Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

กการศึกษาระดับความรู้และการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นายสุรัตน์ กัณหา นางสาวนิตยา แสนอุบล  และนางสาวจิราพร พิมพ์จันทร์

รพ.สต.หนองหัวคู อำเภอบ้านผือ

ที่มาและความสำคัญ โรคเบาหวานเป็นโรคเจ็บป่วยเรื้อรังผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษา และการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง(self-management) อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหรือโรคเบาหวานที่สำคัญคือ น้ำหนักเกินและอ้วน และวิถีชีวิตนั่งๆนอนๆ (สำนักโรคไม่ติดต่อ. 2547:10-11) สาเหตุเนื่องจากภาวะเบาหวานได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพจากโรคที่รักษาแต่ละคนกลายเป็นโรคระบาด ซึ่งต้องได้รับการดูแลระดับชาติ เพราะมีการศึกษาพบว่า โรคเบาหวานกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ซึ่งจะเพิ่มจาก 81 ล้านคน เป็น 156 ล้านคน จากปี ค.ศ. 2003 ถึง 2005 ( เทพ หิมะทองคำ. 2547:6-9) จากรายงานการเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2548  ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 ร่วมกันพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ(โรคเรื้อรัง) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นมา เริ่มดำเนินการโรคที่เป็นปัญหาและเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ โรคหัวใจขาดเลือด กลุ่มเป้าหมายที่เฝ้าระวัง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานบริการสาธารณสุข และได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2548 ประชากรทั้งหมด 972,425 คน เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 9,466 ราย อัตราการป่วย 973.44 ต่อแสนประชากรโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 189 ราย อัตราป่วย 19.44 ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 5,048 ราย อัตราป่วย 519.11 ต่อแสนประชากร (กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2549) จากข้อมูลการรับบริการที่คลินิกเบาหวานในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ในปี  2554 - 2556 มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1447, 1947 และ 2,615 คน อัตราป่วย 1458.81 , 1944.55 และ 2,606.22 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และในปี 2556 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน จำนวน 477 คน ร้อยละ 18.24 ของผู้ป่วยเบาหวาน เสียชีวิต 14 ราย ร้อยละ 0.54 (รายงานประจำปีโรงพยาบาลบ้านผือ ปี 2554-2556) จากการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม ตำบลเมืองพาน ประชากรในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 3,323 คน ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับการตรวจรักษาเบาหวานทั้งหมดใน ปี พ.ศ. 2554 –  2556 จำนวน 49, 62, และ 75 คน อัตราป่วย 1614.50, 1968.25 และ 2292.18 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึมมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จำนวน 75 คน ร้อยละ 2.29 ของประชากร และมีผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี คือเกิน 126 mg/dl จำนวน 43 คน ร้อยละ 57.33 มีแผลเรื้อรัง จำนวน 8 คน ร้อยละ 10.67 เสียชีวิต 3 คน ร้อยละ 4.00 ของผู้ป่วยเบาหวาน (รายงานประจำปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม.2554-2556) พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับระดับความรู้และการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนางานที่ปฏิบัติด้านสุขภาพ การวางแผนให้สุขศึกษาและจัดกิจกรรมต่างๆในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อลดภาวะโรคแทรกซ้อนพร้อมลดรายจ่ายอื่นๆ และเพื่อให้การทำงานด้านบริการสาธารณสุข แก่ผู้มารับบริการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความรู้และการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey study) เพื่อศึกษาระดับความรู้และการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 75 คน ระยะเวลาที่ศึกษา ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 – 31 มกราคม 2557 ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีอายุเฉลี่ย 54.48 ปี เพศหญิงร้อยละ 72 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 92.0 การศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 78.7 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 2,001 - 4,000 บาท ร้อยละ 45.4 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 81.3 ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.71 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดครั้งสุดท้ายที่ได้รับบริการ มากกว่า 126 mg/dl ร้อยละ 88.0 การได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเบาหวานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 100 ด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวานผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.7 โดยตอบถูกมากคือ การตรวจเจาะเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานควรอดอาหารมาอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง ก่อนมารับบริการตรวจเลือด เพื่อผลเลือดที่ได้มาตรฐาน ร้อยละ100 และข้อที่ตอบถูกน้อยเท่ากัน คือ การรับประทานยาและการควบคุมอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และการดื่มเหล้าทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานมากขึ้น ร้อยละ 33.3 ด้านการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่ามีระดับการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 89.33 และมีการดูแลตนเองมากคือ การมารับยาตามแพทย์นัดทุกครั้งร้อยละ 93.3 และมีการดูแลตนเองน้อย คือ เมื่อมีอาการตามัวท่านจะอยู่เฉยๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ร้อยละ 18.7


 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday14
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week59
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month475
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249226

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.219.224.139
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024