Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

อุบัติการณ์ทารกน้ำหนักน้อยของมารดาที่คลอดในสถานบริการของรัฐ ปี 2551 จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

สุรีภรณ์ สีสิงห์. 2552. อุบัติการณ์ทารกน้ำหนักน้อยของมารดาที่คลอดในสถานบริการของรัฐ ปี 2551 จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective analysis) ครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ทารกน้ำหนักน้อย อธิบายคุณลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านสูติกรรม ของมารดาและทารกที่มีน้ำหนักน้อย ประชากร ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี และมาคลอดที่โรงพยาบาลภาครัฐจังหวัดอุดรธานี โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ประวัติการตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย ประวัติการเจ็บป่วยของมารดาก่อนหรือขณะตั้งครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์ก่อน ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ น้ำหนักทารก ลักษณะทารก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยทำหนังสือขอความร่วมมือถึงทุกหน่วยงาน และขออนุญาตแจกแบบสอบถามให้เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้รับบริการช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 20 – 34 ปี ร้อยละ 64.6 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 54.9 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 45.1 อุบัติการณ์ทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ 6.71 โดยทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยส่วนใหญ่มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2,001 – 2,499 กรัม ร้อยละ 86.7 มีทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 41.6 คุณลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคม พบว่า มารดาส่วนใหญ่มีส่วนสูงต่ำกว่า 150 เซนติเมตร ร้อยละ 65.5 และน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม ร้อยละ 65.5 ส่วนด้านสูติกรรม พบว่า มารดาที่คลอดทารกน้ำหนักน้อยมีประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนมีประวัติปกติมากที่สุด ร้อยละ 28.3 และเป็นมารดาครรภ์ที่ 2 ร้อยละ 31.0 มีประวัติการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพ (นับตามเกณฑ์คุณภาพ 4 ครั้ง) ร้อยละ 56.6 ภาวะแทรกซ้อนที่พบขณะตั้งครรภ์ โดยมีภาวะคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 30.1 รองลงมาเป็นภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ร้อยละ 8.8 สำหรับประเภทการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เป็นครรภ์เดี่ยว ร้อยละ 92.9

ข้อเสนอแนะ ในการดูมารดาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับควรให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ มีส่วนร่วนในการดูแลสุขภาพของมารดาและทารก ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณทุกระดับ จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะในการดูแลมารดาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด

Last Updated on Thursday, 01 November 2012 09:24  
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday22
mod_vvisit_counterYesterday23
mod_vvisit_counterThis week22
mod_vvisit_counterLast week368
mod_vvisit_counterThis month370
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249121

We have: 2 guests online
Your IP: : 3.135.219.166
Mozilla 5.0, 
Today: May 05, 2024