Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

ปฏิกิริยาหลังรับเลือดของผู้รับบริการในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

วิกานดา  ปะนัดเต และวรรณิศา เพียรพิมาย

โรงพยาบาลเพ็ญ


การรักษาผู้ป่วยโดยการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดนอกจากจะเป็นการรักษาผู้ป่วยแล้วยังอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรับเลือดได้ จากการศึกษาปฏิกิริยาหลังรับเลือดของผู้ป่วยโรงพยาบาลเพ็ญตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 - เดือนมีนาคม 2556 จำนวน 674 units เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกปฏิกิริยาจากการรับเลือดซึ่งตอบกลับจากตึกผู้ป่วยต่างๆ พบว่า ร้อยละ 98.1 ไม่เกิดปฏิกิริยาหลังจากรับเลือด และร้อยละ 1.9 เกิดปฏิกิริยาหลังรับเลือดโดยแบ่งเป็น มีไข้, หนาวสั่น, มีผื่นคันและความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 0.6, 0.4, 0.4 และ 0.1 ตามลำดับ และยังพบว่าหมู่เลือดโอทำให้เกิดปฏิกิริยามากที่สุดรองลงมาคือหมู่บี, หมู่เอบีและหมู่เอ ร้อยละ 46.15, 30.77, 15.38 และ 7.70 ตามลำดับ ส่วนชนิดเลือดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาสูงสุด คือ Pack red cell ร้อยละ 92.31 และ Leukocyte poor pack red cell ร้อยละ 7.69 การศึกษาครั้งนี้ทำให้พบว่าการเกิดปฏิกิริยาหลังรับเลือดที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรงแต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ทำให้การดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเป็นข้อมูลเฝ้าระวังและปรับปรุงแนวทางการให้เลือดให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Last Updated on Wednesday, 21 October 2015 07:53
 

ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2556

E-mail Print PDF

ศิริพร  หอมสวาสดิ์

โรงพยาบาลน้ำโสม

การวิจัยเรื่องความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ  2556 นี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบ พลันของผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน  ผู้ป่วยในชาย และผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลน้ำโสม ทั้งที่มีประวัติและไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ที่ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลอุดรธานีและได้รับการวินิจฉัย STEMI NSTEMI และ Unstable angina และมารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556   จำนวน 32 คน โดยใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดหัวใจตีบ RAMA EGAT HEART Score  (สุกิจ แย้มวงค์และคณะ, 2006) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กรณีมากกว่า 2 กลุ่มใช้สถิติ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเพศชาย อายุ ≥ 60 ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง  เบาหวาน มีรอบเอวเกิน กับระดับคะแนน RAMA EGAT SCORE พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ควรมีการดูแลและออกแบบโปรแกรมให้สุขศึกษาในกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันควรให้ความสำคัญกับ เพศ โดยเฉพาะผู้ป่วยเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี ที่มีรอบแอวเกิน ( ชาย ≥ 90 ซม.หญิง ≥ 90 ซม.) และมีโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้บริการสามารถดูแลและป้องการการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในกลุ่มเสี่ยงสูงมากนี้ได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

 

พฤติกรรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จ.อุดรธานี

E-mail Print PDF

นายกิตติพงษ์ เกษมสุขและคณะ

เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของประชาชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุระหว่าง 15 -60 ปี ทั้งหมด 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยได้ดังนี้ จากสถิติอัตราการป่วยและการตายในจังหวัดอุดรธานีมีสถิติผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค มีอัตราป่วยตาย ด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 ลำดับ จังหวัดอุดรธานี ปี 2551 (ตั้งแต่มกราคม-30 ธันวาคม 2551) พบว่าวัณโรคปอดอยู่ในอันดับ 9 ของทั้ง 10 โรค มีผู้ป่วยจำนวน 475 คน อัตราป่วยต่อแสน ประชากรจำนวน 30.99 และจังหวัดอุดรธานี มีข้อมูลรายงานผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนตั้งแต่ 1 ตุลาคม 255130 กันยายน 2552 มีการค้นพบผู้ป่วยรายใหม่เสมหะพบเชื้อ 925 คน คิดเป็น 61.11 ต่อแสนประชากร เป้าหมายต้องไม่น้อยกว่า 62 ต่อแสนประชากร และมีอัตราผลสำเร็จของการรักษา ร้อยละ 91 (งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี: 2552) จากการศึกษาข้อมูลประชากร ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีประชากรมีทั้งหมด 1,0899 คน ภายในปีงบประมาณ 2551-ปัจจุบัน พบมีผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคทั้งหมด 30 ราย เสียชีวิต 6 ราย นอกจากนี้ยังพบบุคคลใกล้ชิดหรือญาติผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคด้วย (ทะเบียนคุมผู้ป่วยวัณโรค เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ภายในปีงบประ มาณ 2551-ปัจจุบัน) จากการศึกษาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคของประชาชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีเมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของประชาชน พบว่าความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคของประชาชนตำบลจอมศรีส่วนใหญ่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมามีความรู้ปานกลาง ร้อยละ 49 และระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 1 และค่าคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6 สูงสุดอยู่ที่ 10 มีค่าเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 8.6 ซึ่งอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของประชาชนตำบลจอมศรี อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย= 2.42,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51)ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากวัณโรคอยู่ในระดับดี กล่าวคือ ประชาชนสร้างความแข็งแรง และความต้านทานโรคให้แก่ร่างกายอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่และอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ มีการป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นวัณโรค ไม่เข้าไปในที่ที่แออัดมาก ๆ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อวัณโรค การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มเสี่ยง มีการจัดอบรมการป้องกันวัณโรคแก่ประชาชน ต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและหน่วยงานอื่นๆ มีการคัดกรองคนหากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และ มีการรณรงค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ เพื่อกระตุ้นชี้แนะแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการมีส่วนร่วมในชุมชน แผนการที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในหน่วยงาน เผยแพร่ผลการวิจัยให้ประชนชนรับรู้ทั้งตำบล เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา และมีการคัดกรองคนหากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม และมีการรณรงค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ เพื่อกระตุ้นชี้แนะแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการมีส่วนร่วมในชุมชน บทเรียนที่ได้รับ จากศึกษาพบว่าประชาชนในเขตบริการมีความรู้ พฤติกรรมในการป้องกันวัณโณคอยู่ในระดับดี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโดยการสนับสนุนงบประมาณได้รับความร่วมมือจากประชาชน แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายสุขภาพในการศึกษาในครั้งนี้

 

 

 

การลดการ Re – sterile เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปี 2550- ปี 2556

E-mail Print PDF

นางไพรจิตรา  จันทศิลป์,นางกอบเกื้อ พลเจริญ,นางสมจิตร  รินเพ็ง,นายสมชาย  ชมภูธร และนายศุภักษร  สิมสน

โรงพยาบาลเพ็ญ

 

ที่มาและความสำคัญของปัญหา หน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลเพ็ญ เริ่มเป็นศูนย์จ่ายกลาง ตั้งแต่ปี 2548 และได้พัฒนางานให้ได้มาตรฐานการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลมาอย่างต่อเนื่อง  ในปี 2550 หน่วยจ่ายกลางได้ทบทวนการใช้ทรัพยากร  เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วย พบมีการนำอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์มาทำการRe – sterile เป็นจำนวนมากถึง 2,989 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย  64,622.18บาท    ปี 2551 จำนวน Re – sterile 1,347 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 29,122.14บาท   ปี 2552  จำนวน Re– sterile 1,046 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 22,614.52บาทปี 2553  จำนวน Re– sterile 345 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 7,458.90บาทปี 2554  จำนวน Re– sterile 112 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 2,421.44บาทปี 2555  จำนวน Re– sterile 146 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 3,156.52บาท ปี 2556 จำนวน Re– sterile 111 set  รวมเป็นเงินที่สูญเสีย 2,399.82บาท  ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์  สูญเสียเวลาและบุคลากรในการจัดการเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมา Re – sterile   งานหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลเพ็ญ จึงได้สนใจศึกษาการลดการ Re – sterile  ทบทวนและหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการ Re – sterile เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลเพ็ญตั้งแต่ปี 2550- ปี2556 ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาครั้งนี้  ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากบันทึกการส่งเครื่องมือทางการแพทย์ Re – sterile  จากหน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาลของหน่วยจ่ายกลาง  โรงพยาบาลเพ็ญ  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม  2549  ถึง  วันที่  30  กันยายน  2556 ซึ่งมีระเบียบวิธีวิจัย ดังต่อไปนี้ รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research)  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการ Re – sterile เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลเพ็ญตั้งแต่ปี 2550- ปี 2556โดยใช้ข้อมูลจากบันทึกการส่งเครื่องมือทางการแพทย์ Re – sterile  จากหน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาลของหน่วยจ่ายกลาง พื้นที่ดำเนินการศึกษา พื้นที่ดำเนินการวิจัยคือ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลเพ็ญ  ทั้งหมด 12 หน่วยงาน การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive  statistics)  จากข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์  และความถูกต้องแล้ว  นำมาวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ  โดยใช้การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โปรแกรมที่ใช้ประมวลผล  ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษา

 

ปี

จำนวน set/วัน

ราคา / วัน

จำนวน set / ปี

ราคา / ปี

จำนวนsetทั้งหมด/ปี

ร้อยละ

2550

8.18

176.85

2,989

64,622.18

93,856

3.18

2551

3.69

79.78

1,347

29,122.14

102,886

1.31

2552

2.87

62.05

1,046

22,614.52

108,940

0.96

2553

0.95

20.54

345

7,458.90

111,410

0.31

2554

0.31

6.70

112

2,421.44

117,408

0.09

2555

0.40

8.65

146

3,156.52

150,587

0.09

2556

0.30

6.57

111

2,399.82

167,447

0.06

จากตาราง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทบทวนแบบCQI โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

รอบที่ 1 ปี 2550 - 2551 การดำเนินงานปี 2550 - เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมา Re – sterile ทั้งหมดในโรงพยาบาล ปี 2551- แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือสำรวจ ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ในหน่วยงาน เพื่อกำหนดminimum stock - ยืดอายุการใช้งานของชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามความจำเป็นที่ต้องใช้ ห่อผ้าชั้นเดียวมีอายุ 7 วัน ห่อผ้าสองชั้น มีอายุ30 วันและซีลซอง มีอายุ 6 เดือน ผลการดำเนินงานปี 2551  ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาRe – sterile ลดลงจากร้อยละ 3.18 เหลือ 1.31 จำนวนชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลดลง  1,642 set มูลค่าลดลง 35,500.04 บาท   ถึงแม้มีการลดจำนวนการ Re – sterile ลง แต่ก็ยังมี ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์  เป็นจำนวนมากในการนำมา Re – sterile และมีการนำ set ที่หมดอายุในหน่วยงานมา Re – sterileด้วย รอบที่ 2 ปี2552 – 2553 การดำเนินงาน-มีการบันทึกการ Re – sterile ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อมูลกลับไปให้หน่วยงานรับทราบ -รณรงค์จัดมหกรรมคุณภาพ ทั้งงานคุณภาพและงานIC มีการส่งผลงานการลดจำนวนการ Re – sterileหน่วยจ่ายกลาง ,FIFO ตึกผู้ป่วยในชาย เข้าประกวดและได้รับรางวัล -นำเสนอCQI การลดจำนวนการ Re – sterile ในเวทีการReaccredit ครั้งที่ 1 ของสรพ. -นิเทศงานภายในจากทีมIC และการสุ่มสำรวจอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในหน่วยงาน -ใช้หลัก FIFO ในการจัดเก็บอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในหน่วยงาน ผลการดำเนินงานในปี 2552 ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาRe – sterile ลดลงจากร้อยละ 1.31เหลือ0.96 ในปี 2553ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาRe – sterile ลดลงจากร้อยละ 0.96 เหลือ0.31จำนวนชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่นำมาRe – sterile ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลดลง จำนวน701set มูลค่าลดลง 15,155.62 บาท รอบที่ 3 ปี 2554 – 2556 การดำเนินงาน-ยกเลิกชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นต้องมีแต่มีการใช้งานน้อยมากและ Re – sterile บ่อย เช่น set เจาะท้อง เจาะปอด โดยรวมเป็น setพื้นฐาน สามารถใช้ได้กับหัตถการหลายอย่าง โดยการฉีกอุปกรณ์ที่ซีลซองเพิ่ม -ขอความร่วมมือสำรวจminimum stock อีกครั้ง เพื่อขอลดจำนวนลงตามรายการที่นำมา Re – sterile บ่อย เช่นขวดเดรน ให้เหลือไว้น้อยที่สุดถ้าไม่พอให้ยืมกันระหว่างตึก -ขอความร่วมมือแจ้งเบิกอุปกรณ์ตามปริมาณที่ใช้งานจริง เช่นกรณี ทันตกรรมมีcase นัดล่วงหน้าที่ต้องใช้ syring50cc.ให้เบิกและนึ่งให้ในวันที่นัดตามจำนวนที่ต้องใช้ -ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  ในการลดชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาRe – sterile ให้กับหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ใหม่ในการปฏิบัติงาน -มีคำชื่นชมแนบไปกับข้อมูลการ Re – sterile ของหน่วยงานทุกครั้ง ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเพื่อให้หน่วยงานสบายใจว่าการ Re – sterile ไม่ใช่การทำผิด หรือเอาผิดใคร เพียงแต่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันลดงบประมาณรายจ่ายของโรงพยาบาล การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ แบ่งเป็น 3 ด้าน - ผู้ป่วยไม่พบการติดเชื้อจากอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ,ไว้วางใจ,เชื่อมั่นต่อรพ. -บุคลากรลดการทำงานซ้ำซ้อน,ร่วมมือกันทำงานเป็นทีม,สัมพันธภาพที่ดี - การพัฒนางาน พัฒนาระบบการจัดเก็บและใช้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อประหยัดงบประมาณของโรงพยาบาลได้มีการปรับการคิดราคาต้นทุนให้ใกล้เคียงมากที่สุด การนำผลการวิจัยมาใช้ในหน่วยจ่ายกลาง มีการกำหนด minimum stock จำนวนอุปกรณ์ sterile โดยเฉพาะ guazeชนิดต่างๆและสำลี แบ่งทีมออกเป็น 3 ทีม เพื่อพัฒนางานในหน่วยงาน บทเรียนที่ได้รับและปัจจัยแห่งความสำเร็จด้เรียนรู้การทำงานติดตามผลรวบรวมข้อมูล   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมช่วยให้การทำงานง่าย   ลดระยะเวลาในการทำงานมากขึ้นอีกทั้งยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์   และลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลลงได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณ คปสอ.เพ็ญ

 

พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน ตำบลเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางสาวสุจิตรา บริบาล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน  ตำบลเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน อันเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ของโลก นำมาซึ่งการพัฒนาในรูปแบบของทุนนิยม ที่มุ่งเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งสำคัญของการพัฒนาทุกด้าน จึงก่อให้เกิดการแข่งขันที่มุ่งแสวงหาประโยชน์และผลกำไร และนำมาซึ่งการดำรงชีวิตในรูปแบบบริโภคนิยม ฟุ้งเฟ้อ เลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติ และมีพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม ขาดการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ตามมา ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่นำไปสู่การป่วย พิการ และตายก่อนวัยอันควรจำนวนมาก ตลอดจนส่งผลกระทบต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2550 ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า หัวใจ อัมพาต และเบาหวาน เป็นก่อให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ.2549 มีการประมาณการสูญเสียรายได้จากผลผลิตประชาชาติ (GDP) ของประเทศไทย ประมาณ 4,200 ล้านบาท และหากปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม จากผลรายงานประจำปี การเฝ้าระวังโรคจากพฤติกรรมเสี่ยงของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ.2547 มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราความชุกในเพศชาย ร้อยละ 6.4 เพศหญิง ร้อยละ 7.3 และอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 1,415.5 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2541 เป็น 1,511.2 และ 2,131.4 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2547 ตามลำดับ ส่วนอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานของประชากรไทยระหว่างปี พ.ศ.2540 – 2547 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่ามีอัตราตายเท่ากับ 7.5 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.2540 และเพิ่มขึ้นเป็น 13.2 และ 12.3 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2547 ตามลำดับ สำหรับโรคความดันโลหิตสูง พบว่าในปี 2546 - 2547 ประชากรเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 22.1 โดยร้อยละ 71.4 ไม่เคยรับการตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาและไม่ได้รับข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2549) จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี พบว่า สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ได้แก่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีอัตราป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จาก 1,856.6 ในปี 2550 เป็น 1,877.7 ในปี 2551 ในปี 2552 เป็น 2,483.0 ต่อแสนประชากรอัตราป่วย ด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จาก 790 ในปี 2550 เป็น 851.3 ในปี 2551 และ 880.75 ต่อแสนประชากร และจากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน ในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 4,116 รายตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.50 ต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ได้เล็งความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหากประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสมและทันเวลา ปัญหา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะมีโอกาสพัฒนาไปเป็นผู้ป่วย และนำมาสู่สาเหตุของการ ป่วย พิการ หรือเสียชีวิต ซึ่งจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่นำมาซึ่งปัญหาต่างๆต่อไปในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อต้องการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยน ทัศนคติและ ความเชื่อ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอและยาวนานได้ ซึ่งนักพฤติกรรมศาสตร์ พบว่า ความรู้และทัศนคตินั้นไม่เพียง พอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่น่าพึงปรารถนา และการละเว้นพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของคนไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมอนามัย พฤติกรรมป้องกันโรค หรืออื่น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้รับการพัฒนาส่วนใหญ่ยังขาดจิตลักษณะหรือปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆที่มีผลต่อการโน้มน้าวให้บุคคลเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน (ดวงเดือน พันธุมนาวิน , 2539 : 55) ดังนั้นการส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมเพื่อลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงพฤติกรรม และปัจจัยที่มีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างแท้จริง เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถเพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดโอกาสการเกิดจากเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต จากบริบทดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน จึงพิจารณาจึงการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ภายหลังที่ได้ผ่านขั้นตอนของการคัดกรองโรคและได้รับการประเมินว่า มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนการดำเนินงานสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนสุขภาพในรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นำไปสู่การลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ขอบเขตการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดัน โลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาดังนี้ 1. ขอบเขตด้านเนื้อหาจะศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และการปฏิบัติตัวและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ด้านการรับความรู้ด้านสุขภาพ ศึกษาเฉพาะแหล่งข่าวสารด้านสาธารณสุข เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เอกสาร /แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัคร สาธารณสุข  ด้านการรับบริการสาธารณสุข ศึกษาถึงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดการเจ็บป่วย  2. ขอบเขตด้านประชากรศึกษา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วน ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 3. ขอบเขตด้านเวลา ช่วงระยะเวลาที่ศึกษา คือ เดือน พฤษภาคม 2556 - มิถุนายน 2556 สรุปผลการศึกษา ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมาก เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 67.9 มี ปี เมื่อจำแนก เป็นกลุ่มอายุ พบว่ามากกว่าครึ่ง อายุ 35-48 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 93.03 ส่วนใหญ่มีการศึกษากระดับมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 40.3 และร้อยละ 67.72 มีอาชีพ ทำไร่ ทำนา ทำสวน โดยส่วนใหญ่มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 55.69 ร้อยละ 74.8 ไม่แน่ใจโรคประจำตัว ตอนที่ 2 ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน อยู่ในระดับ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมามีความรู้ระดับสูต่ำ ร้อยละ 41.1 และ มีความรู้ระดับต่ำร้อยละ 8.9 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเท่ากับ 14.73 คะแนน โดยข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบผิดได้แก่ การตรวจค่าน้ำตาลค่าน้ำตาลในเลือดทำได้โดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วและหลอดเลือดดำที่แขน ตอนที่ 3 ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพการส่งเสริม และป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานพฤติกรรมสุขภาพการส่งเสริม และป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ผลการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.43 และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปฏิบัติในระดับดี ได้แก่ การใช้เวลาว่างในการปลูกต้นไม้ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง การไปปฏิบัติ ศาสนกิจ อย่างไรก็ตาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างศึกษายังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับไม่ดี ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ การนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน 1.ทราบถึงระดับความรู้และพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.หน่วยงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปวางแผนในการ ปรับรูปแบบและวิธีส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ยึดหลักตาม 3 อ. 2 ส. และเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 2. ทราบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรค ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 3. ทราบแนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางในการส่งเสริมและ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน ที่เหมาะสม 4. เพื่อนำข้อมูลที่ได้ประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

 


Page 11 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday4
mod_vvisit_counterYesterday27
mod_vvisit_counterThis week4
mod_vvisit_counterLast week72
mod_vvisit_counterThis month492
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249243

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.141.10.116
Mozilla 5.0, 
Today: May 19, 2024

Polls

Who's Online

We have 1 guest online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular