การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืดตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

Monday, 02 November 2015 03:50 ann
Print

เจ้าหน้าที่ รพ.สต.สร้างแป้น  อำเภอเพ็ญ

ที่มาและความสำคัญ จากการศึกษาในระยะแรกที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ส่วนใหญ่เป็นรายงานผู้ป่วย ในช่วงเวลาระหว่าง 2509 – 2532 โดยพบว่า มีอุบัติการณ์ของมะเร็งที่ปรับมาตรฐานตามอายุประชากรเท่ากับ 84.6 ต่อประชากร 1 แสนคนในเพศชายและ 36.8ต่อประชากร 1 แสนคนในเพศหญิง  เมื่อวิเคราะห์ถึงรายละเอียดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับพบว่าในชุมชนที่มีอุบัติการณ์มะเร็งสูง จะมีความหนาแน่นของพยาธิสูง (egg/gram  faeces, epg>10,000)  ในสัดส่วนที่สูงกว่าชุมชนที่มีอุบัติการณ์มะเร็งต่ำกว่า   ในปี 2551 จังหวัดอุดรธานีพบว่าประชาชนเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 5.63 ตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เป็นตำบลที่มีบริบทของพื้นที่ติดกับลำห้วย และอ่างเก็บน้ำ ประชาชนบางส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทานปลาดิบ ผลตรวจหาพยาธิในอุจจาระปี 2551 พบพยาธิใบไม้ตับร้อยละ. 15.63 จากผู้ส่งอุจจาระตรวจทั้งหมด 796 ราย ผลตรวจหาพยาธิในอุจจาระปี 2552 พบพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 13.21 จากผู้ส่งอุจจาระตรวจทั้งหมด 878 ราย ทั้งนี้จากสรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขของสถานีอนามัยสร้างแป้นปี 2552 พบว่า สาเหตุการตายอันดับที่ 1 ของประชากรคือ มะเร็งตับ เท่ากับ 130 ต่อแสนประชากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร้างแป้นจึงได้ทำการการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินผลรูปแบบการควบคุมป้องกันพยาธิใบไม้ในตับ ต่อความชุก ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตน และการมีส่วนร่วม ของประชาชนตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันพยาธิใบไม้ในตับ ต่อความชุก ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตน และการมีส่วนร่วม ของประชาชนตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ศึกษา คือประชาชนที่มีผลการตรวจอุจจาระพบพยาธิใบไม้ในตับของตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 2 ชุดด้วยกันคือ ชุดที่ 1 : เครื่องมือในการประเมินความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งประกอบด้วย กล้องจุลทรรศน์,ชุดอุปกรณ์การตรวจอุจจาระ, ตลับอุจจาระ , แบบบันทึกผลการตรวจอุจจาร, แบบบันทึกผลการตรวจนับไข่พยาธิ ชุดที่ 2 : เครื่องมือในการประเมินความรู้ เจตคติ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วม เป็นแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1) การเก็บข้อมูลการตรวจอุจจาระ 2) การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) การติดตามผลหลังจากการให้ความรู้แล้ว 3 เดือน ระยะเวลาการเก็บข้อมูล ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ ตุลาคม 2554 – มกราคม 2555 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.20 มีอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 40-50 ปีคิดเป็นร้อยละ 38.93 และต่ำสุดคืออายุต่ำกว่า 30 ปีคิดเป็นร้อยละ 8.62  สถานภาพส่วนใหญ่คือสถานภาพสมสรคิดเป็นร้อยละ  79.31  และน้อยสุดคือสถานภาพหม้ายคิดเป็นร้อยละ 6.89  ระดับการศึกษาส่วนใหญ่คือระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อย 64.65  และระดับต่ำสุดคืออนุปริญญาคิดเป็นร้อยละ 5.17   อาชีพส่วนใหญ่ประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพเกษตรกรรมคิดเป็นร้อย 75  และกรณีว่างงานไม่มีคิดเป็นร้อย 0.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำสุดคือ 500  บาทต่อเดือนและคิดว่าเฉลี่ยรายได้ต่ำกว่า 3000 บาทคิดเป็นร้อยละ 76.72 และน้อยสุดคือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8000 บาทขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 5.17 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแล้วทำให้เสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด มากที่สุด คือ ลาบเนื้อดิบ/พล่าเนื้อดิบ และก้อยเนื้อดิบซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งรองลงมาได้แก่ ลาบปลาดิบ คิดเป็นร้อยละ 97.41   ลาบหมู/พล่าหมูดิบซึ่งคิดเป็นร้อยละ 95.69  และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับและพยาธิตัวตืดน้อยที่สุดคือ การรับประทานแจ้วปลาร้าบองคิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งแสดงว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานและการวิธีการหลีกเลี่ยงอาหารประเภททำให้การเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด