Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคพยาธิใบใม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นายไสว  ชัยประโคม

รพ.สต.หนองแวง  อ.บ้านผือ

ที่มา และความสำคัญ อำเภอบ้านผือ ประกอบด้วย 13 ตำบล ในปี 2556 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับสำนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ 6 จังหวัดขอนแก่น กำหนดพื้นที่นำร่อง 2 ตำบล คือตำบลหนองแวง และตำบลกลางใหญ่ ตามโครงการสำรวจความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตรับผิดชอบของ สปสช.เขต 8 อุดรธานี (เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ , 2556) ผลการสำรวจพบว่า อัตราชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ พื้นที่ตำบลหนองแวง เท่ากับ 24.49 ( พื้นที่ สีแดง: ระบาดรุนแรง) พื้นที่ตำบลกลางใหญ่ เท่ากับ 8.33 (พื้นที่ สีเหลือง: ระบาดปานกลาง) ตำบลหนองแวง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านผือ พื้นที่ติดกับอำเภอสุวรรณ คูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพื้นที่ชนบทติดกับแนวเทือกเขาภูพาน มีลำห้วยงาวไหลผ่าน และมีแหล่งน้ำในการจับปลาน้ำจืดเป็นจำนวนมาก ทั้งพื้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัดที่ใกล้เคียง ชุมชนตำบลหนองแวงเป็นชุมชนอีสาน มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และพฤติกรรมการบริโภคแบบไทเลยโบราณ จากข้อมูลการสำภาษณ์เชิงลึกและการจัดเวทีระดมสมองของ ดร.เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ ตามโครงการสำรวจความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตรับผิดชอบของ สปสช.เขต 8 อุดรธานี (เกษร แถวโนนงิ้ว และคณะ, 2556)  สรุปผลพบว่า พฤติกรรมการบริโภคปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดแบบมีเกล็ด แบบดิบและหรือแบบสุกๆดิบๆ ของประชาชนเขตตำบลหนองแวง ยังพบจำนวนมาก และเป็นปัญหาทางสุขภาพอนามัยที่ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมการบริโภค อย่างเร่งด่วนที่สุด วัตถุประสงค์ 1) ความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไป 2) ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และความเสี่ยงกับพฤติกรรมการการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบดิบ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และความเสี่ยงกับการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง วิเคราะห์แบบตัดขวาง ( Analytic Cross-sectional Descriptive Study) ประชากรที่ศึกษา คือประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน เป็นชุมชนเขตชนบท ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยการคัดกรองด้วยวาจา (Verbal Screenning) ด้วยคำถาม 4 คำถามได้แก่ 1. เป็นคนอีสานโดยกำเนิดหรือมาอยู่อาศัยในพื้นที่ภาคอีสานและอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป 2. รับประทานปลาน้ำจืดหรือผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดแบบดิบหรือสุกๆดิบๆ 3. มีประวัติเคยติดเชื้อและ/หรือตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ 4. เคยกินยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับ(ยาพราซิควอนเทล) เกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้าเกณฑ์คำถามข้อที่ 1 และ ตอบคำถามว่า มี และ/หรือ ใช่ 1 ข้อขึ้นไป จากคำถามข้อที่ 2 ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 เพียง 1 คำถาม ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นจะทำการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงด้วยแบบขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และบันทึกข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลออนไลน์ อ้างอิงตาม กรอบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และ ตามโครงการพัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหามะเร็งท่อน้ำดีแบบมีส่วนร่วม จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2557 ประชากรที่ศึกษา คือประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง จำนวน 3,830 คน คำนวณและเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเลือกคลัสเตอร์ (Clusters Sampling Technique ) จำนวน 160 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำรวจความชุกโดยการตรวจอุจจาระใช้วิธีการตรวจแบบ Modified Kato Katz จำนวน 1,500 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าp-value, ค่าPearson‘s Correlation Coefficient :Chi-square, ค่า Odds ratios : OR, ค่า 95%CI,ค่า Multiple Logistic Regression ระยะเวลาการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือน พฤศจิกายน 2556เดือน กรกฎาคม .. 2557 ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของโรคเท่ากับร้อยละ 7.4 ลดลงจาก ร้อยละ24.49 ในปี 2556 และมีค่าใกล้เคียงกับพื้นที่อื่นๆในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ มีความเสี่ยงและส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคโรคพยาธิใบไม้ตับได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง 3 เท่า(AOR=3.06,95% CI=2.20-4.26) กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ 4.4 เท่า (AOR=4.40,95%CI=2.15-9.01) ปัจจัยด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(AOR=0.85 ,95%CI=0.56-1.29) ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในเชิงป้องกัน (AOR=1.07,95%CI=0.46-2.47) ปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 90 ยังคงรับประทานอาหารเสี่ยงตามวิถีชาวบ้านและไม่มีแนวโน้มที่คิดจะเลิกเลยเช่นปลาร้าดิบ แจ่วบอง ส้มตำใส่ปลาร้าดิบฯลฯ ส่วนปัจจัยระดับการศึกษา กลุ่มอาชีพ การอยู่อาศัยในพื้นที่ การอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday22
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week67
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month483
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249234

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.219.205.202
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024