 guests online
Your IP: : 18.226.163.70
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024