Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การพัฒนารูปแบบใหม่ในการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

สุดาภรณ์ บูรณสรรค์, ณัฐิยา วงษ์ปัญญา และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านต้อง

รพ.สต.บ้านต้อง อำเภอหนองหาน

ที่มาและความสำคัญ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในระยะแรกของโรค มีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ปรากฏอาการให้ผู้ป่วยหรือแพทย์ทราบได้ การวินิจฉัยล่าช้า ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในการควบคุม ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งอาจมีผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมาก ข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation :IDF) ได้รายงานจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก จำนวน 285 ล้านคน  และจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  1.5 พันล้านคน (นิตยา พันธุเวทย์, 2553) ส่วนในประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากรายงานสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ปี 2557 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 1,230.16 และ 879.58 คนต่อแสนประชากร ตามลำดับ จังหวัดอุดรธานีพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง  934.31 และ 883.77 คนต่อแสนประชากร และในพื้นที่ตำบลหนองสระปลา ปี 2557 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 166 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,661.20 คนต่อแสนประชากร  และความดันโลหิตสูง  66 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,058.37 คนต่อแสนประชากร  จากข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังที่กล่าวมา พบว่ามีอัตราป่วยสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น และเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนระดับโลก ระดับประเทศ และระดับพื้นที่ ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพอนามัยคนไทย ครั้งที่ 5 ปี 2554-2555 พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน งานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จึงเป็นงานที่สำคัญ เนื่องจากการคัดกรองความเสี่ยงฯ จะเป็นการค้นหาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค ช่วยลดและยืดเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นบริการการป้องกันโรคในชุดสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  เป้าหมายประชากรที่มีอายุ  35 ปีขึ้นไปทุกราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง ได้ดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงฯ ตามนโยบายในระยะแรกการบริการคัดกรองความเสี่ยงฯ ยังไม่สามารถดำเนินการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากมีอุปสรรคด้านจำนวนบุคลากร ข้อจำกัดของเวลาที่ปฏิบัติงาน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกล รพ.สต.บ้านต้อง มารับบริการคัดกรองน้อย จึงได้มีการพัฒนารูปแบบการบริการ โดยการอบรม อสม. เชิงปฏิบัติการเรื่องการคัดกรองความเสี่ยงฯ  เพื่อให้ อสม. ส่วนร่วมในการคัดกรองความเสี่ยงฯ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อการพัฒนารูปแบบใหม่ในการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรูปแบบใหม่และรูปแบบเก่า ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) โดยนำกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของประชาชน โดยได้ทำการอบรมความรู้ และการฝึกปฏิบัติการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้แก่ อสม. ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้อง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีระยะเวลา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ.2557 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ประชากร คือ ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตำบลหนองสระปลา จำนวน 1,507 คน ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการดังนี้ 1. อบรมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งหมด จำนวน 120 คน 2. อบรม อสม. และฝึกปฏิบัติการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 3. วางแผน และกำหนดวันการคัดกรองความเสี่ยง ของแต่ละหมู่บ้าน ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน 4.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการการคัดกรองความเสี่ยง ทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน และการประชาสัมพันธ์ของ อสม. ในเขตรับผิดชอบ ของแต่ละคน 5. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยง โดย อสม. ในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน 6. บันทึกผลการคัดกรองความเสี่ยงฯ ลงในแบบฟอร์ม Verbal Screening และการคัดกรองความเสี่ยง ฯ 7.แจ้งผลการคัดกรองแก่ผู้รับบริการทุกคน และนัดหมายการตรวจคัดกรองในรายที่มีระดับน้ำตาลมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) หรือ ความดันโลหิต มีค่ามากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) 8. อสม. สรุปผลการคัดกรองความเสี่ยงฯ ในพื้นที่ และหมู่บ้าน ที่รับผิดชอบารวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยใช้จำนวน และร้อยละ ในการอธิบายคุณลักษณะๆ ของข้อมูล ผลการศึกษา จากการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) ในการพัฒนารูปแบบใหม่ในการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้อง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า ในการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรองความเสี่ยงสามารถเพิ่มอัตราของการคัดกรองได้เพิ่มสูงขึ้น สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากผลการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) ในการพัฒนารูปแบบใหม่ในการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้อง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า การที่นำ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการคัดกรองความเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวาน นั่นสามารถช่วยเพิ่มอัตราของการคัดกรองความเสี่ยงได้มากขึ้นและยังเกิดความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับ อสม. อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความรู้ ความสามารถให้กับ อสม. พร้อมทั้งยังช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง เพื่อที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้องสามารถปฏิบัติงาน และพัฒนาโครงการการให้บริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ สังเกตได้จากจำนวนโครงการที่เกิดขึ้นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้องในปีงบประมาณพ.ศ. 2557 มีโครงการที่เกิดขึ้นเพียง 10 โครงการ และเมื่อมีการพัฒนารูปแบบในการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เข้ามามีส่วนร่วมในงาน จำนวนโครงการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง ได้จัดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีจำนวน 16 โครงการ นั่นแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการให้บริการการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เป็นอย่างดี และยังสามารถให้บริการสาธารณสุขกับประชาชนได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday17
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week62
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month478
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249229

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.118.37.240
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024