ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี

Thursday, 29 October 2015 02:53 ann
Print

นางงธมลวรรณ   พงษ์พิสิฏฐ์

รพ.สต.โนนสำราญ อ.โนนสะอาด

ที่มาและความสำคัญ โรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน  มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ความชุกของเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ประเทศกำลังพัฒนาต้องแบกรับภาระการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ที่เป็นเบาหวานในกลุ่มคนที่อายุน้อยและกำลังอยู่ในวัยทำงาน (35-64 ปี) สำหรับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.3553มีผู้เป็นเบาหวานในประเทศไทย 3.5 ล้านคน จากผลรายงานประจำปี การเฝ้าระวังโรคจากพฤติกรรมเสี่ยงของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ.3547 มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราความชุกในเพศชาย ร้อยละ 6.4  เพศหญิง ร้อยละ 7.3 และอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 1,415.5 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.3541 เป็น 1,511.3 และ 3,131.4 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.3544 และ พ.ศ.3547 ตามลำดับ นอกจากนี้จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี พบว่า สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข มีอัตราป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จาก 493.39 ในปี 3554 เป็น 1,076.06 ในปี 3555 และ ในปี 3556 เป็น 1,143.96 ต่อแสนประชากร (http://social.nesdb.go.th) จากรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานของอำเภอโนนสะอาด  จังหวัดอุดรธานี  ก็พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีโดยใน ปี พ.ศ. 3557 จำนวน  3,186  คน (ทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลโนนสะอาด, 3557)  และผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว  อำเภอโนนสะอาด  จังหวัดอุดรธานี พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน  โดยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 3555  จำนวน 390 คน ปี พ.ศ. 3556 จำนวน 393 คน และในปี พ.ศ. 3557 จำนวน 333 คน เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ จำนวน  45  คน  เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน  จำนวน 45  คน  ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ, 3557)จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ  จึงพิจารณาจึงการศึกษา เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน  โดยศึกษาปัจจัยที่เกิดจากลักษณะด้านประชากร และปัจจัยด้านการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการให้คำแนะที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเบาหวาน  วางแผนในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคลงอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตอยู่ในครอบครัว และสังคมอย่างเป็นปกติสุขเช่นบุคคลทั่วไป วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่รักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ระเบียบวิธีวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ใช้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 3556 - 30 เมษายน 3557 และมารับบริการรักษาโรคเบาหวานที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี จำนวน 45 คน วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical study)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี สถานที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 3556 - 30 เมษายน 3547 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละของลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และหาค่าอัตราความเสี่ยงสัมพันธ์ (Odds Ratio, OR) ตัวแปรปัจจัยทางประชากร อายุ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการรักษา ดัชนีมวลกาย ความสม่ำเสมอของการมารับยา ความรู้ และการปฏิบัติตัวที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 140 mg% และกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg% ขึ้นไป ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.33 มีอายุส่วนใหญ่ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 53.33 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 68.89 และมีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 88.89 ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 3 ปี ร้อยละ 66.67 ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 133.06 mg% และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 71.11 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้ได้แก่ การปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเองทั้งในด้านการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.00 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 31.11 และอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ร้อยละ 8.89 ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำร้อยละ 43.33 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้ยา การติดตามการรักษาและการดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 55.56 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.44 โดยสรุปผลการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.33 และระดับดี ร้อยละ 37.78 ส่วนผลการทดสอบความสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวแปรปัจจัยต่างๆ ด้านเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การออกกำลังกาย ระยะเวลาที่ป่วย ค่าดัชนีมวลกายและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันที่นัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value=0.05 สรุปผลการศึกษา ลักษณะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่รักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ (ค่าเฉลี่ย 60.69 ปี) โดยส่วนใหญ่มีสภาพสมรส มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่ำกว่า 3,000 บาท มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานมาก่อนมากกว่า 3 ปี ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg% หนึ่งในสามส่วนของผู้ป่วยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินอยู่ในกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภาวะพึ่งพิงมีภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและมีแนวโน้มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งพบว่าลักษณะทางประชากรและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยด้านอาหาร การออกกกำลังกายและการใช้ยา การติดตามรักษาไม่มีความสัมพันธ์กันที่นัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value=0.05 แสดงว่ายังมีปัจจัยอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ยังต้องค้นหาและทำการศึกษาในพื้นที่ต่อไป แต่การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปัจจัยด้านการใช้ยา การติดตามผลการักษา ยังเป็นวิธีการที่ดีในการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ไม่มากก็น้อย การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ จากลักษณะทางประชากรของผู้ป่วยหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด หรือแม้แต่ในระดับประเทศสามารถนำไปวางแผนการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานได้มีกิจกรรมที่หลายหลายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและค้นหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ารมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการให้ข้อมูลและนโยบายที่เข้าถึงกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่มีคุณภาพ

 

Last Updated on Thursday, 29 October 2015 03:06