ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Tuesday, 10 November 2015 02:55 ann
Print

นางสาววรรษมล โศกสี

งาน NCD clinic โรงพยาบาลบ้านผือ

ที่มาและความสำคัญ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถรักษาด้วยการใช้ยาลดน้ำตาลชนิดกินควบคู่กับการควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวหากปล่อยปละละเลยแม้จะไม่มีอาการก็สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในระยะยาว (5-10 ปีต่อมา) (สุรเกียรติอาชานานุภาพ, 2552) โดยเฉพาะทางตาคือเบาหวาน เข้าจอประสาทตาเฉลี่ยประมาณร้อยละ 25.0 ของผู้ป่วยเบาหวาน (ประมาณ 8 แสนคน) ผู้นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นได้แก่โรคหัวใจเส้นเลือดสมองตีบโรคไตเรื้อรังเป็นแผลเรื้อรังบริเวณเท้าต้องตัดเท้าหรือขาทำให้ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมานต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2550) จากอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีปี 2554-2556 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ อัตรา 3.57 , 3.55 และ 3.66 คนต่อแสนประชากรตามลำดับ การตรวจ HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ปี 2554-2556 พบว่า HbA1C <7 มีแนวโน้มขึ้นๆ ลงๆ ร้อยละ 48.46, 58.68 และ 48.69 ตามลำดับ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ เท้าเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการความคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง อยูเปนระยะเวลานานทําให้เกิดโรคแทรกซอนของอวัยวะตางๆ เชน ตา ไต ระบบประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจได้ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการความคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานีประกอบด้วย พฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมภายใน และปัจจัยด้านพฤติกรรมภายนอกกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : ใช้วิธีการสุ่มแบบMultistage sampling 336 คน จำนวนประชากรทั้งหมด 4,010 คน วิธีศึกษา วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) สถานที่ พื้นที่เขตรับผิดชอบ คปสอ.บ้านผือจำนวน 21 แห่ง ช่วงเวลา เดือน ตุลาคม 2556 - สิงหาคม 2557 ระยะเวลา 6 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด 2. สถิติเชิงอนุมานหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภายในและภายนอกโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient)กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผลการศึกษา พบว่า มีข้อมูลส่วนบุคคลดังนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 16.65 (S.D= 0.939) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.33 พบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่/ทำนา/ทำสวนร้อยละ 45.54 รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 33.33 จบการศึกษาผู้ป่วยจบระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.40 ส่วนใหญ่แล้วมีระยะเวลาป่วยเฉลี่ยป่วย 9.62 ปี (S.D= 6.998) กลุ่มตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,374.11 บาท (SD.=4.980)  HbA1C ครั้งล่าสุดพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี HbA1c เฉลี่ย 8.32 mg% กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 77.68 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบุตร ร้อยละ 83.93 และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเบาหวานพบว่าส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากบุคลากรทางการแพทย์(แพทย์/พยาบาล) ร้อยละ 94.40 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการดูแลตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 84.52 ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ร้อยละ 59.82 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมภายในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ด้านทัศนคติพบว่า ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมภายในด้านทัศนคติต่อการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05พฤติกรรมภายนอกด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดพบว่ามีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p0.05 พฤติกรรมภายนอกด้านพฤติกรรมการจัดการความเครียด และพฤติกรรมการใช้ยา พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05