Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การพัฒนารูปแบบการออกคัดกรองเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปี 2558

E-mail Print PDF

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเม็ก

ที่มาและความสำคัญ กระทรวงสาธารณสุข เผย 4 อันดับ ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด หลังพบว่าในปีเดียวตายร่วม 1.3 แสนคน พร้อมตั้งเป้าอีก 10 ปี ข้างหน้า คนไทยส่วนใหญ่ต้องมีอายุยืนถึง 80 ปี เทียบเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว โดยจากการศึกษา พบว่า ในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุเหล่านี้ รวม 138,027 ราย คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่มีจำนวน 414,670 ราย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นการรณรงค์ตรวจสุขภาพ และเผยแพร่ความรู้ในการการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการหลีกเลี่ยงการบริโภคสิ่งที่ทำลายสุขภาพ จะเห็นได้ว่าคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากขึ้น มาจากพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย ที่ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ในปี 2550 ที่มีจำนวน 9 ล้านคนพบว่า ร้อยละ 67 หรือประมาณ 6 ล้านคนไม่ออกกำลังกาย และหากดูภาพรวมทั้งประเทศ คนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ซึ่งมี 55 ล้านคน เป็นผู้ที่ไม่ออกกำลังกายถึง 39 ล้านคน นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2552 ได้สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป พบว่า ร้อยละ 90 กินอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะเด็กอายุ 6-14 ปี นิยมทานขนมกรุบกรอบ อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ และดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน ซึ่ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า ต้องปลูกฝังให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ทานอาหารรสไม่จัด ลดอาหารเค็ม ลดอาหารหวาน อาหารไขมันสูง และเพิ่มการทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เช่น มะละกอ ฝรั่ง ทานรวมกันให้ได้วันละไม่ต่ำกว่า 400 กรัมตามมาตรฐานโลก เพราะในผักผลไม้มีกากใย ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี และดูดซับไขมัน นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย จากสถานการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเม็ก พบว่าในปี 2557 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีทั้งหมดจำนวน 2,851 คน ได้รับการคัดกรองทั้งสิ้น 2,736 คน คิดเป็นร้อยละ 95.96 ซึ่งพบว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 ในปีงบประมาณ 2558 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหนองเม็ก จึงได้เห็นความสำคัญและพัฒนารูปแบบการออกตรวจคัดกรองเบาหวานเป็นแบบเชิงรุก เพื่อให้ครอบคลุมร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการออกคัดกรองเบาหวาน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่างรูปแบบใหม่ กับ รูปแบบเดิม 3. เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตตำบลหนองเม็ก เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็นร้อยละ 100 ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยพัฒนาแบบทดลอง กลุ่มเดียววัด ก่อน หลัง ระยะเวลา 1 ปี ( 1 ต.ค. 57- 30 ก.ย. 58 ) ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในปีงบประมาณ 2558 ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริง ใน เขตตำบลหนองเม็ก จำนวนทั้งสิ้น 2,792 คน รูปแบบการสำรวจกลุ่มเสี่ยงโดยเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเม็ก ออกคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน และกรรมการกองทุนสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ 1.แบบคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และอุปกรณ์สำหรับเจาะเลือด 3.เครื่องชั่งน้ำหนัก 4.เครื่องวัดความดันโลหิต 5.กล้องถ่ายรูป การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพรรณนาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละเกี่ยวกับ เพศ อายุ ลักษณะทางพันธุกรรม และการเปรียบเทียบค่าร้อยละที่เพิ่มขึ้น ระหว่างปีงบประมาณ 2557 และปีงบประมาณ 2558 สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ ปี 2558 มีกลุ่มเป้าหมาย 2,792 คน คัดกรองได้ 2,709 คิดเป็นร้อยละ 97 กลุ่มที่ 1 กลุ่มปกติค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จำนวน 2,638 คน คิดเป็นร้อยละ 94 กลุ่มที่ 2 กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ค่าระดับน้ำตาล 100 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ข้อแตกต่างระหว่างรูปแบบการออกตรวจคัดกรองเบาหวานปี 2557 และ ปี 2558 พบว่า ปี 2557 1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 95 2.กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองที่ รพ.สต 3.เจ้าหน้าที่ตั้งรับการตรวจคัดกรองเบาหวานที่ รพ.สต. 4.ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการออกคัดกรองเบาหวาน 5.กลุ่มเป้าหมายเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาตรวจ สำหรับปี 2558 พบว่า 1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 97 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองที่หมู่บ้าน 3.เจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม. และคณะกรรมการกองทุน 4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกคัดกรองเบาหวานมากขึ้น 5.ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาตรวจคัดกรองเบาหวานของกลุ่มเป้าหมาย ฉะนั้น การออกคัดกรองเบาหวานโดยชุมชนมี ส่วนร่วมทุกภาคส่วนแบบเชิงรุก ในปีงบประมาณ 2558 ดีกว่า รูปแบบเดิมในปี 2557

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday17
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week62
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month478
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249229

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.118.37.240
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024