การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็ก แรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

Wednesday, 21 October 2015 09:08 ann
Print

คณะผู้วิจัย : กาญจนา  ศรีชานิล, สุพจน์  หวังผล, รัชนา  ศิริวารินทร์, กนกพร พุฒนกุล

ที่ปรึกษา : มลทา  ทายิดา

ที่มา เด็กนับเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายกรมอนามัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กไทยเติบโตเต็มศักยภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นตาม พรบ.ส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อเป็นกรอบแนวทางกาพัฒนาเด็กและเยาวชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยมีเป้าหมายหลักให้เด็กและเยาวชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีความแข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสำนึกความเป็นพลเมือง กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขนโยบายสุขภาพเด็กปี 2556 จังหวัดอุดรธานีได้มีนโยบายเสริมสร้างพัฒนาการและการพัฒนาระบบบริการคลีนิคสุขภาพเด็กดีในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเพื่อพัฒนาคุณภาพพ่อแม่ให้มีความพร้อมทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และพัฒนาความรู้ ตลอดจนทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขเพื่อเป็นพี่เลี้ยงแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในการพัฒนาเด็กในชุมชน โดยมีตัวชี้วัดพัฒนาการเด็กสมวัย ร้อยละ 90 โดยการตรวจพัฒนาการทั้งหมดจังหวัดอุดรธานี มีจำนวน 95,105 คน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.37 พัฒนาการเด็กอำเภอทุ่งฝนปี 2555 มีจำนวนทั้งหมด 2134 คน พัฒนาการเด็กสมวัย ร้อยละ 99.86 ปี ในปัจจุบันกรมอนามัยได้พัฒนาแบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้นของเด็กปฐมวัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรียกว่า อนามัย 55 โดยพัฒนามาจากอนามัย 49 เพื่อให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน แต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิม คือ ใช้ง่ายและสะดวกและสอดคล้องกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กซึ่งเป็นคู่มือสำหรับพ่อแม่และผู้ดูแล ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน พบปัญหาพัฒนาการเด็กจากการตรวจคัดกรองโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ปีงบประมาณ 2556 ผู้มารับบริการจำนวนทั้งหมด563 คน พบเด็กพัฒนาการผิดปกติจำนวน 3 คน ร้อยละ 0.54 จึงมีการพัฒนารูปแบบในการดูแลเด็กให้เห็นถึงความก้าวหน้าของพัฒนาการโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ซึ่งยังคงวัตถุประสงค์เดิมของการใช้งานคือใช่งาย สะดวก และสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนสามารถให้ข้อมูลกับผู้ดูแลเด็กแต่ละด้านได้ และมองเห็นพัฒนาการของเด็กในรูปแบบของกราฟประเมินพัฒนาการ และตารางการแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็ก ในแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กมีพัฒนาการตามเกณฑ์มากน้อยหรือช้ากว่าเกณฑ์ เครื่องมือนี้ได้พัฒนามาจากแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อนามัย 55 (เฝ้าระวัง) ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะทำงานคลีนิคสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝนได้นำมาทดลองประเมินพัฒนาการในเด็กเขตรับผิดชอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บุคลากรสำรวจปัญหาด้านพัฒนาการของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ให้ครอบคลุมทุกด้าน (4 ด้าน คือ 1.ร่างกาย 2.จิตใจและสติปัญญา 3.อารมณ์ 4.สังคม) ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานระดับปฐมภูมิในการให้บริการส่งเสริม ป้องกัน บำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ทันเวลาและมีความครอบคลุมในเด็กแรกเกิด-5 ปีทุกคน โดยคาดหวังว่าเครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) จะสามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการให้บริการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แรกเกิด-5 ปีได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วัตถุประสงค์ 1.เพื่อค้นหาและเฝ้าระวังปัญหาพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี ด้วยกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) 2.เพื่อใช้ในการติดตามและแก้ไขปัญหาความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 5 ปี ขอบเขตของการศึกษาและพัฒนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) เพื่อใช้เป็นรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี 1.ค้นหาปัญหาพัฒนาการเด็กล่าช้า 2.เฝ้าระวังปัญหาพัฒนาการเด็ก 3.ติดตามปัญหาพัฒนาการเด็กที่ค้นพบ 4.แก้ไขปัญหาให้ทันเหตุการณ์และได้อย่างถูกต้องในแต่ละด้านของเด็กที่มารับบริการคลีนิคสุขภาพเด็กดีในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาในการศึกษา ครั้งนี้ ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2556 วิธีดำเนินการทดลอง ขั้นตอนที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลปัญหาการพัฒนาการเด็กโดยการตรวจคัดกรองโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี ในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีอายุแรกเกิด-5ปี ปีงบประมาณ 2556 ทั้งหมด จำนวน 563 คน พบเด็กพัฒนาการผิดปกติจำนวน 3 คน ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม จำนวน 133 คน พบเด็กที่มีความผิดปกติจำนวน 2 คน ด้านเนื้อหา 1.มุ่งศึกษาการค้นหาปัญหาพัฒนาการเด็กแต่ละด้านเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและการติดตามแก้ไขปัญหาในเด็กได้ถูกต้องโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี 2.มุ่งศึกษาการนำเครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี ไปใช้และพัฒนาการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเกิดการแก้ไขปัญหา ด้านแหล่งข้อมูล 1.เอกสารบันทึกการมารับบริการและจากกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2556 2.สอบถามเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการคลินิคสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ด้านเนื้อหา 1. รายละเอียดพอสังเขปของนวัตกรรม นวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) เป็นแบบประเมินพัฒนาการเด็กสำหรับให้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการคลินิคสุขภาพเด็กดีโดยมีการพัฒนามาจากแบบประเมินพัฒนาการอนามัย 55 มาเป็นในรูปแบบของกราฟที่จะสามารถมองเห็นพัฒนาการของเด็กได้ชัดเจนมากกว่าเดิมและสามารถคืนข้อมูลให้กับผู้รับบริการและกระตุ้นให้ผู้รับบริการเกิดการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานได้อย่างถูกต้องในพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก 2.เอกสารที่สนับสนุนการใช้นวัตกรรมนี้แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อนามัย 55 3.จุดเด่นและข้อจำกัดของนวัตกรรมนี้ จุดเด่น เป็นแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี ในรูปแบบของกราฟที่ช่วยในการประเมินและสามารถมองภาพพัฒนาการได้อย่างชัดเจน ที่มีความสะดวกและสามารถนำไปใช้งานได้อย่าง่าย สะดวก และสอดคล้องกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กซึ่งเป็นคู่มือสำหรับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก ข้อจำกัดของนวัตกรรม 1.ใช้ได้เฉพาะในเด็กอายุแรกเกิด-5 ปี 2.ใช้เฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.กราฟประเมินพัฒนาการมีหลายข้อทำให้ใช้ระยะเวลานาน ด้านข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี และคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และกราฟสถิติเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาเอกสารตำราเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างนวัตกรรม โครงร่างการวิจัยและนวัตกรรม หลักการสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม แบบฟอร์มการเขียนงานวิจัยและนวัตกรรม การเขียนรายงานผลการพัฒนาสื่อนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 กำหนดรายละเอียดนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ให้มีความสอดคล้องกับแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอนามัย 55 และคู่มือบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเพื่อให้มีความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ ในการค้นหาปัญหาเพื่อทำการเฝ้าระวังติดตามและแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมต่อไป ขั้นตอนที่ 4 สร้างต้นแบบของนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ขั้นตอนที่ 5 นำต้นแบบของนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1.นางมลทา ทายิดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 2.นางรัชนา ศิริวารินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3.นางนงลักษณ์ ศรีวิลาศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ขั้นตอนที่ 6 นำนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ การทดลองใช้การหาประสิทธิภาพเป็นรายบุคคล ดังนี้ โดยใช้กับเด็กที่มารับบริการในคลินิคสุขภาพเด็กดีในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม จำนวน 133 คน พบเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ซึ่งในการทดลองนวัตกรรมผู้ทดลองได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กและบันทึกพฤติกรรมที่ได้ในกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ทำให้ได้ทราบถึงพัฒนาการผิดปกติแต่ละด้าน และได้คืนข้อมูลให้กับผู้ปกครองเพื่อให้มีการกระตุ้นในด้านที่ผิดปกติให้ถูกวิธี ตัวแปรในการศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป (ชื่อ-สกุล อายุ เพศ กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ก่อนและหลังประเมิน) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์จากการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) และการแก้ไขปัญหาพัฒนาการที่ผิดปกติและการเฝ้าระวังติดตามในพัฒนาการแต่ละด้าน การประเมินผลนวัตกรรม มุ่งเน้นประเด็นต่างๆดังนี้ เช่น เนื้อหามีความเข้าใจง่าย อ่านง่าย สะดวก และมีความชัดเจนและผู้ให้บริการสามารถคืนข้อมูลให้กับผู้มารับบริการในพัฒนาการแต่ละด้านได้ โดยสอบถามจากความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรม ที่มีผลต่อนวัตกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการทดลองนวัตกรรม จากการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ระหว่างเดือน พฤษภาคม -กรกฎาคม พบว่า จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีจำนวน 133 คน พบพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ร้อยละ 1.50 ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจำนวน 2 คน 100% จากการสอบถาม จนท.ผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนมีความพึงพอใจ อ่านแล้วเข้าใจง่ายและใช้ได้สะดวก พบว่า จนท.ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจ จำนวน 4 คน 100% จาการสอบถามผู้มารับบริการ ที่เข้ารับประเมินพัฒนาการโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) จากการสุ่มถามความพึงพอใจ ผู้เข้ารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการจำนวน 30 คน พบว่า มีความพึงพอใจจำนวน 28 คน ร้อยละ 93.33 สรุปผล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี โดยใช้เครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55)ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้น ด้านการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ระหว่างเดือน พฤษภาคม -กรกฎาคม พบว่า จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีจำนวน 133 คน พบพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ร้อยละ 1.50 ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจำนวน 2 คน 100% ด้านการสอบถาม จนท.ผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนมีความพึงพอใจ อ่านแล้วเข้าใจง่ายและใช้ได้สะดวก พบว่า จนท.ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจ จำนวน 4 คน 100% ด้านการสอบถามผู้มารับบริการ ที่เข้ารับประเมินพัฒนาการโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) จากการสุ่มถามความพึงพอใจ ผู้เข้ารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการจำนวน 30 คน พบว่า มีความพึงพอใจจำนวน 28 คน ร้อยละ 93.33 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผลของศึกษารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ทำให้ค้นพบปัญหาพัฒนาการเด็กแต่ละด้านได้อย่างครอบคลุม 2.ผลของการใช้กราฟประเมินพัฒนาการทำให้มีการเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์ 3.ผลของการใช้กราฟประเมินพัฒนาการทำให้เกิดการติดตามความก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง 4.ได้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 5 ปี และเกิดการนำไปใช้ในงานประจำได้อย่างง่าย สะดวกต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1.หน่วยงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กและพัฒนาการเด็ก มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาการเด็ก 2.ควรมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการ และมีการใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อค้นหาปัญหาหรือสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังติดตามและแก้ไขปัญหา