Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

ธรรมนูญสุขภาพกับการจัดการสุขภาพชุมชน

E-mail Print PDF

นางสาวสุดาพร  วงษ์พล

รพ.สต.ท่าสี ตำบลแสงสว่าง อ.หนองแสง

ที่มาและความสำคัญ ธรรมนูญสุขภาพ  หมายถึง   “กฎกติกา  ข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชนโดยชุมชนกำหนดขึ้นเอง  ประเมินกันเองในชุมชน  แล้วนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสุขของคนในชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องการเจ็บป่วยทางร่างกาย แต่หมายรวมถึงความสุขในทุกๆด้านทั้งร่างกาย  จิตใจ  จิตสังคม  และจิตวิญญาณ” วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ธรรมนูญส่งสุขภาพเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพชุมชน วิธีการดำเนินงาน กระบวนการ ธรรมนูญสุขภาพ ขั้นตอนที่ 1 คือการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำประเด็นต่างๆกลับมาถอดบทเรียนให้ตัวแทนจากหน่วยงาน กลุ่ม องค์การต่างๆในชุมชนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันเรียนรู้ ปรับแนวคิดในเรื่องธรรมนูญสุขภาพให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขั้นตอนที่ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญชุมชน กำหนดบาทบาทและแกนนำในแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน ขั้นตอนที่ 3 ประชุมภาคีเครือข่าย (ผู้นำ ผอ.รร. อสม. รพสต. ส.อบต.ฯลฯ) ถอดบทเรียน ปรับแนวคิด สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมนูญสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ปรับความเข้าใจแก่ชุมชน ขั้นตอนที่ 4 ทีมวิชาการร่วมกันออกแบบสอบถามโดยการทบทวนจากหลายๆพื้นที่ ส่งให้ที่ปรึกษาระดับอำเภอและระดับจังหวัดให้ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากนั้นจัดพิมพ์แบบสอบถามเพื่อลงเก็บข้อมูลในชุมชนทุกหลังคาเรือน ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน และ 3 โรงเรียน 600 ชุด โดยให้ อสม.ลงเก็บในครัวเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ ขั้นตอนที่ 5 นำแบบสอบถามที่รวบรวมกลับมาเพื่อตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของแบบสอบถาม จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และคืนข้อมูลให้ชุมชนผ่านเวทีประชุมชาวบ้านของแต่ละหมู่บ้าน ขั้นตอนที่ 6 คณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์จากปัญหา ขั้นตอนที่ 7 จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพฯ 12 หมวด (75 ข้อ) โดยการทบทวนจากพื้นที่อื่น จากการนำปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นแนวทางในการจัดทำร่าง โดยทีมวิชาการได้ทำการยกร่างเพื่อเสนอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณา จากนั้นส่งร่างให้ที่ปรึกษาระดับอำเภอและระดับจังหวัดอ่านและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 8 จัดเวทีประชาคม ประชาพิจารณ์ แสดงความคิดเห็น รับร่างฯ ขั้นตอนที่ 9 แก้ไขร่างฯให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 10 ประกาศใช้ธรรมนูญฯ (12 สิงหาคม 2557) ขั้นตอนที่ 11 กำหนดและประกาศมาตรการทางสังคม ขั้นตอนที่ 12 ดำเนินการตามประกาศมาตรการทางสังคม ผลการศึกษา การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพหลังการประกาศใช้ หลังจากประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชนคน 3ท. คณะกรรมการสำนักธรรมนูญสุขภาพได้ร่วมกันพิจารณา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและกิจกรรม โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับธรรมนูญสุขภาพข้อใด หมวดใด จากนั้นร่วมกันสรุปเพื่อหาแกนนำในการดำเนินกิจกรรมตามหมวดนั้นๆ ออกประชาคมแต่ละหมู่บ้านเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคม ประกาศใช้มาตรการทางสังคมผ่านเวทีประชาคมและหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จากนั้นแต่ละหมู่บ้านก็ดำเนินกิจกรรมตามมาตรการทางสังคมและกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมนูญสุขภาพ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นทีมกระตุ้นเตือนการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ทีมประเมินสำนักธรรมนูญสุขภาพออกติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การเชื่อมประเด็นที่ระบุไว้ในธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ นำไปขับเคลื่อนหรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนา กับหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ โรงเรียน วัด รพ.สต. เกษตร ฯลฯ มีประเด็นอะไรบ้าง และมีการดำเนินงานอย่างไร จากการสรุปประเด็นปัญหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินกิจกรรม ได้มีการเชื่อมประเด็นกับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนบูรณาการกับหน่วยงานอื่น/ประเด็นอื่น รวมถึงการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในประเด็นที่ตนเป็นแกนนำหลัก ซึ่งมีประเด็นในการเชื่อมโยงดังนี้ หมวดที่ 2 การส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่น แกนนำหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน/เจ้าอาวาสวัด/ส่วนสาธารณสุข/ส่วนการศึกษา หมวดที่ 3 ชุมชนมีความรักความสามัคคี แกนนำหลัก ได้แก่ ส่วนสวัสดิการสังคม/ผู้นำชุมชน หมวดที่ 4 อยู่ดี กินดี ตามวิถีพอเพียง แกนนำหลัก ได้แก่ ส่วนเกษตร/ส่วนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ผู้นำชุมชน หมวดที่ 5 หลีกเลี่ยงอบายมุข แกนนำหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน/ส่วนสาธารณสุข/รพ.สต. หมวดที่ 6 สาธารณสุขมูลฐาน แกนนำหลัก ได้แก่ รพ.สต./ส่วนสาธารณสุข/อสม. หมวดที่ 7 พัฒนาส่งเสริมการประกอบอาชีพ แกนนำหลัก ได้แก่ ส่วนสวัสดิการสังคม หมวดที่ 8 วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น แกนนำหลัก ได้แก่ ส่วนการศึกษา/สำนักปลัด อบต.แสงสว่าง หมวดที่ 9 เรียนรู้คู่คุณธรรม แกนนำหลัก ได้แก่ โรงเรียน/ส่วนการศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมวดที่ 10 เสียสละเพื่อส่วนรวม แกนนำหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน หมวดที่ 11 สิ่งแวดล้อม แกนนำหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน/ส่วนสาธารณสุข การเชื่อมประเด็นที่ระบุไว้ในธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ นำไปขับเคลื่อนหรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนา กับ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น มีประเด็นอะไรบ้าง และมีการดำเนินงานอย่างไร การเชื่อประเด็นกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกับธรรมนูญสุขภาพ โดยแกนนำหลักในแต่ละหมวดเขียนแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาตามธรรมนูญสุขภาพ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ หมวดที่ 2 การส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่น โครงการที่สอดคล้อง ได้แก่ โครงการส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น หมวดที่ 3 ชุมชนมีความรักความสามัคคี โครงการที่สอดคล้อง ได้แก่ โครงการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ หมวดที่ 4 อยู่ดี กินดี ตามวิถีพอเพียง โครงการที่สอดคล้อง ได้แก่ โครงการติดตามเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผลตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย หมวดที่ 5 หลีกเลี่ยงอบายมุข โครงการที่สอดคล้อง ได้แก่ โครงการงานศพงานเศร้าปลอดเหล้าปลอดการพนัน หมวดที่ 6 สาธารณสุขมูลฐาน โครงการที่สอดคล้อง ได้แก่ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โครงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน หมวดที่ 9 เรียนรู้คู่คุณธรรม แกนนำหลัก ได้แก่ โครงการอนามัยดีชีวีมีสุข หมวดที่ 10 เสียสละเพื่อส่วนรวม แกนนำหลัก ได้แก่ โครงการจิตอาสา หมวดที่ 11 สิ่งแวดล้อม แกนนำหลัก ได้แก่ โครงการคัดแยกขยะ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก สรุปผลการศึกษา รูปธรรมความสำเร็จของการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพ 1. เกิดมาตรการทางสังคมที่มีการบังคับใช้อย่างชัดเจนหลายประเด็น ได้แก่ ประเด็นงานหลีกเลี่ยงอบายมุข การป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันการจับสัตว์น้ำ และมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2. เกิดกิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบอย่างต่อเนื่อง โดยมีประชาชนเป็นแกนนำหลักในการเต้น กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้อองถิ่นสนับสนุนเครื่องเสียง อบต.แสงสว่างสนับสนุนงบประมาณสร้างลานกีฬาเพื่อสุขภาพ รพ.สต.สนับสนุนวิทยากรสอนการเต้นบาสโลบและกระตุ้นเตือน อสม.ให้เป็นแกนนำในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมออกกำลังกายทุกวัน 3. เกิดกิจกรรมงานศพงานเศร้าปลอดเหล้าปลอดอบายมุข โดยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ มีประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้สำเร็จจำนวน 5 ครัวเรือน ได้รับเงินสนับสนุนในการจัดทำศพๆละ 5,000 บาท เกิดความต่อเนื่องของโครงการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัทเอกชนเพื่อดำเนินกิจกรรม 4. เกิดกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีผู้นำชุมชนเป็นแกนนำหลักในการเชิญชวนลูกบ้านมาร่วมกันทำความสะอาดที่สาธารณะ ถนน วัด โรงเรียน เดือนละ 1 ครั้ง ครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเงินจำนวน 20 บาท/เดือน เกิดกิจกรรมต่อเนื่องทุกเดือน ประชาชนเกิดความสามัคคี ร่วมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์มากขึ้น 5. ครัวเรือนร่วมดำเนินกิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้าน กำจัดลูกน้ำยุงลายตามมาตรการทางสังคมที่ได้ร่วมกันกำหนด จนหมู่บ้านในเขต อบต.แสงสว่างทั้ง 4 หมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำ (HI) = 0 ได้รับการรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี บทบาทของกองทุนหลักประตำบลในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ สนับสนุนกรอบการบริหารงานด้านสาธารณสุขที่ขัดเจนขึ้น สนับสนุนงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานสุขภาพภาคประชน บูรณาการงานธรรมนูญสุขภาพกับงานด้านต่างๆในชุมชน

 


 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday9
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week54
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month470
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249221

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.16.67.54
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024