Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home

คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย กรณีศึกษาอำเภอโนนสะอาด

E-mail Print PDF

พรพิมล จิตธรรมมา, ธมลวรรณ โคกยาว, อัญชุลี พาดี และกนกกาญจน์ บุญประคม. 2554. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย กรณีศึกษาอำเภอโนนสะอาด

บทคัดย่อ

ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากของร่างกาย มีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างในร่างกาย แต่เมื่อเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้จึงเกิดภาวะมีของเสียคั่งอยู่ในโลหิตและต้องเข้ารับการบำบัดเท่านั้นผู้ป่วยจึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท การดูแลตนเอง ระบบสนับสนุน ผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และความคาดหวังและเป้าหมายในชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการบำบัด ครอบครัว/ผู้ดูแล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล บุคลากรที่ให้การรักษา ในเขตอำเภอโนนสะอาดระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการศึกษาจากเอกสาร

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดมีทั้งเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกว่าที่ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาตามระบบผู้ป่วยจะมีการใช้แพทย์ทางเลือก ซื้อยากินเองและรับการรักษาจากคลินิกและเอกชน จนกระทั่งถึงภาวะฉุกเฉินจึงจะเข้ารับการรักษาตามระบบ หลังการเข้ารับการบำบัดผู้ป่วยจะประสบปัญหาในเรื่องของพฤติกรรมการดูแลตนเอง ทั้งเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อและมีพฤติกรรมการกินอาหารคือการทดลองกินและใช้เครื่องปรุงรส ระบบสนับสนุนของผู้ป่วยเหล่านี้ ครอบครัวเป็นกลุ่มที่สำคัญในการดูแลและประสบปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทาง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มทดแทนการจ่ายค่ายา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยภายรวมอยู่ในสภาวะการณ์ที่ยังต้องได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลทั้งจากครอบครัว และชุมชน ความคาดหวังและเป้าหมายชีวิตคือการได้รับการเปลี่ยนถ่ายไต ร่วมกับการอยากมีอาชีพรองรับเพื่อจะได้มีรายได้ใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษา

ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและเข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกกลุ่ม ส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองและคนในชุมชน โดยการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ความรู้ทางวิชาการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ควรเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้ป่วย การสร้างโอกาสหรืออาชีพที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ การส่งเสริมอาชีพ การรวมกลุ่มของผู้ป่วย และระดับนโยบายเอง ควรมีระบบและมาตรการในการคัดกรอง เฝ้าระวัง และการส่งต่อหรือการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

Last Updated on Thursday, 01 November 2012 09:31  
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday11
mod_vvisit_counterYesterday20
mod_vvisit_counterThis week11
mod_vvisit_counterLast week348
mod_vvisit_counterThis month336
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249087

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.147.61.142
Mozilla 5.0, 
Today: May 04, 2024