Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

พิมลรัตน์ พิมพ์ดี. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี มีจำนวนสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ระดับความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกายถูกทำลายได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และตา ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา

วัตถุประสงค์ : การวิจัยเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกว่าที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ที่เข้ารับบริการที่คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง 120 ราย เป็นกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ 60 ราย และกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้การส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมในการควบคุม    ความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ t-test

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีความรู้การส่งเสริมสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 82.5 มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำ 15.0 และร้อยละ 2.5      ตามลำดับ มีการรับรู้ภาวะสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 65.8 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 34.2 มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ร้อยละ 65.8 และอยู่ในระดับกลาง ร้อยละ 34.2 และมีพฤติกรรมในการควบคุมความดันโลหิตในระดับสูง ร้อยละ 73.3 และอยู่ในระดับกลาง ร้อยละ 26.7 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า สถานภาพสมรส ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวนกลุ่มยาที่ได้รับการรักษา การมีโรคแทรกซ้อน และความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โดยสนับสนุนให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และให้ความสำคัญในกลุ่มที่มีสถานภาพคู่ ค่า BMI ปกติ ผู้ป่วยรายใหม่ และกลุ่มที่ยังไมเกิดโรคแทรกซ้อน

 
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday13
mod_vvisit_counterYesterday20
mod_vvisit_counterThis week13
mod_vvisit_counterLast week348
mod_vvisit_counterThis month338
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249089

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.133.131.168
Mozilla 5.0, 
Today: May 04, 2024