Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

การศึกษาปัญหาการใช้ยาวาร์ฟารินคลินิกพิเศษโรคหัวใจโรงพยาบาลอุดรธานี

E-mail Print PDF

 

นันทวัน หวังเกิดเกียรติ และ ศรินธร ขันธหัตถ์. 2553.  การศึกษาปัญหาการใช้ยาวาร์ฟารินคลินิกพิเศษโรคหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาชนิด จำนวน สาเหตุของปัญหา ประเมินความรู้_การใช้ยาหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้การใช้ยากับชนิดปัญหา

วิธีวิจัย : เก็บข้อมูลโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 62 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยรับยาวาร์ฟาริน คลินิกพิเศษหัวใจ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี            มีค่า INR < 1.5 หรือ INR > 3.5, ค่าความผันผวน INR มากกว่า 0.8 ผู้ป่วยรายใหม่, ผู้ป่วย Follow up หลังจาก admit ในโรงพยาบาล และ มีอาการแทรกซ้อนจากยา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้การใช้ยาวาร์ฟาริน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเภสัชกรเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้ป่วยด้วยตนเอง ระหว่าง 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติวิเคราะห์ chi-square

ผลการวิจัย : ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน ได้แก่ เรื่องการลืมรับประทานยา การรับประทานยาเกินขนาด และต่ำกว่าขนาด การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยา ส่วนสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับยาวาร์ฟาริน ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าใจวิธีการใช้ยาผิด ผู้ป่วยไม่อ่านฉลากยา ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาถูกต้องได้แก่ การรับประทานยาอื่นๆหรืออาหารเสริม การรับรักษาต่อเนื่อง และเวลาในการรับประทานยา และมีความรู้น้อยที่สุดได้แก่ เรื่องเปลี่ยนแปลงที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนการใช้ยา การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีวิตามินเค ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการใช้ยาในระดับสูง แต่ระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

บทสรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการใช้เครื่องมือช่วยให้ความรู้ เช่น วีซีดี สามารถแจกให้ทบทวนความรู้ขณะอยู่บ้าน และในขั้นตอนการจ่ายยาต้องส่งผู้ป่วยเข้าวาร์ฟารินคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาในรายที่มีปัญหาการใช้ยา

 

สภาวะความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขพิบูลย์รักษ์ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

สรารัตน์ แฝงสวรรค์ และคณะ. 2554. สภาวะความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขพิบูลย์รักษ์ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะความเครียด ระดับความเครียดและสาเหตุความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอพิบูลย์รักษ์ จำนวน 130 คน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสาธารณสุขอำเภอพิบูลย์รักษ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.60 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 40.80 สถานภาพสมรส ร้อยละ 64.40 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 40.00 ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ร้อยละ 45.40 รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,00010,000 บาท ร้อยละ 64.60 มีรายได้เฉลี่ย 11,210.85 บาท ความเพียงพอของรายได้ เพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 31.50 อาศัยบ้านพักส่วนตัว ร้อยละ 63.10 และส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการบริการด้านสุขภาพจิต ร้อยละ 94.60 ระดับความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอพิบูลย์รักษ์ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 60.80 สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ได้แก่ การทำงานต้องเร่งรัดงานให้เสร็จตามกำหนด เงินไม่พอใช้ ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว รู้สึกว่าต้องระมัดระวังตัวเมื่อเข้าสังคม มีปัญหาเกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า รถประจำทาง

 

พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นิติยา ถวิลรักษ์. 2554. พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยหัวนาคำ ตำบล        หัวนาคำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 217 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรมแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และ ค่าสูงสุด

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 40.1 จบระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 35.9 สถานภาพสมรส ร้อยละ 76 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 65.9 รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 72.8 จากการศึกษาพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม พบว่าสตรีกลุ่มเสี่ยงมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.8 และมีการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งเต้านม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.9 ด้านการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.2

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ แม้ว่าการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งเต้านมจะอยู่ในระดับดี แต่กลุ่มตัวอย่างยังมีความรู้ และ การปฏิบัติได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยเน้นให้กลุ่มเป้าหมายดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอและสามารถเฝ้าระวังโดยการตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ควรสร้างให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามที่เหมาะสม โดยมีลักษณะของกิจกรรมที่เข้าใจง่ายและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดการควบคุมและป้องกันมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

อมรรัตน์ จันทร์สว่าง. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและการสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 265 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน และทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.96 และแบบสนทนากลุ่ม โดยดำเนินการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างที่มีผลงานเด่นและสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 11 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552 – 31 ธันวาคม 2552 โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมด 265 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.4 อายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 40.7 เฉลี่ย 45.51 ปี (S.D.= 9.54 ) อายุต่ำสุด 24 ปี อายุสูงสุด 69 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 85.6 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 47.9 มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 38.5 รายได้น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 55.1 รายได้เฉลี่ย 6,279 บาท (S.D. = 4,094.93) ระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 78.5 เฉลี่ย 8.04 ปี (S.D.= 5.76) ระยะเวลาที่เคยเข้าร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1-5 ปี ร้อยละ 80 เฉลี่ย 3.87 ปี (S.D.= 2.61) การสนับสนุนจากองค์กร พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขมีการสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.88 (S.D.= 0.40) ส่วนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.17 (S.D.= 0.52) นอกจากนี้การสนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.662, p-value<0.001) สำหรับการสนับสนุนจากองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการและปัจจัยด้านบุคลากร สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ R2= 48.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.54 เรื่องการสนับสนุนจากองค์กร ด้านงบประมาณ

 

พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้ปกครองเด็ก กลุ่มอายุ 0-5 ปี ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

อัญชลี โจมแก้ว. 2554. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้ปกครองเด็ก กลุ่มอายุ 0-5 ปี ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้ปกครองเด็ก กลุ่มอายุ 0 - 5 ปี ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ปกครองเด็ก กลุ่มอายุ 0-5 ปี จำนวน 210 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ65.70 อายุเฉลี่ย 33.94 สภาพสถานสมรส ร้อยละ 95.70 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 56.20 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 48.10 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ระหว่าง 3,001 - 6,000 บาท ร้อยละ 41.90 อายุของบุตร ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 4960 เดือนร้อยละ 22.90 ประวัติบุตรเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 1.00 พฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลบุตรของผู้ปกครอง มีข้อที่ปฏิบัติ 3 ลำดับแรก คือ สวมใส่เสื้อผ้าให้กับบุตร ร้อยละ 98.10 รองลงมา เด็กนอนกลางวันให้นอนในมุ้ง ร้อยละ 97.60 และเททรายอะเบทใส่ในน้ำที่คิดว่ายุงจะมาวางไข่ เช่น ขารองขาตู้ ร้อยละ 97.15 และประเด็นที่ไม่ปฏิบัติ เช่น จุดยากันยุงชนิดแผ่น ร้อยละ 85.71 การปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการนำสมุนไพรมาช่วยไล่ยุง พบว่าผู้ปกครอง นำผลมะกรูดทิ้งลงในอ่างน้ำ ร้อยละ 58.60 รองลงมา นำตะไคร้มาตำทาลงบนผิว 31.90 และนำใบยูคาลิปตัสสด มาขยี้แล้วทาที่ผิวหนัง ร้อยละ 11.40

จากผลการศึกษา ครั้งนี้พบว่า ผู้ปกครองมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นบางครั้ง ไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ และควรเลือกใช้สมุนไพรมาช่วยให้มาก ๆ โดยเฉพาะสมุนไพรที่มาจากท้องถิ่นเอง ควรมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรให้กับผู้ปกครอง

 


Page 23 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday17
mod_vvisit_counterYesterday7
mod_vvisit_counterThis week62
mod_vvisit_counterLast week68
mod_vvisit_counterThis month478
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249229

We have: 2 guests online
Your IP: : 18.188.181.163
Mozilla 5.0, 
Today: May 18, 2024

Polls

Who's Online

We have 2 guests online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular