การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพ รพ.สต.บ้านโนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Monday, 02 November 2015 04:15 ann
Print

นางสุนันท์  นนท์ขุนทด

รพ.สต.บ้านโนนสะอาด อำเภอบ้านผือ

ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันจะเห็นว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงหลักของโลก เป็นทั้ง “โอกาสและภัยคุกคาม” ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง และเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการปรับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่นำไปสู่กติกาการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ และแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีและการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา ทำให้ต้องเร่งเตรียมพร้อมทั้งการสร้างระบบ กลไก และพัฒนาคนให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันได้รวดเร็ว ภายใต้ สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคตที่จะมีผลต่อการพัฒนาประเทศ ดังกล่าวการสร้างเสริมสุขภาพครั้งแรกในปี 1986  ที่ออตตาวาได้สะท้อนแนวคิดการสาธารณสุขแนวใหม่ และให้คำนิยามของการสร้างสุขภาพว่า "เป็นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 5 ประการ คือ การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การสร้างทักษะชีวิต และการปรับระบบบริการให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ" ทั้งนี้จะต้องมีเงื่อนไขพื้นฐานของการมีสุขภาพดีการมีสุขภาพแข็งแรง (Health) ในความหมายขององค์การอนามัยโลก ครอบคลุมถึงความแข็งแรงของสุขภาพในมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย (Physical Health) จิตใจ (Mental Health) สังคม(Social Health) และปัญญา/จิตวิญญาณ (Spiritual Health) สำหรับประเทศไทย รัฐบาลไทยผลักดันนโยบายและการดำเนินงานต่าง ๆ ตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) จนประสบความสำเร็จและมีความคืบหน้าไปมาก กล่าวคือ 1. ด้านนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ(Healthy Public Policy) 2. ด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ(Healthy Environment) 3. ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน(Community Strengthening) 4. ด้านการส่งเสริมพัฒนาทักษะส่วนบุคคล(Personal Skill Development) 5. ด้านการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข(Health Service System Reorientation) จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาเบื้องต้น ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพของผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานสาธารณสุขและวางแผนงานการสร้างสุขภาพภาคประชาชน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพของผู้นำชุมชน ของ รพ.สต.บ้านโนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ(Survey Study) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพของผู้นำชุมชน 5 ด้าน คือ ลักษณะทางประชากร การเรียนรู้ การพัฒนา การปฏิบัติของผู้นำชุมชน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.โนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยมีขอบเขตดังนี้ 1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นายกอบต., รองนายกอบต., ประธานสภา เลขาฯอบต., สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, ประธานอสม., รองประธานอสม. ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.โนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 83 คน 2. ขอบเขตพื้นที่การศึกษา หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.โนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 3. ขอบเขตระยะเวลาการเก็บข้อมูล วันที่ 20 ธันวาคม 2556 31 มกราคม 2557 ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลลักษณะทางประชากรที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 89.16 อายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 49.40 สถานภาพสมรส คู่ร้อยละ 100 การศึกษาส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษาร้อยละ 67.47 ส่วนใหญ่มีอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 92.77 ส่วนใหญ่มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 4,501-6,500 บาท ร้อยละ 48.19 ส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 26.51 ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-4 ปี ร้อยละ 49.40 การเรียนรู้ชุมชนของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพมีความรู้มากที่สุด คือ เรื่องปัจจุบันประชาชนหมู่บ้านของท่านเคยมีปัญหาด้านสุขภาพ ร้อยละ 96.39 รองลงมาเรื่องหมู่บ้านของท่านมีประวัติความเป็นมาของงานสร้างสุขภาพในหมู่บ้าน ร้อยละ 93.98 และเรื่องการเข้าร่วมในการทำแผนงานสร้าง สุขภาพในปีที่ผ่านมา ร้อยละ 84.34 และมีความรู้น้อยที่สุดในเรื่องในปัจจุบันหมู่บ้านของท่านมีการร้องเรียนปัญหาในเรื่องสุขภาพของท่านร้อยละ 28.91 และรองลงมาเรื่อง สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านของท่านมีปัญหาต่อสุขภาพร้อยละ30.12 และเรื่อง ที่ผ่านมาหมู่บ้านของท่านเคยมีหน่วยงานต่าง ๆมาสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินงานด้านการสร้างสุขภาพร้อยละ 46.99 ผู้นำชุมชนมีแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านของชุมชนในการสร้างสุขภาพมากที่สุดในเรื่องหมู่บ้านมีการนำหลักการ เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนางานสุขภาพ ร้อยละ89.16 รองลงเรื่องมีส่วนร่วมประสานงาน การดำเนินงานสร้างสุขภาพในชุมชนร้อยละ86.75และเรื่อง แนวทางการพัฒนางานสร้างสุขภาพตามความหมายของคำว่า สร้าง นำซ่อม ร้อยละ 81.93 การพัฒนาของชุมชนของผู้นำชุมชนที่อยู่ในระดับน้อยที่สุดในเรื่องชุมชนมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าร้อยละที่ในการปฏิบัติงานด้านสร้างเสริมสุขภาพร้อยละ 34.94 และรองลงมาเรื่อง มีการรณรงค์การออกกำลังกายในหมู่บ้านร้อยละ39.76และในหมูบ้านของท่านมีการส่งกิจกรรมด้านสุขภาพเข้าประกวดร้อยละ 50.60 มีแนวทางการปฏิบัติในการสร้างสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องชุมชนมีการดำเนินงานในการรับรู้แหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการสร้างสุขภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร้อยละ 86.75รองลงมาเรื่องหน่วยงานภาครัฐเคยมีงบประมาณสนับสนุนในการสร้างสุขภาพในหมู่บ้าน ร้อยละ84.34 และท่านเคยร่วม/ชักชวนชาวบ้านในการรณรงค์ออกกำลังกายร้อยละ 81.93และผู้นำชุมชนมีแนวทางการปฏิบัติงานในการสร้างสุขภาพน้อยที่สุดในเรื่อง เคยบริจาควัสดุอุปกรณ์และสิ่งของหรือทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมงานสร้างสุขภาพในชุมชน ร้อยละ 39.76 รองลงมาเรื่องเคยหาสาเหตุ ของการพัฒนาไม่ต่อเนื่องของกลุ่มหรือชมรมสร้างสุขภาพ ในชุมชน ร้อยละ 44.59 และชุมชนของท่านเคยจัดอัตราบุคลากรไว้สำหรับดำเนินงานในด้านการสร้างสุขภาพหรือไม่ร้อยละ 44.59 สรุปผลการศึกษา 1. ด้านการเรียนรู้ชุมชนของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพ จากการศึกษาพบว่า ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีการเรียนรู้ชุมชนในระดับไม่ดี 2. การพัฒนาของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพ จากการศึกษาพบว่า ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีการพัฒนาอยู่ในระดับไม่ดี 3. การปฏิบัติของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพ จากการศึกษาพบว่า ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับไม่ดี