Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาล้อม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นายมานิตย์  นิยมเหลา

รพ.สต.บ้านนาล้อม อำเภอบ้านผือ

ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันการเพิ่มจำนวนประชากร ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคนิยมของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง พบว่ามีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย มีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้ประชาชนผู้บริโภคหลงเชื่อโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีพบว่าปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพถูกร้องเรียนมากที่สุด และมีแนวโน้มของปัญหาการฟ้องร้องกันมากขึ้น และโดยพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาล้อม จำนวน 4 หมู่บ้านนั้นมีร้านชำทั้งหมดจำนวน 18ร้าน พบว่ามีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย มีการจำหน่ายยาปฏิชีวนะหรือยาอันตรายอื่นๆและมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีเลขทะเบียน อย. ร้อยละ100   และนอกจากนี้ยังมีรถเร่โฆษณาขายยาสมุนไพรที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงรักษาได้หลายโรค เข้ามาขายในหมู่บ้าน อย่างน้อยเดือนละครั้ง  จากข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นการดำเนินงานโดยที่ได้มีการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ และการดำเนินการตามกฎหมายผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ หากพบว่ามีการละเมิด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและเป็นการดำเนินการโดยภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ปัญหายังคงมีอยู่และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะประชาชนผู้บริโภคเองยังขาดความตระหนักและการให้ความร่วมมือหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในด้านนี้ ตลอดจนขาดความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์สุขภาพ และทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงาน   จึงได้ทบทวนแนวคิดการมีส่วนร่วมของโคเฮ็น และ อัปฮอฟฟ์ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องประกอบไปด้วย  1)ร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุ 2)ร่วมตัดสินใจและวางแผน 3)ร่วมดำเนินกิจกรรม และ 4)ร่วมติดตามประเมินผล  และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  จึงสนใจที่จะศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  เพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในวางแผนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาล้อม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Survey Research) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนการวิจัย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาล้อม  4 หมู่บ้าน จำนวน  206 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 18  - 31 มีนาคม 2558 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทัศนคติต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา 1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ประมาณครึ่งเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.9  เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 46.1  มีอายุอยู่ระหว่าง  35 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 68 โดยมีอายุเฉลี่ย   เท่ากับ 47.44 ปี อายุต่ำสุด 18 ปี และอายุสูงสุด 81 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 81.6  เกินครึ่งมีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 60.2  เกินครึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม  คิดเป็นร้อยละ 62.6  มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.3 รองลงมา  คือ 5,001 – 10,000 บาท  คิดเป็นร้อยละ 31.6  โดยมีรายได้เฉลี่ย เท่ากับ 6,208.01 บาท  รายได้ต่ำสุด คือ 0 บาท และรายได้สูงสุดคือ 30,000 บาท  ประมาณครึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน มากกว่า 30ปี  คิดเป็นร้อยละ 55.3  โดยมีการอาศัยอยู่ในชุมชนเฉลี่ย เท่ากับ 35.08 ปี ต่ำสุด 1 ปี และสูงสุด 81 ปี 2. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่า  กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 54.9  รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ 35  และในระดับน้อย  คิดเป็นร้อยละ 10.2 3. ทัศนคติต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่า  กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งมีทัศนคติต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ 49.5  รองลงมาอยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 49.0  และอยู่ในระดับน้อย  คิดเป็นร้อยละ 1.5  4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินว่าครึ่งหนึ่ง มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  คิดเป็นร้อยละ 64.6  รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ 26.2  และอยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 9.2   เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้านที่อยู่ในระดับน้อย  คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล คิดเป็นร้อยละ 68.9  ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการวางแผน คิดเป็นร้อยละ 67.0  ด้านการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา  คิดเป็นร้อยละ 64.6  และในระดับปานกลาง คือด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 43.7  5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแคว์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ( p – value > 0.05 ) 6. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพวิเคราะห์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ( r = 0.190 )  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p – value   0.05 ) 7.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ วิเคราะห์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่าความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( r= 0.305 ) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05)


 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday24
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week69
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month485
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249236

We have: 2 guests online
Your IP: : 18.226.163.70
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024