Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ

E-mail Print PDF

นางนิลปัทม์  พลเยี่ยม และ. นางกรองแก้ว  อัคเนตร

งานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี

ที่มาและความสำคัญ จากการสรุปผลงานของโรงพยาบาลกุมภวาปีพบว่าปี 2553-2554 พบทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองร้อยละ34.5 และ31.4 ตามลำดับ จากสาเหตุปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ  ทำให้ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลสูง  ด้านกระบวนการดูแลรักษา ส่งผลให้ภาระงานการพยาบาลมากขึ้น โรงพยาบาลกุมภวาปี มีระบบการดูแลมาตรฐานทั่วไป แต่ยังไม่มี แนวปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน จึงได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติ ช้ในการดูแลมารดาทารก เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะตัวเหลือง จากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ขึ้นในปี 2555 -2556 จึงได้จัดทำการศึกษานี้ขึ้น เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลทารกแรกเกิดจากการได้รับน้ำนม ไม่เพียงพอที่เข้ารับการรักษาที่ตึกสูตินรีเวชกรรม และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและพยาบาลวิชาชีพ ระเบียบวิจัย ศึกษาในกลุ่มมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดปกติที่ 2-72 ชั่วโมง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 300 คู่ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 โดยกลุ่มตัวอย่าง มีความยินดี และเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบคือ แบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติของพยาบาล แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการใช้แนวปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ผลการศึกษา พยาบาลวิชาชีพการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด สามารถปฏิบัติได้เป็นอย่างดี โดยค่าคะแนนร้อยละ90 ขึ้นไปจำนวน9 คนและ ร้อยละ87.7 จำนวน1 คน ผลลัพธ์การใช้แนวทางปฏิบัติภาวะตัวเหลืองในปี2555-2556 ร้อยละ 11.3 และ11.3 และพบว่าพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติได้น้อย คือการให้สุขศึกษาโดยสื่อวิดิโอ และแฟ้มเรียนรู้ในเวลา 19.00 น. และเวลา 06.00 น. เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีกิจกรรมพยาบาลทับซ้อนกัน เช่น การประเมินสัญญาณชีพ การกระตุ้นการให้นมของมารดา การให้ยา การชั่งน้ำหนัก และการเจาะเลือดทารก เพื่อประเมินตัวเหลืองประจำวัน ทำให้พยาบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ในเวลาที่กำหนด ในด้านความพึงพอใจของมารดาระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 95.3 และระดับดีร้อยละ 4.6 ด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติ มีความพึงพอใจระดับดีมากร้อยละ 90 และระดับดีร้อยละ 10

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday4
mod_vvisit_counterYesterday23
mod_vvisit_counterThis week4
mod_vvisit_counterLast week368
mod_vvisit_counterThis month352
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249103

We have: 2 guests online
Your IP: : 3.138.113.188
Mozilla 5.0, 
Today: May 05, 2024