Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางสาวไพลิน  กองแก้ว

รพ.สต.สุมเส้า  อำเภอเพ็ญ

ที่มาและความสำคัญ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก ผู้ป่วยของจังหวัดอุดรธานีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 และในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยของจังหวัดเชียงใหม่  ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.2556) และเมื่อพิจารณาการเกิดโรครายจังหวัด พบว่า ทุกจังหวัดยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยร้อยละ 15.52 เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคในปี พ.ศ. 2555 โดยกลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่ คือ เด็กเล็กช่วง อายุ 3 ปี ถึง 5 ปี ซึ่งพบได้มากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สำหรับจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 17 เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก 366 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.57 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 1 ราย (สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2556) ในเขตพื้นที่อำเภอเพ็ญมีจำนวนผู้ป่วย 91 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และในเขตพื้นที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลสุมเส้า มีผู้ป่วย 4 ราย โดยรายแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 อายุ 4 ปี เรียนอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด รายที่ 2 ก็เรียนอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองนาไฮโนนสะอาดเหมือนกัน และยังมีรายที่ต้องเฝ้าระวังอีก 5 ราย ที่อยู่ในข่ายโรค (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพ็ญ. 2556)  จากปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 157 คน โดยจะศึกษาจากประชากรทั้งหมด วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ช่วงเวลา เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Pearson correlation ผลการศึกษา พบว่าผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 75.8 เพศชาย ร้อยละ 24.2 อายุผู้ปกครองเด็กอายุระหว่าง 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.4 ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับเด็กพบว่าส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เป็น ญาติ(ปู่,ย่า,ตา,ยาย,พี่,ป้า,น้า,อา) คิดเป็นร้อยละ 47.8 ระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็กพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ปกครองเด็กจบประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 51 อาชีพผู้ปกครองเด็ก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 57.3 รายได้ส่วนใหญ่ ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 49 ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากวิทยุโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 37.6 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรคมือเท้าปาก พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปากกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P=0.001) โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(r)มีค่าเท่ากับ 0.268 มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปาก พบว่า ระดับทัศนคติเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กไม่มีความสัมพันธ์กัน

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday7
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week52
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month468
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249219

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.142.42.33
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024