Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การพัฒนาเครือข่ายศูนย์เด็กเล็กอ่อนหวานตำบลสร้อยพร้าว อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นายวิษณุ   เมืองบาล นางสาวกวินณา   พิณพิมาย  นางณฐพร   หาตรงจิตต์

รพ.สต.สร้อยพร้าว อำเภอหนองหาน

ที่มานปัจจุบันโรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหามากในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ  ได้แก่  พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง  เช่น  การปล่อยให้เด็กหลับพร้อมกับขวดนม  การไม่ดูดน้ำตามหลังดื่มนม การไม่ทำความสะอาดช่องปากให้เด็ก   ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดปัญหา แล้วยังพบว่า ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก  ยังขาดการรับรู้ที่ถูกต้อง ในการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การให้เด็กนำขนมไปโรงเรียน หลอกล่อเด็กด้วยขนม หรือนมที่มีรสชาติหวาน เป็นต้น จากปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยนโยบายสาธารณะและแผนการพัฒนาทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งยังขาดความเข้มแข็งและครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทันตาธารณสุขในเด็กกลุ่มนี้ ทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหงือกและโรคปริทันต์ ซึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค รวมถึงมาตรการในการดูแลเด็ก ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุม ตามกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดของ Ottawa Charter องค์การอนามัยโลก ที่มีกลยุทธ์ที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Personal Skill) การสร้างให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน (Environmental) การเปลี่ยนแปลงบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health-related services) การเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Strengthens) การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ (Health Policy Public) หน่วยงานหลักที่สำคัญในการดูแลรักษา ส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพ รวมทั้งเป็นเครือข่ายในการประสานงานเพื่อพัฒนาทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัยในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยง ต่างก็ตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการปลุกระดม ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมระดมกำลังในการพัฒนา   และแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในพื้นที่  โดยใช้ความร่วมมือของหลายภาคส่วนในท้องที่ตำบลสร้อยพร้าวเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินโครงการ รวมทั้งเป็นการพัฒนาและแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในเด็กปฐมวัยด้วยกระบวนการบูรณาการ การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลสร้อยพร้าว วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย โดยชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลสร้อยพร้าว จำนวน 76 คน (จากฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย ปี 2557) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยการพัฒนาเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อนหวานอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของชุมชนและภาคเครือข่าย เพื่อให้เกิดการทำงานในรูปแบบของเครือข่ายตำบล ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง ตัวแทน อปท. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ทันตบุคลากร จากนั้นจึงนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปแบบการทำงานด้วยระบบเครือข่าย โดยมีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. นำปัญหาในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กรายงานเข้าสู่คณะกรรมการบูรณาการระดับตำบล(คบต.) ตำบลสร้อยพร้าว ในแต่ละครั้งจะมีภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุม 2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทันตสาธารณสุขตำบลสร้อยพร้าว โดยการคัดเลือกจากตัวแทนเครือข่ายจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารจาก อปท. ตัวแทนจากส่วนการศึกษา ตัวแทนจากหน่วยบริการสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง อสม. ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์ฯ เป็นต้น 3. จัดทำแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขในพื้นที่ ในระยะ 3 ปี (2556 - 2558) และโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทันตสุขภาพ เพื่อเสนอของบประมาณ จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ 4. เสนอแผนงาน/โครงการ เข้าในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ตำบลสร้อยพร้าว เพื่อขอรับการสนับสนุนงานประมาณตามแผนงานที่ได้วางไว้ 5. เมื่อได้รับสนับสนุนงบประมาณแล้ว จึงดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการฯ และคณะกรรมการพัฒนาศูนย์ฯ ตามแผนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลสร้อยพร้าว เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเน้นการพัฒนาสุขภาพช่องปาก และการแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเลี้ยงดู และส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนให้แก่ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการฯ และเครือข่ายที่ร่วมพัฒนางานทันตสาธารณสุข รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทันตสุขภาพและพฤติกรรมการเลี้ยงดู ได้แก่ - การจัดเวทีประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครอง ร่วมกับการประชุมผู้ปกครองประจำภาคการศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย - การประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในแต่ละแห่งประจำปี เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน วางแผนการแก้ไขปัญหา รวมถึงพัฒนามาตรการเพื่อลดปัญหาทันตสาธารณสุขของเด็กปฐมวัย การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขในเด็กปฐมวัยตำบลสร้อยพร้าว เพื่อทบทวนวิธีการดำเนินงาน รวมถึงปรับปรุงแผนงาน โครงการและมาตรการ เพื่อลดปัญหาทันตสาธารณสุขของเด็กปฐมวัยในตำบล 7. การประเมินผลในระหว่างการดำเนินงาน เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและให้ข้อเสนอแนะ สถานที่ในการศึกษาวิจัย คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลสร้อยพร้าว จำนวน 2 แห่ง โดยมีระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2556 ถึง เดือน กันยายน 2557 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยลละ ผลการศึกษา จากการศึกษาวิจัย ทำให้เกิดการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในรูปแบบภาคีเครือข่าย เกิดมาตรการทางสังคมที่ช่วยลดพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น กิจกรรมป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้แก่ เด็กได้รับการตรวจฟันและสุขภาพก่อนเข้าศูนย์ แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน และได้รับการตรวจฟันหลังการแปรงฟัน คิดเป็นอัตราร้อยละ 100 เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ได้แก่ เด็กไม่นำขวดนม และไม่นำขนมหวานมาศูนย์ คิดเป็นอัตราร้อยละ 100 ลดอัตราโรค ฟันผุในเด็กร้อยละ 21.0 และอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรม ร้อยละ 21.1 สรุปผลการศึกษา จากการศึกษาวิจัย ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับตำบล มีคณะกรรมการ มีแผนงานช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เด็กปฐมวัยในเขตได้รับการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพที่ได้มาตรฐานและครอบคลุมการบริการด้านสาธารณสุขในทุกมิติสุขภาพ

 


 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday21
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week66
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month482
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249233

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.22.61.73
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024