Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการยางพารา พื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2557

E-mail Print PDF

นางสมปอง พรหมพลจร*, นายไสว  ชัยประโคม* และ รศ.ดร.อุไรวรรณ  อินทร์ม่วง**

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านผือ* , มหาวิทยาลัยขอนแก่น**

ที่มาและความสำคัญ จากผลการศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับกิจการที่เป็น  อันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2556)ได้เสนอแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยการตั้งคณะกรรมการในระดับท้องถิ่นเพื่อร่วมกันประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของกิจการฯ ให้ได้ข้อมูลประกอบการอนุญาตของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยได้เลือกพื้นที่อำเภอบ้านผือเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากมีประชาชนประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพาราเป็นจำนวนมาก และได้มีการร้องเรียนปัญหาเหตุรำคาญจากการขนส่งยางพาราที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุจราจร ในอดีตที่ผ่านมายางพาราส่วนใหญ่จะปลูกทางภาคใต้ของไทยและนิยมขายยางพาราในรูปของยางแผ่นผึ่งแห้ง แต่ในปัจจุบันได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมเพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2556 มีแนวโน้มการปลูกยางพารามากขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2556 มีพื้นที่ในการปลูกยางพารามากถึง4,395,849 ไร่ (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักเศรษฐ กิจการเกษตร, 2557) ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีการปลูกยางพารามากถึง 329,590 ไร่ สำหรับอำเภอบ้านผือ ในปี พ.ศ. 2554 มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 49,976 ไร่ มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั้งหมด ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 13ตำบล ตำบลที่มีการปลูกยางพาราจำนวนมาก ได้แก่ ตำบลคำด้วง กลางใหญ่  เมืองพาน  โนนทอง หนองแวง ข้าวสาร ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่  246 กิโลกรัม (สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านผือ, 2555) มีจุดรับซื้อยางก้อนถ้วย โรงรีด โรงอบยางพารา โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะรวมกลุ่มเพื่อผลิตและมีจุดรับซื้อยางก้อนถ้วยในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อส่งให้กับผู้รับซื้อรายใหญ่ สำหรับยางพาราที่ได้จากการกรีดนั้น เกษตรกรบางส่วนนิยมทำเป็นยางแผ่นแปรรูปโดยผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วเก็บไว้จนมากพอที่จะนำไปขายให้กับพ่อค้าหรือโรงงานรมควันต่อไป แต่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี นิยมแปรรูปน้ำยางสดที่กรีดได้ไปขายในรูปแบบยางก้อนถ้วยเพราะสามารถทำได้โดยใช้เวลาไม่นานและมีความสะดวก โดยการเติมสารละ ลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น กรดฟอร์มิก กรดซัลฟิวริก กรดชีวภาพจากการหมักเพื่อทำให้ยางจับตัวกันเป็นก้อน ซึ่งมีอันตรายต่อการหายใจและการสัมผัสทางผิวหนัง (ศิริจิต  ทุ่งหว้า,  2547)โดยทั่วไปน้ำยางสดเมื่อกรีดจากต้นแล้วจะคงสภาพอยู่ในเวลาไม่นาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ผิวของอนุภาคยางและการเพิ่มขึ้นของแบคทีเรียที่ใช้ สารอาหารในน้ำยาง ทำให้อนุภาคยางรวมตัวเป็นก้อน บูด เน่า มีกลิ่นเหม็น (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,2556 ) ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535  กิจการที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เป็น1ใน135ประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จัดอยู่ในประเภทกิจการกลุ่มที่ 5 (2)การล้าง การอบ การรมควัน การสะสมยางดิบ โดย พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการอนุญาต กำกับดูแล ควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบกิจการยางพาราในพื้นที่อำเภอบ้านผือ พบว่า ผู้ประกอบการ กิจการทุกแห่ง ยังไม่เคยยื่นขออนุญาต เพื่อประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอบ้านผือ ส่วนใหญ่ยังไม่มีการออกข้อกำหนดของท้องถิ่น เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ยกเว้นเทศบาลตำบลบ้านผือ ซึ่งมีการออกเทศบัญญัติ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจากคณะสาธารสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คณะทำงานศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ  สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ปีงบประมาณ 2557 (ระยะที่ 2)และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จากการประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพารา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (คำสั่งอำเภอบ้านผือ ที่ 120/2557 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2557)จึงได้ดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพารา เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเป็นแนวทางแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเป็นเครื่องมือในการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับยางพารา 2. เพื่อศึกษาข้อดี ข้อด้อย ข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรค ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) สำหรับกิจการเกี่ยวกับยางพาราโดยการตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพแบบรอบด้าน(Comprehensive HIA)จากการประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพารา ในพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในระดับอำเภอ ได้ดำเนินการระหว่างเดือน มีนาคม - พฤศจิกายน 2557 ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการศึกษา 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพ โดยแบ่งแยกออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากกิจการรับซื้อยางพารา ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกิจการยางพารา และผลกระทบต่อสุขภาพจากการขนส่งยางพารา 3) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และมาตรการป้องกัน/ลดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งสรุป ข้อดี ข้อด้อย ปัญหาอุปสรรค และรูปแบบในการดำเนินงานที่เหมาะสมของหน่วยงานโดยการจัดตั้งคณะกรรมการ 4) การนำเสนอรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับยางพาราต่อไป 5) การติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการ กำกับ ดูแลและติดตามประเมินผลในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชากร ได้แก่ เกษตรกรผู้กรีดยางและทำยางก้อนถ้วย ในเขตตำบลหนอง แวงและตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 77คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้กรีดยางและทำยางก้อนถ้วย ในเขตตำบลหนองแวงและตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 146 คนโดยใช้สูตรคำนวณ ผลการศึกษา การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพารา ในพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ ร่วมกับที่ปรึกษาจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1. การดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพประกอบด้วยขั้นตอนของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบรอบด้าน (Comprehensive HIA) ดังนี้ 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการศึกษา 1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ ผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากกิจการรับซื้อยางพารา ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกิจการยางพารา และผลกระทบต่อสุขภาพจากการขนส่งยางพารา 1.3 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และมาตรการป้องกัน/ลดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้ง สรุป ข้อดี ข้อด้อย และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยการจัดตั้งคณะกรรมการ 1.4 การนำเสนอรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานควบคุมกิจการที่เกี่ยวกับยางพาราต่อไป 2. ผลการศึกษาพบว่า การประกอบกิจการเกี่ยวกับยางพารา ในพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพกรีดยางและทำยางก้อนถ้วย การรับซื้อยางพาราในชุมชนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการขนส่งยางพาราซึ่งก่อให้เกิดเหตุรำคาญส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เส้นทางการขนส่งรวมทั้งน้ำยางที่รั่วลงสู่พื้นถนน เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุการจราจร นอกจากนี้การปฏิบัติงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามสุขภาพทั้งด้านกายภาพ เคมี และการยศาสตร์ ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานการรับซื้อและขนส่งยางพารา

 


 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday6
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week51
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month467
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249218

We have: 2 guests online
Your IP: : 3.16.67.54
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024