บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

Thursday, 29 October 2015 02:12 ann
Print

นางเยาวรัตน์  จันทร์แดง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดจับ

ที่มา สถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยในปี พ.ศ.2552 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า เด็กทารกประมาณ 760,000 คนทั่วประเทศ(ประมาณ 90% มีภาวะขาดสารไอโอดีน คือมีระดับ TSH มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตรเกินร้อยละ 3 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดไอคิวของเด็กไทยปี พ.ศ.2547 ของโรงพยาบาลรามาธิบดีที่พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับไอคิวอยู่ที่ 88 ซึ่งต่ำกว่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนของจังหวัดอุดรธานีซึ่งวัดผลจากการเจาะส้นเท้า (TSH) พ.ศ.2554-2556 ของทารกอายุ 2 ขึ้นไป มีค่า TSH มากกว่า 11.25 mU/L ร้อยละะ 28.30, 21.6 และ 15.7 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดอำเภอกุดจับในทารกแรกเกิดอายุ 2 วันขึ้นไป ในปี พ.ศ.2554-2556 พบว่ามีค่า TSH พบร้อยละ 22.18, 21.65 และ 18.62 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดในเขตตำบลตำบลเชียงเพ็ง (2554-2556 ) พบร้อยละ 26.55, 22.00 และ19.67 ตามลำดับ ซึ่งในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และ ประชาชนในชุมชน ถือเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมดูแลสุขภาพประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบของตนเอง  เพราะอาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ทั้งบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ บริการด้านป้องกันโรค บริการรักษาพยาบาล และบริการฟื้นฟูสภาพ เป็นบุคลที่มีความเสียสละแรงกายแรงใจ เวลา และทุนทรัพย์ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้ ได้รับค่าค่าตอบแทนเรียกว่าค่าป่วยการ เดือนละ 600  บาท เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกันผลการทำงานในหน้าที่ ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้งานบางอย่างเกิดความล่าช้า จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาถึงบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสุขประจำหมู่บ้านว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยใดบ้าง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อันจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชน และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้ถูกต้อง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross–Sectional Research) เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ปัจจุบัน โดยใช้สูตรในการคำนวณของ Daniel (2010) ในการเลือกตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 197 คน โดยแทนค่าในสูตร Daniel (2010) จากการคำนวณจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง หรือความผิดพลาดจากการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชากรกลุ่มเพิ่มอีก 25 % รวมทั้งสิ้นเป็น 157 คน สถานที่ศึกษา ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาการศึกษา 1 มกราคม 2558- 31 พฤษภาคม 2558 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลและได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้ในการบรรยายลักษณะของข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอในรูปแบบของตาราง 2. ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analysis Statistic) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในชุมชน ความรู้ แรงจูงใจ และบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และค่าไคสแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษา  ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.9 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 52.9 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ร้อยละ 47.1 มีสถานภาพคู่ ร้อยละ 87.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม/แม่บ้านมากที่สุด ร้อยละ 80.9 กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่เกิน 5,000..บาท ร้อยละ 61.8 และระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 61.1 ความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 80.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 11.5 และระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 7.6 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.2 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 23.6 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 8.3 บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.1 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.2 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 5.7 เมื่อพิจารณารายด้านบทบาทในการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ด้านสื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในอยู่ในระดับมาก 66.9 ระดับปานกลางร้อยละ 32.5 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนการส่งเสริมสุขภาพ ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52.9 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 40.8 และระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 6.4 ตามลำดับ ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.9 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 28.0 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 12.1 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า การความรู้เกี่ยวความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.359) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.234) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) สรุปผลการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการบทบาทและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีจำนวน 157 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก ร้อยละ 56.1 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.2 และระดับน้อย ร้อยละ 5.7 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ การความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน