การจัดการขยะอันตราย ในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลนายูง

Tuesday, 10 November 2015 03:37 ann
Print

นายณัฐพล   อุ่นจันทร์

โรงพยาบาลนายูง

ที่มาและความสำคัญ ประชากรในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลนายูง  อำเภอนายูง  จังหวัดอุดรธานี  มีการทำเกษตรกรรม และทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร  จำนวนครัวเรือนที่ใช้สารเคมีและปลูกยางพารามีจำนวน 300 ครัวเรือน  โดยมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้กันมาก รวมถึงการใช้พาราควอท ไกลโฟเสต ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช  ยากันเชื้อรา น้ำกรด ซึ่งมีสารพิษ  สารเคมี ซึ่งสามารถเกิดอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม  การใช้สารพาราควอท ไกลโฟเซต น้ำกรอฟอร์มมิก  ปุ๋ย  ยากันเชื้อราดินยาสต๊อบสำหรับทาหน้ายางโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นยางพาราและพืชชนิดอื่น เกษตรกรมีการใช้สารเคมีประมาณ 2 ครั้งต่อปี แต่ไม่มีการกำจัดภาชนะที่เป็นขยะอันตรายจากสารเคมีที่ไม่เหมาะสม  โดยพบว่ามีการทิ้งตามไร่ วางตามพื้นดินที่ใช้ไม่หมดและจัดเก็บไม่เป็นที่ตามบ้านเรือน หรือแม่น้ำลำคลองทำให้สารพิษเหล่านี้ได้แพร่กระจ่ายสู่ดิน สู่แหล่งน้ำต่างๆ  ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา  ในประชากรในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นหัวหน้าครอบครัวของครอบครัวเกษตรกรที่ปลูกยางพาราที่ปลูกยางพาราและทำเกษตรกรรม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 1 คนต่อ 1 ครัวเรือน จำนวน 300 คน วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราและทำเกษตรกรรม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี สถานที่ 2 พื้นที่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง ระยะเวลา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาระหว่าง1 มีนาคม 2557 ถึง 30 พฤษภาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และ ร้อยละ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ คุณลักษณะส่วนบุคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนอายุ รายได้ ระยะเวลาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคมีแต่ละครั้ง ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในตอนที่สอง โดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่และ ร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย ลักษณะประชากรของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเป็นเพศชายจำนวน 186 คน (ร้อยละ 62.0) และเพศหญิงจำนวน 114 คน (ร้อยละ 38.0) อายุของกลุ่มคิดเป็นค่าเฉลี่ย 12.8 และค่าต่ำสุด อายุ 16 ปี ค่าสูงสุด อายุ 70 ปี ระดับการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 209 คน (ร้อยละ 69.7) มัธยมศึกษาจำนวน 76 คน (ร้อยละ 25.3) และปริญญาตรีจำนวน 9 คน (ร้อยละ 3.0) น้อยสุดคือต่ำกว่าปริญญาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 2.0)สถานภาพมีสถานภาพสมรสจำนวน 246 คน (ร้อยละ 82.0) และสุดคือ หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ 29 คน (ร้อยละ 9.7) น้อยสุดคือ สถานภาพโสดจำนวน 25 คน (ร้อยละ 8.3) รายได้ต่อปีเกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีรายได้เฉลี่ยปีละ 65,903.11 บาทและ รายได้ต่ำสุด 20,000 บาท รายได้สูงสุด 400,000 บาทระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ที่ใช้สารเคมีระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพารา เฉลี่ย 7 ปี และระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราปลูกยางพารา ต่ำสุด 5 ปี ระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราปลูกยางพารา สูงสุด 70 ปี พื้นที่ในการปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีพื้นที่ในการปลูกยางพาราโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12 ไร่ และพื้นที่ในการปลูกยางพารา ต่ำสุด 2 ไร่ พื้นที่ในการปลูกยางพารา ค่าสูงสุด 100 ไร่ การจัดการขยะอันตราย ของเกษตรกรที่ปลูกยางพารา การจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพารามีการจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 135 คน (ร้อยละ 45.0) และไม่มีการจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 165 คน (ร้อยละ 55.0) สถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชนอกอาคารมีหลังคา จำนวน 132 คน (ร้อยละ 44.0) จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่โล่งแจ้งจำนวน 141 คน (ร้อยละ47.0) อื่นๆ จำนวน 26 คน (ร้อยละ8.7) และน้อยที่สุด คือ สถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอาคารเก็บสารเคมี จำนวน 1 คน (ร้อยละ 0.3) มีการจัดทำบัญชี หรือบัญชีคุมสารเคมี รวมทั้งมีการบันทึกชนิดและปริมาณสารเคมีในสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ ไม่มีการจัดทำบัญชี หรือบัญชีคุมสารเคมี จำนวน 227 คน (ร้อยละ 75.7) มีการจัดทำบัญชีหรือบัญชีคุมสารเคมี จำนวน 73 คน (ร้อยละ 24.3) สถานที่เก็บสารเคมีมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวัง มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ไม่มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวังจำนวน 277 คน (ร้อยละ 75.7) มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวัง ผู้ตอบข้อคำถาม จำนวน 73 คน (ร้อยละ 24.3) ผลการสำรวจอุบัติภัยในรอบ 3 ปีที่ผ่านของสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราไม่มีอุบัติภัย จำนวน 292 คน (ร้อยละ 97.3) มีอุบัติภัย สารเคมีหก/รั่วไหล จำนวน 8 คน (ร้อยละ 2.7) วิธีการในการกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ ใช้น้ำกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน จำนวน 164 คน (ร้อยละ 54.7) ไม่มีการดำเนินการกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหล ตกค้างภายในบ้าน จำนวน 77 คน (ร้อยละ 25.7) ทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ก่อนนำไปทิ้ง จำนวน 32 คน (ร้อยละ 10.7) กำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน โดย วิธีมีกวาดทิ้ง จำนวน 17 คน (ร้อยละ 5.7) ใช้ทรายหรือวัสดุดูดซึมสารที่หกหล่น/รั่วไหลก่อนนำไปทิ้ง จำนวน 10 คน (ร้อยละ 3.3) และวิธีอื่นๆ จำนวน 6 คน (ร้อยละ 9.0) การจัดการภาชนะบรรจุสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้หมดแล้ว มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ มีการจัดการโดยวิธีอื่นๆคือเผา ทิ้งไม่เป็นที่ อื่นๆ จำนวน 83 คน (ร้อยละ 27.7) ฝังกลบบริเวณหน่วยงาน จำนวน 81 คน (ร้อยละ 27.0) ทิ้งรวมกับขยะทั่วไปจำนวน 61 คน (ร้อยละ 20.3) เก็บไว้ในโกดังโดยไม่มีการกำจัด จำนวน 33 คน (ร้อยละ 11.0) นำภาชนะไปบรรจุจำนวน 27 คน (ร้อยละ 9.0) น้อยที่สุดคือ เก็บไว้นอกโกดังโดยไม่มีการกำจัดจำนวน 15คน (ร้อยละ 5.0) การได้รับอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของผู้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพาราไม่เคยเคยได้รับการอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 230 คน (ร้อยละ 76.7) เคยได้รับการอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 70 คน (ร้อยละ 23.3)