Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การศึกษาเรื่องการตั้งครรภ์วัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยรับฝากครรภ์ โรงพยาบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางสาวอรวรรณ  พินธะ

งานห้องคลอด  โรงพยาบาลกุดจับ

ที่มาและความสำคัญ สถานการณ์สตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ในประเทศไทย พื้นที่ที่มีจำนวนเด็กคลอดจากแม่วัยรุ่นมากที่สุด 5  อันดับ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ และสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ  อุบัติการณ์วัยรุ่นทำแท้งไม่ปลอดภัย ร้อยละ 30.4 ของการแท้งทั้งหมด และพบวัยรุ่นติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร้อยละ 52 จากกลุ่มวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด (โรงพยาบาลศูนย์อุดร,2551) ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลกุดจับ พบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2554-2556 คิดเป็น ร้อยละ 18.75, 21.91 และ 27.27 ตามลำดับ และยังพบอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่เคยตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 33.33,21.43 และ 18.75 ในปี พ.ศ.2554-2556 (งานแผนงาน โรงพยาบาล กุดจับ,2556) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาผลของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุระหว่าง 11-19 ปีและมารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลกุดจับ ในช่วงเวลาเดือนตุลาคม 2556พฤษภาคม 2557 ยินยอมเข้าร่วมในการวิจัย การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 65 คน ที่มาฝากครรภ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 พฤษภาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติพื้นฐานจำนวนและร้อยละ ผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นใช้สถิติพื้นฐานจำนวนและร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยใช้ Chi-square ผลการศึกษา สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง17-19ปีคิดเป็นร้อยละ 49.2, ด้านการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคิดเป็นร้อยละ 33.8, ด้านอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 52.3, ด้านจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 56.9, ด้านการทราบว่าตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ไตรมาสที่1คิดเป็นร้อยละ 81.5, ด้านการแท้งไม่เคยแท้งคิดเป็นร้อยละ83.1, ด้านการวางแผนที่จะตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์/ไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์คิดเป็น ร้อยละ 72.3 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่1คิดเป็นร้อยละ 78.5 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ปัจจุบันจะอยู่ในไตรมาสที่ 2 คิดเป็นร้อยละ87.7 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงปกติดีคิดเป็นร้อยละ 93.8 ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 1 มีการดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 81.1 ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ดูแลตนเองในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อทดสอบความแตกต่างด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลต่อการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.006*) ด้านสุขภาพขณะตั้งครรภ์พบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่แข็งแรง/ปกติดี ดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ95.3 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะแทรกซ้อนดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 71.2 เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่าสุขภาพขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.021*) ด้านอาชีพพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่เป็นนักเรียน/นักศึกษามีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 72 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอาชีพแม่บ้านส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ60 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอาชีพรับจ้างมีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าอาชีพมีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value =0.021*) ด้านการวางแผนการตั้งครรภ์พบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่วางแผนที่จะตั้งครรภ์/ตั้งใจตั้งครรภ์มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 54.5 ด้านการไม่วางแผนการตั้งครรภ์พบว่ามีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ64.6 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าการวางแผนการตั้งครรภ์มีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.05*) ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 1 ส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 54.5 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 2 ส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 64.6 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.020*) ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส1ส่วนใหญ่ดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ79.7 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ดูแลตนเองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ100 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลการดูแลตนเองด้านครอบครัวพบว่าอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.006*) สรุปผลการศึกษา ข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นส่วนใหญ่มีอายุ 17 – 19 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นแสดงว่ามีการยอมรับการตั้งครรภ์จึงทำให้มีการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์โดยเริ่มตั้งแต่การมาฝากครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ผลกระทบต่อด้านจิตใจมีผลกระทบในระดับปานกลางร้อยละ 58.6 โดยส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์/ไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์และไม่คาดคิดว่าจะตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 68.6 ทำให้ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ทำให้ยังมีความคิดกังวลสับสนกลัวการ เมื่อพ้นช่วงแรกของการตั้งครรภ์ก็จะเกิดการยอมรับการมีตัวตนของบุตรในครรภ์และมาฝากครรภ์จึงทำให้มีการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์การดูแลด้านครอบครัวในขณะตั้งครรภ์ในระดับมากมีค่ามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่น ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์พบว่าปัจจัยด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกและภาวะสุขภาพขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการตั้งครรภ์ในด้านการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่นในด้านผลกระทบด้านจิตใจปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่นในด้านผลกระทบต่อจิตใจพบว่าปัจจัยด้านอาชีพการวางแผนการตั้งครรภ์ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีความเกี่ยวข้องต่อผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องต่อผลกระทบด้านจิตใจมากที่สุด ทำให้มีผลต่อจิตใจและมีความเครียดความวิตกกังวลสูงมีความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยด้านส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นด้านครอบครัวพบว่าด้านอายุครรภ์ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลต่อการดูแลด้านครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ความต้องการการช่วยเหลือของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความต้องการยอมรับจากครอบครัวพบว่าเมื่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการยอมรับการตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์และการปรับบทบาทสถานภาพนักเรียนนักศึกษามาสู่การสร้างครอบครัวทำให้ต้องปรับตัวเป็นอย่างมากทำให้มีความเครียดและวิตกกังวลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความต้องการในด้านความรักความเข้าใจรวมถึงการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์คลอดและหลังคลอดรวมถึงการให้ข้อมูลผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นและความช่วยเหลือในการดูแลทารกหลังคลอด

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday11
mod_vvisit_counterYesterday20
mod_vvisit_counterThis week11
mod_vvisit_counterLast week348
mod_vvisit_counterThis month336
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249087

We have: 2 guests online
Your IP: : 3.143.168.172
Mozilla 5.0, 
Today: May 04, 2024