ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ

Tuesday, 10 November 2015 03:49 ann
Print

นางนิลปัทม์  พลเยี่ยม และ. นางกรองแก้ว  อัคเนตร

งานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี

ที่มาและความสำคัญ จากการสรุปผลงานของโรงพยาบาลกุมภวาปีพบว่าปี 2553-2554 พบทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองร้อยละ34.5 และ31.4 ตามลำดับ จากสาเหตุปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ  ทำให้ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลสูง  ด้านกระบวนการดูแลรักษา ส่งผลให้ภาระงานการพยาบาลมากขึ้น โรงพยาบาลกุมภวาปี มีระบบการดูแลมาตรฐานทั่วไป แต่ยังไม่มี แนวปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน จึงได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติ ช้ในการดูแลมารดาทารก เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะตัวเหลือง จากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ขึ้นในปี 2555 -2556 จึงได้จัดทำการศึกษานี้ขึ้น เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลทารกแรกเกิดจากการได้รับน้ำนม ไม่เพียงพอที่เข้ารับการรักษาที่ตึกสูตินรีเวชกรรม และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและพยาบาลวิชาชีพ ระเบียบวิจัย ศึกษาในกลุ่มมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดปกติที่ 2-72 ชั่วโมง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 300 คู่ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 โดยกลุ่มตัวอย่าง มีความยินดี และเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบคือ แบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติของพยาบาล แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการใช้แนวปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ผลการศึกษา พยาบาลวิชาชีพการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด สามารถปฏิบัติได้เป็นอย่างดี โดยค่าคะแนนร้อยละ90 ขึ้นไปจำนวน9 คนและ ร้อยละ87.7 จำนวน1 คน ผลลัพธ์การใช้แนวทางปฏิบัติภาวะตัวเหลืองในปี2555-2556 ร้อยละ 11.3 และ11.3 และพบว่าพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติได้น้อย คือการให้สุขศึกษาโดยสื่อวิดิโอ และแฟ้มเรียนรู้ในเวลา 19.00 น. และเวลา 06.00 น. เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีกิจกรรมพยาบาลทับซ้อนกัน เช่น การประเมินสัญญาณชีพ การกระตุ้นการให้นมของมารดา การให้ยา การชั่งน้ำหนัก และการเจาะเลือดทารก เพื่อประเมินตัวเหลืองประจำวัน ทำให้พยาบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ในเวลาที่กำหนด ในด้านความพึงพอใจของมารดาระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 95.3 และระดับดีร้อยละ 4.6 ด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติ มีความพึงพอใจระดับดีมากร้อยละ 90 และระดับดีร้อยละ 10