Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

อรุณี พันธุ์โอภาส และจิราวรรณ ลีลาพัฒนาพาณิชย์.  2553. พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกและพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุดรธานี                กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการศึกษาทีคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลอุดรธานี ที่มารับบริการในเดือนมิถุนายน 2553 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบแทนที่ จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย

กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับมาก ร้อยละ 59.10 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 39.6 แต่เมื่อพิจารณารายข้อของการปฏิบัติการออกกำลังกายพบว่า กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติไม่ถูกต้องในข้อหยุดการออกกำลังกายเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเล็กน้อย มากถึงร้อยละ 65.80         ไม่พกลูกอมหรืออาหารอื่นๆ ไว้แก้ไขสถานการณ์ กรณีเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำฉุกเฉินมากถึงร้อยละ 63.10 มีการออกกำลังกายหนักเพียงลำพัง มากถึงร้อยละ 60.90 ถ้าออกกำลังกายตอนเย็นไม่รับประทานอาหารว่างก่อนนอน มากถึงร้อยละ 60 เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการออกกำลังกายร้อยละ 11.60 ได้แก่ การบาดเจ็บเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ กระดูก แผลที่เท้า และระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

สมุย แสงชมพู, ภัทรพล ลามา และธีระศักดิ์ บรรจมาตย์. 2554. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ พฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในเขตตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 255431 พฤษภาคม 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนในตำบลกลางใหญ่ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 -60 ปี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนมีความรู้มากใน เรื่องผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกบางรายมีความรุนแรง ทำให้ถึงตายได้ ร้อยละ 94.40 รองลงมา คือ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่ได้ระบาดมากที่สุดในฤดูหนาว ร้อยละ 93.07 ความรู้ของประชาชนที่มีค่อนข้างน้อยคือ ถ้าไม่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกระบาดในหมู่บ้านได้ ร้อยละ 68.27 และการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่/อสม. คิดเป็นร้อยละ 64.40 ประชาชนมีความรู้น้อยเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยุงลาย โดยใช้สารเคมีเป็นวิธีที่ดีที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.07 พฤติกรรมของประชาชนที่มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การให้ความร่วมมือในการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 90.13 รองลงมา รองลงมา คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เมื่อเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 60.80 พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติบางครั้งมากที่สุด คือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน ในโอ่งน้ำดื่ม/น้ำใช้ที่ฝาปิดไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 62.40 ส่วนพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างไม่เคยปฏิบัติมากที่สุด คือ การปิดฝาโอ่งน้ำดื่ม/น้ำใช้ ตลอดเวลา คิดเป็นร้อยละ 22.40

จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความรู้เรื่อง ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก มีความเข้าใจว่าการใช้สารเคมียังมีความจำเป็นมากในการกำจัดยุงลาย ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในหมู่บ้าน อันจะส่งผลให้มีการใช้งบประมาณในส่วนนี้มากในพื้นที่ ยังขาดความตระหนักถึงบทหน้าที่ของตนเองในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ในบ้านเรือนตนเอง ส่งผลให้เกิดภาระหนักกับอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้การดำเนินงานไม่ครอบคลุมและต่อเนื่อง ง่ายต่อการเกิดและแพร่ระบาดของโรค ประชาชนให้ความสำคัญเมื่อมีโรคเกิดขึ้น กว่าการป้องกันการเกิดโรค และประชาชนบางส่วนยังใช้วิธีการควบคุมและป้องกันโรค โดยวิธีกายภาพ แต่ยังขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยุงลายยังเพาะพันธุ์ได้ ส่งผลต่อการเกิดและแพร่ระบาดของโรคได้

 

แรงสนับสนุนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประจำปี 2554

E-mail Print PDF

นิจฉรา อุสวงษ์ และสุพจน์ โคคา. 2554. แรงสนับสนุนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ตำบลหายโศก อำเภอ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประจำปี 2554

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ(Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน/ครอบครัว ความเพียงพอต่อรายจ่าย จำนวนสมาชิกในครอบครัว การได้รับการดูแลเมื่อมีอาการเจ็บป่วย สถานที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นประจำ การได้รับความรู้และแหล่งที่ได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) ศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำแนกรายด้าน คือ ด้านการสนับสนุนด้านอารมณ์ ด้านการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้านการช่วยเหลือด้านสิ่งของการเงิน แรงงานและบริการสุขภาพ ด้านการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร 3) ศึกษาทัศนคติของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย 4) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่รับยากับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ตำบลหายโศก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2554 จำนวน 288 คน (เก็บแบบสอบถามได้จำนวน 215 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามโครงสร้างของเนื้อหาและประเด็นที่ต้องการศึกษาเครื่องมีที่ใช้วัดแรงสนับสนุนทางสังคมตามแนวคิดของ คอบบ์ (Cobe, 1976) ร่วมกับเชฟเฟอร์ คอยน์ และลาซาลัส (Schacfer, Coyne and Lazarus1981) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ในการวิเคราะห์และนำมาแปรผลข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 163 คน (ร้อยละ 75.8) อายุระหว่าง 41-60 ปี 106 คน (ร้อยละ 49.3 ) สถานภาพสมรส 146 คน (ร้อยละ 67.9) ระดับการศึกษา ในระดับประถมศึกษา 206 คน (ร้อยละ 95.8) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 192 คน (ร้อยละ 89.3) มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน 22 คน (ร้อยละ 45.8) มีรายได้เพียงพอต่อความต้องการ 171 คน (ร้อยละ 79.5) จำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-5 คน (ร้อยละ 71.6) ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย 214 คน (ร้อยละ 99.5)และไม่ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย 1 คน (ร้อยละ 0.5) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มารับบริการเมื่อเจ็บป่วยที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย 213 คน (ร้อยละ 99.1) ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในเรื่องการออกกำลังกาย 87 คน (ร้อยละ 40.5) การรับประทานยา 86 คน (ร้อยละ 40.0) แหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่ได้รับจาก บุคลากรทางสุขภาพ 104 คน (ร้อยละ 48.4)

การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (ด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า,ด้านการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้านการมีส่วนร่วม,ด้านการช่วยเหลือสิ่งของการเงิน,และด้านข้อมูลข่าวสาร) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.10) ทัศนคติของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ตำบลหายโศก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมในระดับมาก (4.35) และพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการปฏิบัติตัวในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยาของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติเหมาะสมปานกลาง (2.47)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุของสถานีอนามัยโนนสว่างตำบลจำปาโมงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

ปราณิศา ศรีวิชัย. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุของสถานีอนามัยโนนสว่างตำบลจำปาโมงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุของสถานีอนามัย โนนสว่างตำบลโนนสว่าง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 172 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2554 แล้วข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.88 อายุระหว่าง 60-64 ปี ร้อยละ 34.88 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 55.25 จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 74.41 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 66.86 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 500 บาท ร้อยละ 87.20 แหล่งที่มาของรายได้ได้จากเบี้ยชราภาพ ร้อยละ61.07

ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่ดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 77.90 ไม่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 81.39 ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 86.04 ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง ร้อยละ 88.37 ได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ทุกปี ร้อยละ 95.35 ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุจากการจราจร ร้อยละ 98.26 ไม่มีความเครียด วิตกกังวลและทุกข์ใจ ร้อยละ 84.88 การผ่อนคลายความเครียดได้ด้วยตนเองทุกครั้งร้อยละ 59.88 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 93.03 ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ ร้อยละ 84.88 มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ในครอบครัว ร้อยละ 84.88 และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาในชุมชนร้อยละ 94.76

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ร้อยละ 95.93 การออกกำลังกาย 1-3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 97.67 เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 88.38 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากกับเจ้าหน้าที่ทุกปี ร้อยละ 74.48 ถอนฟันแล้วไม่อยากใส่ฟันเทียม ร้อยละ 90.12 และไปรับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุในสถานบริการของรัฐ ร้อยละ 57.55

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ๑) ควรมีการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ในด้านการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องให้มากขึ้น เช่น การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง และมีการสูบบุหรี่ ๒) ควรมีการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชนเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที (3 วัน/สัปดาห์) โดยเน้นวิธีการที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ ๓) ควรมีการประสานงานกับองค์กรต่างๆในชุมชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆทั้งทางด้านนันทนาการ และช่วยเหลือด้านปัจจัยที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ตามสภาวะร่างกาย ช่วยให้ผู้สูงอายุมีงานอดิเรกทำ จะได้ผ่อนคลาย ไม่เหงา หรือเครียด วิตกกังวล อันเป็นสาเหตุปัญหาสุขภาพจิตต่อไป ช่วยให้ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ๔) ควรมีการติดตามเยี่ยม การส่งเสริมพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งการประเมินและการตรวจร่างกายเป็นประจำและต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 12 เดือน

 

การรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอบ้านดุง

E-mail Print PDF

เพลินจิต คันถรจนาจารย์ และคณะ. 2554. การรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และ          หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชากรคือครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 31,812 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกการรับรู้รายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถ ของตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และด้านการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก และการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการรับรู้มีความสัมพันธ์ไม่มากนักกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนั้นหากจะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จในการป้องกันโรคแล้วไม่ใช่เพียงแต่ให้มีการรับรู้ที่ดีอย่างเดียวควรมีการใช้มาตรการอื่น ๆ ที่เหมาะสมด้วย

* เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

 


Page 25 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday19
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week64
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month480
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249231

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.191.223.123
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024

Polls

Who's Online

We have 1 guest online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular