พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีของประชาชนตำบลนาบัว

Thursday, 29 October 2015 08:22 ann
Print

นางลำพูน  มั่งมูล และนางสาวมาลิณี  พุทธมา

รพ.สต.นาบัว  ตำบลนาบัว  อำเภอเพ็ญ

ที่มาและความสำคัญ จากสถานการณ์การเจ็บป่วยและอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งตับในปัจจุบัน มีความรุนแรงอย่างมาก ซึ่งมีการรายงานข้อมูลด้านโรคมะเร็งจากองค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO) รายงานว่า ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับทั่วโลกประมาณปีละ 600,000 คน  แหล่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์มะเร็งอุดรธานี โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พบว่าปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้นทุกปี  นอกจากนี้ยังมีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น  ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย (2552) รายงานอัตราการตายของประชากรไทย พบว่าโรคมะเร็งตับเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 1 ของประเทศพบมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายงานสูงสุดถึงร้อยละ 16.6 หรือประมาณการ 8.7 ล้านคนทั่วประเทศ อุบัติการณ์ของมะเร็งตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายงานสูงสุดถึง 113.4 คน และ 49.8 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ ซึ่งเป็นอุบัติการณ์มะเร็งตับที่สูงที่สุดในโลก โดยเปรียบเทียบกับอุบัติการณ์ในประเทศอเมริกา ซึ่งมีเพียง 0.5-2 ต่อประชากร 1 แสนคน ตามสถิติอัตราความชุกการเป็นมะเร็งตับดังกล่าวยังไม่ได้สะท้อนการเป็นมะเร็งตับที่แท้จริงในชุมชนและพื้นที่เสี่ยง เช่น ชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีโอกาสรับประทานปลาจืดที่มีพยาธิใบไม้  ในตับ อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และ ไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก เบคอน ฯลฯ การดื่มสุราเป็นประจำ การเคี้ยวหมาก สารพิษอัลฟลาทอกซิน ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางชนิด พบในถั่วลิสง  ข้าวโพด พริกแห้ง    โดยที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี (2548) สรุปสถานการณ์อุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็ง จังหวัดอุดรธานี มะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดอุดรธานี คือ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยเปรียบเทียบกับประเทศ พบว่า อัตราการตายต่อประชากร 1 แสนคน จังหวัดอุดรธานีสูงกว่าค่าอัตราการตายของประเทศ สำหรับอัตราการตายด้วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2548 = 43.8 ต่อประชากรแสนคน แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 66 เพศหญิง ร้อยละ 34 จำแนกตามอายุ 40-69 ปี ซึ่งอำเภอที่มีอัตราตายด้วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด ได้แก่ อำเภอ หนองหาน อำเภอพิบูลรักษ์ และกิ่งอำเภอกู่แก้ว (อัตราการตายมากกว่า 52.5 ต่อประชากร 1 แสนคน) โรคมะเร็งตับส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบทางร่างกายเกิดจากความเจ็บป่วยจากมะเร็งซึ่งส่งผลให้การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันลดลง ส่งผลต่อจิตใจทำให้เกิดความเศร้าเสียใจ เกิดความเครียด วิตกกังวล  และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่เป็นเพศชายวัยทำงานและเป็นผู้นำครอบครัวเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นจึงทำให้ครอบครัวขาดผู้นำครอบครัวและกำลังสำคัญในการหารายได้ของครอบครัวไป ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและส่งผลต่อสังคมเนื่องจากขาดกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนป้องกันและส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีของประชาชนในตำบลนาบัว พ.ศ. 2557 ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในตำบลนาบัว อายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถานที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ช่วงเวลาในการศึกษา มกราคม 2557 – มิถุนายน 2557 รูปแบบการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ (survey research) การวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และโปรแกรม EPIDATA สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ จำนวน ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68.50 อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ37.50 น้ำหนักอยู่ในช่วง 51 - 60 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 60.0 ส่วนสูงอยู่ในช่วง 150 - 160 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 78.50 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 90 สถานภาพสมรสมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.0 พักอาศัยอยู่กับครอบครัวของตนเองเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 90. และพักอาศัยอยู่บ้านของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 95.0 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 99.5 รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.0 รองลงมารายได้อยู่ที่ 5,001 – 10,000 คิดเป็นร้อยละ 20.0 รายได้อยู่ที่ 10,001 – 20,000 คิดเป็นร้อยละ 5.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเคยได้รับทราบข้อมูลข่าวสารทาง โทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 58.0 โรงพยาบาล, สถานีอนามัย คิดเป็นร้อยละ 54.0 บุคคล ระบุบุคคลที่ให้ข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 48.0 คือ บุคลากรทางการแพทย์/พยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 28.0 อาสาสมัครสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 27.0 ครูอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 36 เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 18.0 คนในครอบครัวหรือญาติ คิดเป็นร้อยละร้อยละ15.0 และเพื่อนบ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.0 หนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 37.0 สื่อสิ่งพิมพ์ (โปสเตอร์/แผ่นพับ/ใบปลิว) และกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 36.0 วิทยุ คิดเป็นร้อยละ 25.0 แหล่งข้อมูล บอร์ด เสียงตามสาย คิดเป็นร้อยละ 19.0 และ ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเลย คิดเป็นร้อยละ 20.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ในตับ คิดเป็นร้อยละ 85.0 เคยป่วย คิดเป็นร้อยละ 1.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 14.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในรอบ 3-5 ปีที่ผ่านมาเคยตรวจหาไข่พยาธิ ไม่เคยตรวจ คิดเป็นร้อยละ 82.0 เคยตรวจ คิดเป็นร้อยละ 4.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 4.0 ตรวจพบพยาธิอื่นๆเช่น พยาธิเส้นด้าย ตัวกลม ตัวแบน เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 5.0 และพยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวจี๊ด คิดเป็นร้อยละ 3.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ คิดเป็นร้อยละ 82.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 18.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี คิดเป็นร้อยละ 2.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีญาติพี่น้องที่ป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ คิดเป็นร้อยละ 70.0 ระบุ คือ ลุง ตา เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 15.0 และไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 14.0 ส่วนที่ 2 ความรู้เรื่องโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีมากที่สุด คือ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีสามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอัลฟ่าท๊อกซินและดินประสิวคิดเป็นร้อยละ 72.0 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีน้อยที่สุด คือ เรื่องการตรวจหามะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี สามารถทำได้โดยการตรวจปัสสาวะ คิดเป็นร้อยละ 10.75 ส่วนที่ 3 ทัศนคติด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งมากที่สุดในเรื่องการรับประทานก้อยดิบแล้วจะทำให้รู้สึกมีกำลัง (ร้อยละ 55.0) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเห็นด้วยอย่างยิ่งมากที่สุด คือ เรื่องปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย (ร้อยละ 14.0) ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีที่ผู้ตอบสอบถามปฏิบัติเกือบทุกวัน คือ รับประทานพริกแห้ง หอม กระเทียม ที่มีเชื้อราสีดำๆ (ร้อยละ 67.0) สำหรับพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีของผู้ตอบสอบถามที่ไม่เคยปฏิบัติเลย คือรับประทานหอม กระเทียม ที่ล้างก่อนบริโภค (ร้อยละ 12.0)

 

Last Updated on Thursday, 29 October 2015 08:29