Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

พฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค กรณีศึกษาอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

 

พรพิมล จิตธรรมมา และคณะ. 2553. พฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค กรณีศึกษาอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี

 

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในเรื่องแรงสนับสนุนของครอบครัว ชุมชน และระบบบริการของสถานบริการสุขภาพโดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยวัณโรคที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ รวมทั้งเก็บข้อมูลจากกลุ่มญาติหรือผู้ดูแล และผู้รับผิดชอบงานวัณโรคในระดับสถานีอนามัยและโรงพยาบาล รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ลึกร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในคลินิกวัณโรคในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2552 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามความแตกต่างของพฤติกรรมการกินยาและปัจจัยที่กำหนด

 

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยจะเป็นคนควบคุมกำกับการกินยาวัณโรคเอง สิ่งสนับสนุนว่าผู้ป่วยจะกินยาได้ต่อเนื่องหรือไม่ประกอบด้วย (1) ยา ซึ่งประกอบด้วย จำนวน ขนาดของเม็ดยา และผลข้างเคียงของยา (2) สภาพร่างกายของผู้ป่วยเอง มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง (3) อายุของผู้ป่วย เช่น กรณีที่เป็นเด็ก หรือผู้สูงอายุ (4) คิดว่าตนเองหายแล้วในช่วงหลัง 3 เดือน (5) สภาพเศรษฐกิจ การเดินทาง และค่าใช้จ่ายและในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่เป็นหัวใจสำคัญในการที่จะรักษาและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อยังเป็นปัญหาอย่างมาก ระบบพี่เลี้ยงตามระบบ DOT ในพื้นที่ คือ ตัวเครือญาติ/ครอบครัว ที่เข้ามามีบทบาทในช่วงระยะแรกที่กินยา แต่เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ผู้ป่วยแทบทุกรายจะกินยาเองเป็นส่วนใหญ่ แรงจูงใจที่สำคัญในการกินยา คือ ผู้ป่วยที่ต้องการที่จะหายจากโรค กลัวการเริ่มต้นกินยาใหม่ ในขณะที่เจ้าหน้าที่มีบทบาทนี้เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยการซักถามการกินยาและให้คำแนะนำเท่านั้น พี่เลี้ยงของผู้ป่วยในความหมายยังเป็นเพียงคนที่คอยจดมันทึกและลงลายมือชื่อให้ในสมุดบันทึก โดยสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยวัณโรค ประกอบด้วย การขาดยา การกินยาไม่ครบตามขนาด การลืมกินยา และอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการกินยาที่มีทั้งอาการเล็กน้อยและรุนแรง

พฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องการลืมกินยา การขาดยา และหยุดยาเอง ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพซึ่งการปฏิบัติจำเป็นต้องมีคนคอยดูแลกำกับการกินยา ปัญหาจะเกิดขึ้นเป็น 2 ช่วงเวลาคือ (1) ตั้งแต่วันแรกที่ผู้ป่วยเริ่มรับยาจนถึง 2 เดือนซึ่งถือว่าเป็นระยะ    เข้มข้นที่ผู้ป่วยต้องปรับตัวรับกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป (2) เมื่อผู้ป่วยเริ่มรักษาได้เป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้นไป เนื่องจากคิดว่าตัวเองหายและมีอาการดีขึ้นจึงละเลย     การกินยา การดูแลในเรื่องของการกินยานั้น ตัวผู้ป่วยเป็นบุคคลที่สำคัญในการช่วยเหลือตนเองและประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการดังนี้ (1) ควรส่งเสริมบทบาทของผู้ป่วยให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะด้านจิตใจ (2) ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของครอบครัวให้มีความรู้ในเรื่องโรควัณโรค การดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องของกำลังใจ (3) จากการที่โรคนี้ยังพบได้มากในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี ชุมชนควรให้การดูแลช่วยเหลือสนับสนุนเป็นพิเศษทั้งทางด้านจิตใจและเบี้ยยังชีพที่จัดให้เมื่อเกิดการเจ็บป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (4) เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยควรติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อเรียนรู้ปัญหาของผู้ป่วยและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับครอบครัว ชุมชน และ (5) บทบาทของคลินิกวัณโรค จัดให้บริการ One Stop Service ในกรณีที่ผู้ป่วยมารับบริการที่คลินิก มีผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อที่จะได้ดูแลหรือติดตามผู้ป่วยได้หากมีปัญหา และร่วมกันพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยวัณโรคระหว่างโรงพยาบาล สถานีอนามัยและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

Last Updated on Friday, 18 May 2012 08:49  
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday17
mod_vvisit_counterYesterday20
mod_vvisit_counterThis week17
mod_vvisit_counterLast week348
mod_vvisit_counterThis month342
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249093

We have: 3 guests online
Your IP: : 18.190.159.10
Mozilla 5.0, 
Today: May 04, 2024