“ป้อนสายใยรัก”

Monday, 02 November 2015 04:11 ann
Print

นายธีระยุทธ  แก่นท้าว

รพ.สต.บ้านเทื่อม อำเภอบ้านผือ

ที่มาและความสำคัญ โรคขาดสารไอโอดีน หมายถึง ภาวะร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นประจำ ซึ่งมีผลต่อการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดการเสียสมดุลในการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่เรียกว่า ความผิดปกติของการขาดสารไอโอดีน คือเกิดอาการคอพอก, ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ, โรคเอ๋อ ซึ่งทำให้ระดับสติปัญญาพัฒนาด้อยกว่าปกติ และมีพัฒนาการทางร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ ถ้ามีการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ จะมีผลทำให้ทารกแรกเกิดมีพัฒนาการของสมอง และระบบประสาทที่ช้ากว่าเป็นเพราะมีความผิดปกติของต่อมฮอร์โมนและการขาดสารไอโอดีนของมารดาในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะผิดปกตินี้เด็กทารกได้รับการรักษา ก่อนอายุ 3 เดือนเด็กจะมีสติปัญญาปกติ หากได้รับการรักษาช้ากว่านั้น ร้อยละ 80 ของเด็กจะปัญญาอ่อน มีความพิการทางระบบประสาท และหากขาดสารไอโอดีนในระดับรุนแรง อาจทำให้แท้งหรือตายก่อนคลอด จากข้อมูลอำเภอบ้านผือ ปี 2556 ภาวะขาดสารไอโอดีนในเด็กแรกเกิดระดับ TSH เฉลี่ยร้อยละ 15.2 และจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อม ในปี 2556 พบเด็กแรกเกิดที่มีภาวะขาดสารไอโอดีน เฉลี่ยร้อยละ 18.6 ซึ่งทำให้ปัญหาสำคัญในพื้นที่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อมได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการจัดทำนวัตกรรม “ป้อนสายใยรัก” เพื่อเป็นการลดปัญหาการได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอในหญิงตั้งครรภ์และยังส่งเสริมให้ครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการดูแลลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์เชื่อมสายสัมพันธ์ความรักความผูกพัน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ครอบครัวโดยเฉพาะสามีได้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ (ภรรยา) และลูกที่อยู่ในครรภ์ให้ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอต่อร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ วิธีดำเนินการ 1. อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ และ สามี ให้ทราบถึงปัญหาของโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ 2. จัดทำแบบฟอร์มบันทึกการรับประทานยาเสริมไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ 3. ให้สามีหรือญาติเป็นคนป้อนยาหรือเอายาเสริมไอโอดีน ให้หญิงตั้งครรภ์ทานด้วยมือของตนเอง แล้วลง บันทึกลงในแบบฟอร์มบันทึก 4. ให้บันทึกตลอดช่วงการฝากครรภ์จนคลอด กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่ รพ.สต.บ้านเทื่อม ระยะเวลาดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557 วิธีการใช้ นวัตกรรม สามีหรือญาติ เป็นคนลงบันทึกการรับประทานยาในแบบฟอร์มทุกวันตลอดในช่วงการฝากครรภ์จนคลอด ผลการใช้นวัตกรรมจากการดำเนินงานเดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 60 คน ที่เข้าร่วมโครงการที่มาฝากครรภ์ภายในตั้งแต่ 12 สัปดาห์ทั้งหมด 60 คน คลอดทั้งหมด 7 คน ผลการตรวจส้นเท้าทารก TSH < 11.25 พบว่าปกติ 6 คน และพบผิดปกติ 1 คน เป็นมารดาอายุ 19 ปี HCT = 32.8 % ฝากท้อง 14 สัปดาห์ เนื่องจากไปทำงานที่ต่างจังหวัด ผลตรวจส้นเท้าทารก TSH =16.70 ผลเลือดมารดา HCT = 32.8 %