Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาคลอดที่ตัดแผลฝีเย็บ ในโรงพยาบาลหนองวัวซอ ปี 2552

E-mail Print PDF

นัยนันทน์ ยิ่งยอด. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาคลอดที่ตัดแผลฝีเย็บ ในโรงพยาบาลหนองวัวซอ ปี 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาที่ตัดฝีเย็บและปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาที่ตัดแผลฝีเย็บ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาคลอดที่มีแผลฝีเย็บที่มารับบริการคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลหนองวัวซอ โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวนมารดาที่ไม่ติดเชื้อ 87 คน และมารดาคลอดที่มีแผลฝีเย็บติดเชื้อจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองหลังคลอด ข้อมูลด้านภาวะแทรกซ้อนในการการและการวินิจฉัยการติดเชื้อ แบบบันทึกได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบราค มีค่าเท่ากับ 0.73 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนมารดาหลังคลอดที่ทำ Pretest Post test ก่อนกลับบ้าน ระหว่างวันที่ 1ตุลาคม 2549 ถึง 1 มีนาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ไคสแควร์ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

อัตราการติดเชื้อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาที่ตัดฝีเย็บ ร้อยละ 2.91 และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บในมารดาที่ตัดฝีเย็บ พบว่า การศึกษา ความรู้ และภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมารดาคลอดที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจะมีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ ร้อยละ 39.1 มารดาที่มีระดับความรู้ต่ำจะมีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บมากกว่ามารดาที่มีระดับความรู้สูง คือ ร้อยละ 84.4 และมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน    หลังคลอดจะมีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บสูงถึงร้อยละ 100

จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมการสอนสุขศึกษาในโรงเรียน พ่อแม่ โดยเฉพาะกลุ่มมารดาคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็น 2 ครั้ง  เพื่อให้ญาติมีส่วนร่วมในการร่วมฟังสุขศึกษาทุกครั้ง เพื่อให้มารดา และ ญาติ ได้รับทราบวิธีปฏิบัติตัวหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

 

โรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

ยุพาพร หัตถโชติ. 2553. โรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม การตรวจ รักษา ภาวะแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย และวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ที่มานอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2551 โดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 130 ราย แฟ้มเวชระเบียน แบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยโดยการทบทวนเวชระเบียนประวัติผู้ป่วยตามแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 48.2 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 65.3 สถานะภาพสมรสหม้าย อย่า แยก ร้อยละ 43.7 การศึกษาระดับประถม           ร้อยละ 86.3 ส่วนมากไม่มีอาชีพ มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 74.1 โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด ร้อยละ 35.0 รองลงมาคือ       ความดันโลหิตสูงพบร้อยละ 33.0 อาการแรกรับที่พบมากที่สุดคือ อาการแขนขาอ่อนแรงพบได้ ร้อยละ 93.0 ระยะเวลาที่ตั้งแต่เกิดอาการจนมาถึงโรงพยาบาลที่พบมากที่สุด คือ 1- 3 วัน ร้อยละ 58.3 ได้รับการทำการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทุกรายและผลผิดปกติ ร้อยละ 83.3 เป็นเส้นเลือดสมองตีบตัน ร้อยละ 73.3 ความความสามารถในการทำกิจกรรมในวันแรกพบว่าส่วนมากจะอยู่ในระดับพึ่งพาปานกลาง ร้อยละ 43.8 ภาวะแทรกซ้อนที่พบมาก คือเกิดปอดอักเสบพบร้อยละ 6.9 ลักษณะการจำหน่ายแบบมีอาการ  ดีขึ้นมากที่สุดร้อยละ 88.5 มีวันนอนในช่วง 3-7 วัน เป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 ค่าใช่จ่ายต่อรายประมาณ 6,000 – 9,999 บาท

จากการค้นพบดังกล่าว ควรมีควรจัดให้มีหน่วยงานที่รับรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ (Stroke Unit) จัดระบบการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ และ      มี case manager เพื่อให้ใช้ความเชี่ยวชาญ มีการดูแลที่ต่อเนื่อง และมีการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพมาก และลดการกลับมารักษาซ้ำ

 

ภาวะสับสนฉับพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสับสนฉับพลันในผู้สูงอายุ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552

E-mail Print PDF

พวงพยอม จุลพันธุ์. 2552. ภาวะสับสนฉับพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสับสนฉับพลันในผู้สูงอายุ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก              โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะภาวะสับสนฉับพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสับสนฉับพลันในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลอุดรธานี โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการทำหน้าที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับปัญญา (TMMSE) แบบประเมินภาวะสับสนฉับพลัน (CAM) แบบสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติ          การเจ็บป่วย แบบบันทึกการรักษา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของครอนบราค (cronbach’ alpha coefificient) เท่ากับ 0.61 0.52 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน พฤษภาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะสับสนฉับพลัน มีลักษณะการเกิดภาวะสับสนฉับพลันในหัวข้อ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเฉียบพลันและมีอาการขึ้นๆลงๆ ความตั้งใจลดลง ความคิดสับสนไม่เป็นระบบ ร้อยละ 100 100 100 ตามลำดับ ส่วนลักษณะ การเกิดภาวะสับสนฉับพลันในหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ร้อยละ 62.5 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนฉับพลันขณะนอนอยู่โรงพยาบาล ร้อยละ 33.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสับสนฉับพลัน คือ ความสามารถในการทำกิจกรรม (ADL) ภาวะติดเชื้อ ภาวะโซเดียมต่ำ ภาวะโปรตัสเซี่ยมต่ำ ภาวะทุพโภชนาการ Anesthetic technique ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสับสนฉับพลัน

จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสับสนฉับพลันตั้งแต่แรกเริ่ม การค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่เร็วจะทำให้สามารถวางแผนแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ถ้าค้นหาและกำจัดสาเหตุได้อาการมักจะหายเร็ว ส่งเสริมให้นำเครื่องมือประเมินและคัดกรองปัจจัยเสี่ยง แบบประเมินการทำหน้าที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับปัญญา และแบบประเมินภาวะสับสนฉับพลัน มาประยุกต์ใช้ในงานประจำ รวมทั้งมีการพัฒนาแนวปฏิบัติในการประเมินปัจจัยเสี่ยงและการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสับสนฉับพลันและเน้นให้บุคลากรทางด้านสุขภาพ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของภาวะสับสนฉับพลันที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่อยู่รักษาในโรงพยาบาล

 

อุบัติการณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ และพิมลรัตน์ พิมพ์ดี. 2553. อุบัติการณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Acute Confusional States or Delirium) เป็นอุบัติการณ์ที่พบบ่อยตั้งแต่ร้อยละ11 ถึง 87 ในผู้ป่วยวิกฤต ส่งผลกระทบต่อ              การฟื้นหาย การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนรักษา และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต อายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤตทุกราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต อายุรกรรม ระหว่างเดือน มีนาคม 2552 ถึง พฤษภาคม 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย 2) แบบประเมินระดับความรู้สึกตัว (Richmond Agitation and Sedation Scale, RASS) และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยภาวะวิกฤติ (Confusion assessment Method for the Intensive Care Unit, CAM-ICU) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ไคสแควร์

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยวิกฤตที่ศึกษาจำนวน 44 ราย เกิดภาวะสับสน ร้อยละ 31.8 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ 0.05 คือ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา จำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประวัติการได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ประวัติชักมาก่อน ภาวะไตวาย ภาวะซีด ภาวะพร่องออกซิเจน และการได้รับการรักษาด้วยยาหอบหืด และผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน คือ ประเภทการจำหน่ายและจำนวนนอน   โรงพยาบาลเฉลี่ย

ข้อเสนอแนะ : ข้อมูลที่ได้ใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง และจัดการกับการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน และมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยต่อไป

 

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ CD4 ในผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

ชบาไพร คานทอง. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ CD4 ในผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อระดับ CD4 ในผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ CD4 ในผู้ป่วยเอดส์ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาและเปรียบเทียบตามปัจจัยต่างๆ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเอดส์ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสที่โรงพยาบาลกุดจับ นาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดสวนปรุง และแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ข้อมูลทั่วไปผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ในระหว่างวันที่ 1 ถึง 21 สิงหาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ t-test และ F-test

จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่า CD4 หลังการรักษาสูงกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ย CD4 ก่อนการรักษา เท่ากับ 74.86 และหลังการรักษา เท่ากับ 321.77

เมื่อเปรียบเทียบค่า CD4 หลังการรักษา จำแนกตามปัจจัยต่าง ๆ ผลการวิจัย พบว่า ค่า CD4 หลังการรักษามีความแตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างที่รักษาด้วยชนิดของยาต้านไวรัสและระยะเวลาการรักษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการเจ็บป่วย โรคติดเชื้อฉวยโอกาส การเปิดเผยผลเลือดกับคู่ครอง/ครอบครัว พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ความสม่ำเสมอในการกินยา ความเครียด และภาวะซึมเศร้ามีความแตกต่างของค่า CD4 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

จาการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า นอกจากชนิดของยาต้านไวรัส และระยะเวลาที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสมีผลต่อค่า CD4 ที่แตกต่างกันแล้ว ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส ควรให้ความสำคัญในเรื่องความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัส การรักษาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และการให้การปรึกษาเพื่อลดความเครียด เพื่อให้ประสิทธิภาพของการรักษามากขึ้นต่อไป

 


Page 21 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday23
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week68
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month484
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249235

We have: 2 guests online
Your IP: : 18.218.143.170
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024

Polls

Who's Online

We have 2 guests online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular