Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การประเมินผลกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

E-mail Print PDF

นางโสพรรณ   เรืองเจริญ และคณะ

โรงพยาบาลหนองหาน  อำเภอหนองหาน

ที่มา เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดา เช่น การติดเชื้อ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง-ต่ำ คลอดยากจากเด็กตัวโต และส่งผลต่อภาวะสุขภาพของทารก เช่น ทารกตัวโต ตายในครรภ์ พิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง - ต่ำ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นงานที่ต้องอาศัยกระบวนการในการดูแลเป็นรายบุคคลเพราะ หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและพฤติกรรมในชีวิตประวัติวันที่แตกต่างกัน กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ โรงพยาบาลหนองหานรับผิดชอบ คลินิกครรภ์เสี่ยงสูง ได้เห็นความสำคัญของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จึงได้วิเคราะห์ถึงปัญหาในการปฏิบัติตัว พบว่ามีปัญหาในเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมอาหาร  หมวดข้าว แป้ง น้ำตาลได้ ซึ่งเป็นเพราะไม่ทราบว่าควรรับประทานอาหารชนิดใดและในปริมาณเท่าไร  ในแต่ละวัน จึงได้คิดนวตกรรม  คือ “มหัศจรรย์วงล้อ เท่าไรดีหนอ ข้าว แป้ง น้ำตาล สำหรับหญิงตั้งครรภ์” เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณอาหาร หมวด ข้าว แป้ง น้ำตาล  ที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานแต่ละราย โดยใช้ส่วนสูง ค่า BMI พฤติกรรมการออกแรงการทำงานในแต่ละวัน มาเป็นฐานในการคำนวณ  โดยผ่านกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่และการติดตามให้ความรู้ในแต่ละครั้งที่มารับบริการ จนเกิดเป็นกระบวนการการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 จึงมีความสนใจที่จะประเมินผลของกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระบวนการจัดการเรียนรู้ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ชนิด GDM A1 GDM A2 ที่มาฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยงสูง โรงพยาบาลหนองหาน ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2556–2558 วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ผ่านกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่และกระบวนการเรียนรู้ในคลินิกครรภ์เสี่ยงสูงในเรื่อง 1.1 คำนวณส่วนของอาหารหมวดข้าว แป้ง น้ำตาล ที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานแต่ละราย 1.2 อธิบายส่วนของอาหารหมวดข้าว แป้ง น้ำตาล ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน 1.3 อธิบายและสาธิตการบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน และวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือไม่ 2. แจงนับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ - กลุ่มที่ 1 ควบคุมอาหาร หมวด ข้าว แป้ง น้ำตาลได้ดี และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดดี - กลุ่มที่ 2 ควบคุมอาหาร หมวด ข้าว แป้ง น้ำตาลได้ดี และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี - กลุ่มที่ 3 ควบคุมอาหาร หมวด ข้าว แป้ง น้ำตาลไม่ดี แต่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดดี - กลุ่มที่ 4 ควบคุมอาหาร หมวด ข้าว แป้ง น้ำตาลไม่ดี และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี 3. นำมาคำนวณค่าทางสถิติโดยใช้ Diagnostic Test วิเคราะห์ แปลผล สรุปผลการศึกษา สถานที่ คลินิกครรภ์เสี่ยงสูง กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ โรงพยาบาลหนองหาน ระยะเวลา ปีงบประมาณ 2556 - 2558 ผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่สามารถควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และอยู่ในกลุ่มผู้ที่สามารถปฏิบัติตามกระบวนการควบคุมอาหาร หมวดข้าว แป้ง น้ำตาลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 84.70 ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี และอยู่ในกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกระบวนการควบคุมอาหาร หมวดข้าว แป้ง น้ำตาลได้ คิดเป็นร้อยละ 93.54 สรุปผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต้องมีกระบวนการในการควบคุมอาหารหมวดข้าว แป้ง น้ำตาลให้ได้ตามเกณฑ์ เพราะ ถ้าควบคุมไม่ได้ดีจะมีโอกาสที่ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีถึงร้อยละ 93.54และในกลุ่มที่ควบคุมอาหารได้ดีจะมีโอกาสที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะดีร้อยละ 84.70

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday19
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week64
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month480
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249231

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.191.223.123
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024