Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

บุญหวาย ประทุมรัตน์. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytical research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 108 คน ที่ได้จากการสุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามที่นักวิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายคุณลักษณะทางประชากร ความรู้ การรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple linear regression ในการหาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 25.34 ± 6.76 ปี ร้อยละ 61.10 เป็นเกษตรกร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 38.90 มีค่ามัธยฐานรายได้ต่อเดือน 10,000 บาท มาฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ เฉลี่ย 10.03 ± 4.59 สัปดาห์ ครึ่งหนึ่งเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ค่ามัธยฐานจำนวนครั้งที่มาฝากครรภ์ 5 ครั้ง ร้อยละ 53.30 มีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.48 มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.70 มีความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีการรับรู้รายด้านเกือบทุกด้านอยู่ในระดับสูงได้แก่ ร้อยละ 51.85 มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของ การเกิดโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.63 มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.67 มีการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง แต่ร้อยละ74.07 มีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนในป้องกันโรคอยู่ในระดับต่ำ และร้อยละ55.56 มีการได้รับข้อมูลข่าวสารโรคขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (mean diff = -1.08 ; 95% CI: -2.12 to -0.49 ; p-value = 0.040) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (mean diff = 0.28 ; 95% CI: 0.07 to 0.49 ; p-value = 0.007) และการได้รับข้อมูลข่าวสารโรคขาดสารไอโอดีน (mean diff = 0.21 ; 95% CI: 0.01 to 0.28 ; p-value = 0.025)

 

ความสุข ความต้องการและความคาดหวังของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลน้ำโสม ปี 2554

E-mail Print PDF

โรงพยาบาลน้ำโสม. 2554. ความสุข ความต้องการและความคาดหวังของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลน้ำโสม ปี 2554

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง (Self administered questionnaire) ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และคำถามเกี่ยวกับความสุข ความต้องการและความคาดหวังของบุคลากร ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า จำนวนบุคลากรโรงพยาบาลน้ำโสม ที่ปฏิบัติงานจริงทั้งสิ้น 142 คน (ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 110 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 74.80) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ ร้อยละ 40 รองลงมาเป็นกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ร้อยละ 32.7 กลุ่มลูกจ้างประจำ ร้อยละ 13.6 ความสุขอยู่ในเกณฑ์ มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 55.5 มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 26.4 และมีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 18.1 ความต้องการและความคาดหวังในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางมีคะแนนเฉลี่ย 3.2+0.36 พบว่า ด้านการบริหารจัดการมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด

สรุป บุคลากรในโรงพยาบาลน้ำโสมมีระดับความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับและมากกว่าคนทั่วไป ส่วนความต้องการและความคาดหวังของบุคลากรโรงพยาบาลน้ำโสมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการหาแนวทางให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรและเสริมสร้างสัมพันธภาพบุคลากรทุกระดับเสริมแรงด้านการร่วมแรงร่วมใจ รวมทั้งหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและปรับปรุงสวัสดิการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของบุคลากรต่อไป

 

พฤติกรรมการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

ผการัตน์ เชี่ยวชาญวัฒนา. 2554. พฤติกรรมการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรและพฤติกรรมการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย ในโรงพยาบาลน้ำโสม จากการใช้แบบประเมินผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(รง.36DS) ในผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมการทำร้ายตนเอง จำนวน 31 ราย และผู้เสียชีวิตสาเหตุจากการฆ่าตัวตายจากใบมรณบัตร (มบ.1) จำนวน 8 ราย โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง ปี 255-2553

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองที่ไม่เสียชีวิต 1) ลักษณะประชากร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.2  มีอายุช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 35.5 อายุที่น้อยที่สุดคือ14 ปี อายุที่มากที่สุด คือ 34 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 61.3 อาชีพ 3 อันดับแรก คือ เกษตรกรรม ร้อยละ 45.2 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 19.4 รับจ้างใช้แรงงาน ร้อยละ 12.9 2) พฤติกรรมการทำร้ายตนเอง พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นการทำร้ายตนเองครั้งแรก ร้อยละ 83 และมีพฤติกรรมทำร้ายคนอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 3.2 สาเหตุหรือเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้ทำร้ายตนเอง มีสาเหตุจากน้อยใจ คนใกล้ชิดดุด่า ร้อยละ 90.3 ทะเลาะกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 74.2 สาเหตุจากปัญหาความรัก/หึงหวง ร้อยละ 12.9 3) วิธีการทำร้ายตนเอง พบว่า ใช้ยาฆ่าแมลงทำร้ายตนเอง ร้อยละ 29 รองลงมาเป็นการกินยาเกินขนาด ร้อยละ 25.8

การฆ่าตัวตาย 1) ลักษณะประชากร เป็นเพศชายทั้งหมด เป็นช่วงอายุ 30-40 ปี มากที่สุด 4 ราย อายุน้อยที่สุดคือ 25 ปี อายุมากที่สุดคือ 62 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 62.5 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 62.5 รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง /ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 25 2) สาเหตุการฆ่าตัวตาย มีสาเหตุจากความน้อยใจ คนใกล้ชิดและทะเลาะกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 62.5 สาเหตุจากปัญหาความรัก/หึงหวง ร้อยละ 25 และมีปัญหาโรคจิตร่วมด้วย ร้อยละ 12.5 3) วิธีการฆ่าตัวตาย พบว่า ใช้วิธีผูก/แขวนคอตายทั้งหมด

 

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

โรงพยาบาลน้ำโสม. 2554. ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน ของโรงพยาบาลน้ำโสม วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 แสดงผลเป็นค่าความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน 960 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.56 อายุโดยเฉลี่ย 56.29 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.07 ปี) มีประวัติเป็นเบาหวานในครอบครัวร้อยละ 64 ระยะเวลาในการเป็นเบาหวาน 1-5 ปี ร้อยละ 39.58 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ความดันโลหิตปกติควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่ากลุ่มความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 33.95 มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยร้อยละ 38 มีอาการชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ร้อยละ 27.4 มีอาการเลนส์ตาขุ่นมองเห็นไม่ชัด ร้อยละ 13.3 มีแผลที่หายยากบริเวณมือและเท้า และร้อยละ 17.6 บวมบริเวณเท้ามือหรือบวมทั้งตัว

ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ รวมทั้งปรับวิถีชีวิตเพื่อมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานผู้ใหญ่ขณะนอนรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

จิราวรรณ ลีลาพัฒนาพาณิชย์ และอรุณี พันธุ์โอภาส.  2553. ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานผู้ใหญ่ขณะนอนรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานผู้ใหญ่ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอุดรธานี ในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูก เวชกรรมฟื้นฟู สูตินรีเวชกรรม ตาหูคอจมูก สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยจับฉลากแบบแทนที่ จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลด้านผู้ป่วย และข้อมูล ด้านการดูแลรักษา เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในเดือนตุลาคม 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ คือ สถิติการถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กลุ่มตัวอย่าง มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ร้อยละ 6.20 เกิด 1 ครั้ง และมีอุบัติการณ์เกิดสูงสุดมากถึง 5 ครั้ง

2. การไม่ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษา เป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลตาลในเลือดต่ำได้ และทำให้โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดได้มากถึง 2.715 เท่า เมื่อเทียบกับการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษา

 


Page 24 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday19
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week64
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month480
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249231

We have: 1 guests online
Your IP: : 18.191.223.123
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024

Polls

Who's Online

We have 1 guest online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular