Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางเยาวรัตน์  จันทร์แดง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดจับ

ที่มา สถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยในปี พ.ศ.2552 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า เด็กทารกประมาณ 760,000 คนทั่วประเทศ(ประมาณ 90% มีภาวะขาดสารไอโอดีน คือมีระดับ TSH มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตรเกินร้อยละ 3 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดไอคิวของเด็กไทยปี พ.ศ.2547 ของโรงพยาบาลรามาธิบดีที่พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับไอคิวอยู่ที่ 88 ซึ่งต่ำกว่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนของจังหวัดอุดรธานีซึ่งวัดผลจากการเจาะส้นเท้า (TSH) พ.ศ.2554-2556 ของทารกอายุ 2 ขึ้นไป มีค่า TSH มากกว่า 11.25 mU/L ร้อยละะ 28.30, 21.6 และ 15.7 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดอำเภอกุดจับในทารกแรกเกิดอายุ 2 วันขึ้นไป ในปี พ.ศ.2554-2556 พบว่ามีค่า TSH พบร้อยละ 22.18, 21.65 และ 18.62 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดในเขตตำบลตำบลเชียงเพ็ง (2554-2556 ) พบร้อยละ 26.55, 22.00 และ19.67 ตามลำดับ ซึ่งในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และ ประชาชนในชุมชน ถือเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมดูแลสุขภาพประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบของตนเอง  เพราะอาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ทั้งบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ บริการด้านป้องกันโรค บริการรักษาพยาบาล และบริการฟื้นฟูสภาพ เป็นบุคลที่มีความเสียสละแรงกายแรงใจ เวลา และทุนทรัพย์ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้ ได้รับค่าค่าตอบแทนเรียกว่าค่าป่วยการ เดือนละ 600  บาท เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกันผลการทำงานในหน้าที่ ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้งานบางอย่างเกิดความล่าช้า จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาถึงบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสุขประจำหมู่บ้านว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยใดบ้าง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อันจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชน และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้ถูกต้อง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross–Sectional Research) เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ปัจจุบัน โดยใช้สูตรในการคำนวณของ Daniel (2010) ในการเลือกตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 197 คน โดยแทนค่าในสูตร Daniel (2010) จากการคำนวณจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง หรือความผิดพลาดจากการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชากรกลุ่มเพิ่มอีก 25 % รวมทั้งสิ้นเป็น 157 คน สถานที่ศึกษา ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาการศึกษา 1 มกราคม 2558- 31 พฤษภาคม 2558 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลและได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้ในการบรรยายลักษณะของข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอในรูปแบบของตาราง 2. ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analysis Statistic) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในชุมชน ความรู้ แรงจูงใจ และบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และค่าไคสแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษา  ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.9 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 52.9 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ร้อยละ 47.1 มีสถานภาพคู่ ร้อยละ 87.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม/แม่บ้านมากที่สุด ร้อยละ 80.9 กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่เกิน 5,000..บาท ร้อยละ 61.8 และระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 61.1 ความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 80.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 11.5 และระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 7.6 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.2 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 23.6 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 8.3 บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.1 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.2 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 5.7 เมื่อพิจารณารายด้านบทบาทในการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ด้านสื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในอยู่ในระดับมาก 66.9 ระดับปานกลางร้อยละ 32.5 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนการส่งเสริมสุขภาพ ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52.9 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 40.8 และระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 6.4 ตามลำดับ ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.9 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 28.0 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 12.1 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า การความรู้เกี่ยวความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.359) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.234) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) สรุปผลการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการบทบาทและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีจำนวน 157 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก ร้อยละ 56.1 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.2 และระดับน้อย ร้อยละ 5.7 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ การความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน


 

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางเยาวรัตน์  จันทร์แดง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดจับ

ที่มา สถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยในปี พ.ศ.2552 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า เด็กทารกประมาณ 760,000 คนทั่วประเทศ(ประมาณ 90% มีภาวะขาดสารไอโอดีน คือมีระดับ TSH มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตรเกินร้อยละ 3 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดไอคิวของเด็กไทยปี พ.ศ.2547 ของโรงพยาบาลรามาธิบดีที่พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับไอคิวอยู่ที่ 88 ซึ่งต่ำกว่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนของจังหวัดอุดรธานีซึ่งวัดผลจากการเจาะส้นเท้า (TSH) พ.ศ.2554-2556 ของทารกอายุ 2 ขึ้นไป มีค่า TSH มากกว่า 11.25 mU/L ร้อยละะ 28.30, 21.6 และ 15.7 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดอำเภอกุดจับในทารกแรกเกิดอายุ 2 วันขึ้นไป ในปี พ.ศ.2554-2556 พบว่ามีค่า TSH พบร้อยละ 22.18, 21.65 และ 18.62 ตามลำดับ และสถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนพบว่าผลของการเจาะส้นเท้าของเด็กแรกเกิดในเขตตำบลตำบลเชียงเพ็ง (2554-2556 ) พบร้อยละ 26.55, 22.00 และ19.67 ตามลำดับ ซึ่งในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และ ประชาชนในชุมชน ถือเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมดูแลสุขภาพประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบของตนเอง  เพราะอาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ทั้งบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ บริการด้านป้องกันโรค บริการรักษาพยาบาล และบริการฟื้นฟูสภาพ เป็นบุคลที่มีความเสียสละแรงกายแรงใจ เวลา และทุนทรัพย์ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้ ได้รับค่าค่าตอบแทนเรียกว่าค่าป่วยการ เดือนละ 600  บาท เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกันผลการทำงานในหน้าที่ ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้งานบางอย่างเกิดความล่าช้า จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาถึงบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสุขประจำหมู่บ้านว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยใดบ้าง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อันจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชน และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้ถูกต้อง ในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross–Sectional Research) เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ปัจจุบัน โดยใช้สูตรในการคำนวณของ Daniel (2010) ในการเลือกตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 197 คน โดยแทนค่าในสูตร Daniel (2010) จากการคำนวณจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง หรือความผิดพลาดจากการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชากรกลุ่มเพิ่มอีก 25 % รวมทั้งสิ้นเป็น 157 คน สถานที่ศึกษา ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาการศึกษา 1 มกราคม 2558- 31 พฤษภาคม 2558 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลและได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้ในการบรรยายลักษณะของข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอในรูปแบบของตาราง 2. ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analysis Statistic) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในชุมชน ความรู้ แรงจูงใจ และบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และค่าไคสแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษา  ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.9 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 52.9 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ร้อยละ 47.1 มีสถานภาพคู่ ร้อยละ 87.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม/แม่บ้านมากที่สุด ร้อยละ 80.9 กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่เกิน 5,000..บาท ร้อยละ 61.8 และระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 61.1 ความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 80.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 11.5 และระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 7.6 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.2 รองลงมาคือระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 23.6 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 8.3 บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ระดับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.1 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.2 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 5.7 เมื่อพิจารณารายด้านบทบาทในการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ด้านสื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในอยู่ในระดับมาก 66.9 ระดับปานกลางร้อยละ 32.5 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนการส่งเสริมสุขภาพ ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52.9 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 40.8 และระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 6.4 ตามลำดับ ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.9 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 28.0 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 12.1 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า การความรู้เกี่ยวความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีนกับกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.359) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนเขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน พบว่า แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน (r=0.234) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน เขตตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) สรุปผลการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการบทบาทและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีจำนวน 157 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 18-31 มีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน ระดับมาก ร้อยละ 56.1 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.2 และระดับน้อย ร้อยละ 5.7 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ การความรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารไอโอดีน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีน


 

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็ก แรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

คณะผู้วิจัย : กาญจนา  ศรีชานิล, สุพจน์  หวังผล, รัชนา  ศิริวารินทร์, กนกพร พุฒนกุล

ที่ปรึกษา : มลทา  ทายิดา

ที่มา เด็กนับเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายกรมอนามัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กไทยเติบโตเต็มศักยภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นตาม พรบ.ส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อเป็นกรอบแนวทางกาพัฒนาเด็กและเยาวชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยมีเป้าหมายหลักให้เด็กและเยาวชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีความแข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสำนึกความเป็นพลเมือง กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขนโยบายสุขภาพเด็กปี 2556 จังหวัดอุดรธานีได้มีนโยบายเสริมสร้างพัฒนาการและการพัฒนาระบบบริการคลีนิคสุขภาพเด็กดีในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเพื่อพัฒนาคุณภาพพ่อแม่ให้มีความพร้อมทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และพัฒนาความรู้ ตลอดจนทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขเพื่อเป็นพี่เลี้ยงแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในการพัฒนาเด็กในชุมชน โดยมีตัวชี้วัดพัฒนาการเด็กสมวัย ร้อยละ 90 โดยการตรวจพัฒนาการทั้งหมดจังหวัดอุดรธานี มีจำนวน 95,105 คน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.37 พัฒนาการเด็กอำเภอทุ่งฝนปี 2555 มีจำนวนทั้งหมด 2134 คน พัฒนาการเด็กสมวัย ร้อยละ 99.86 ปี ในปัจจุบันกรมอนามัยได้พัฒนาแบบประเมินพัฒนาการเบื้องต้นของเด็กปฐมวัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรียกว่า อนามัย 55 โดยพัฒนามาจากอนามัย 49 เพื่อให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน แต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิม คือ ใช้ง่ายและสะดวกและสอดคล้องกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กซึ่งเป็นคู่มือสำหรับพ่อแม่และผู้ดูแล ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน พบปัญหาพัฒนาการเด็กจากการตรวจคัดกรองโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ปีงบประมาณ 2556 ผู้มารับบริการจำนวนทั้งหมด563 คน พบเด็กพัฒนาการผิดปกติจำนวน 3 คน ร้อยละ 0.54 จึงมีการพัฒนารูปแบบในการดูแลเด็กให้เห็นถึงความก้าวหน้าของพัฒนาการโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ซึ่งยังคงวัตถุประสงค์เดิมของการใช้งานคือใช่งาย สะดวก และสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนสามารถให้ข้อมูลกับผู้ดูแลเด็กแต่ละด้านได้ และมองเห็นพัฒนาการของเด็กในรูปแบบของกราฟประเมินพัฒนาการ และตารางการแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็ก ในแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กมีพัฒนาการตามเกณฑ์มากน้อยหรือช้ากว่าเกณฑ์ เครื่องมือนี้ได้พัฒนามาจากแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อนามัย 55 (เฝ้าระวัง) ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะทำงานคลีนิคสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝนได้นำมาทดลองประเมินพัฒนาการในเด็กเขตรับผิดชอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บุคลากรสำรวจปัญหาด้านพัฒนาการของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ให้ครอบคลุมทุกด้าน (4 ด้าน คือ 1.ร่างกาย 2.จิตใจและสติปัญญา 3.อารมณ์ 4.สังคม) ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานระดับปฐมภูมิในการให้บริการส่งเสริม ป้องกัน บำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ทันเวลาและมีความครอบคลุมในเด็กแรกเกิด-5 ปีทุกคน โดยคาดหวังว่าเครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) จะสามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการให้บริการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แรกเกิด-5 ปีได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วัตถุประสงค์ 1.เพื่อค้นหาและเฝ้าระวังปัญหาพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี ด้วยกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) 2.เพื่อใช้ในการติดตามและแก้ไขปัญหาความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 5 ปี ขอบเขตของการศึกษาและพัฒนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) เพื่อใช้เป็นรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี 1.ค้นหาปัญหาพัฒนาการเด็กล่าช้า 2.เฝ้าระวังปัญหาพัฒนาการเด็ก 3.ติดตามปัญหาพัฒนาการเด็กที่ค้นพบ 4.แก้ไขปัญหาให้ทันเหตุการณ์และได้อย่างถูกต้องในแต่ละด้านของเด็กที่มารับบริการคลีนิคสุขภาพเด็กดีในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาในการศึกษา ครั้งนี้ ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2556 วิธีดำเนินการทดลอง ขั้นตอนที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลปัญหาการพัฒนาการเด็กโดยการตรวจคัดกรองโดยใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี ในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีอายุแรกเกิด-5ปี ปีงบประมาณ 2556 ทั้งหมด จำนวน 563 คน พบเด็กพัฒนาการผิดปกติจำนวน 3 คน ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม จำนวน 133 คน พบเด็กที่มีความผิดปกติจำนวน 2 คน ด้านเนื้อหา 1.มุ่งศึกษาการค้นหาปัญหาพัฒนาการเด็กแต่ละด้านเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและการติดตามแก้ไขปัญหาในเด็กได้ถูกต้องโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี 2.มุ่งศึกษาการนำเครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5ปี ไปใช้และพัฒนาการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเกิดการแก้ไขปัญหา ด้านแหล่งข้อมูล 1.เอกสารบันทึกการมารับบริการและจากกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2556 2.สอบถามเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการคลินิคสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ด้านเนื้อหา 1. รายละเอียดพอสังเขปของนวัตกรรม นวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) เป็นแบบประเมินพัฒนาการเด็กสำหรับให้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการคลินิคสุขภาพเด็กดีโดยมีการพัฒนามาจากแบบประเมินพัฒนาการอนามัย 55 มาเป็นในรูปแบบของกราฟที่จะสามารถมองเห็นพัฒนาการของเด็กได้ชัดเจนมากกว่าเดิมและสามารถคืนข้อมูลให้กับผู้รับบริการและกระตุ้นให้ผู้รับบริการเกิดการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานได้อย่างถูกต้องในพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก 2.เอกสารที่สนับสนุนการใช้นวัตกรรมนี้แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อนามัย 55 3.จุดเด่นและข้อจำกัดของนวัตกรรมนี้ จุดเด่น เป็นแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี ในรูปแบบของกราฟที่ช่วยในการประเมินและสามารถมองภาพพัฒนาการได้อย่างชัดเจน ที่มีความสะดวกและสามารถนำไปใช้งานได้อย่าง่าย สะดวก และสอดคล้องกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กซึ่งเป็นคู่มือสำหรับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก ข้อจำกัดของนวัตกรรม 1.ใช้ได้เฉพาะในเด็กอายุแรกเกิด-5 ปี 2.ใช้เฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.กราฟประเมินพัฒนาการมีหลายข้อทำให้ใช้ระยะเวลานาน ด้านข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลแบบประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี และคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และกราฟสถิติเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาเอกสารตำราเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างนวัตกรรม โครงร่างการวิจัยและนวัตกรรม หลักการสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม แบบฟอร์มการเขียนงานวิจัยและนวัตกรรม การเขียนรายงานผลการพัฒนาสื่อนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 กำหนดรายละเอียดนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ให้มีความสอดคล้องกับแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอนามัย 55 และคู่มือบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเพื่อให้มีความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ ในการค้นหาปัญหาเพื่อทำการเฝ้าระวังติดตามและแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมต่อไป ขั้นตอนที่ 4 สร้างต้นแบบของนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ขั้นตอนที่ 5 นำต้นแบบของนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1.นางมลทา ทายิดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 2.นางรัชนา ศิริวารินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3.นางนงลักษณ์ ศรีวิลาศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ขั้นตอนที่ 6 นำนวัตกรรม กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ การทดลองใช้การหาประสิทธิภาพเป็นรายบุคคล ดังนี้ โดยใช้กับเด็กที่มารับบริการในคลินิคสุขภาพเด็กดีในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม จำนวน 133 คน พบเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ซึ่งในการทดลองนวัตกรรมผู้ทดลองได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กและบันทึกพฤติกรรมที่ได้ในกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ทำให้ได้ทราบถึงพัฒนาการผิดปกติแต่ละด้าน และได้คืนข้อมูลให้กับผู้ปกครองเพื่อให้มีการกระตุ้นในด้านที่ผิดปกติให้ถูกวิธี ตัวแปรในการศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป (ชื่อ-สกุล อายุ เพศ กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ก่อนและหลังประเมิน) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์จากการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) และการแก้ไขปัญหาพัฒนาการที่ผิดปกติและการเฝ้าระวังติดตามในพัฒนาการแต่ละด้าน การประเมินผลนวัตกรรม มุ่งเน้นประเด็นต่างๆดังนี้ เช่น เนื้อหามีความเข้าใจง่าย อ่านง่าย สะดวก และมีความชัดเจนและผู้ให้บริการสามารถคืนข้อมูลให้กับผู้มารับบริการในพัฒนาการแต่ละด้านได้ โดยสอบถามจากความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรม ที่มีผลต่อนวัตกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการทดลองนวัตกรรม จากการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ระหว่างเดือน พฤษภาคม -กรกฎาคม พบว่า จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีจำนวน 133 คน พบพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ร้อยละ 1.50 ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจำนวน 2 คน 100% จากการสอบถาม จนท.ผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนมีความพึงพอใจ อ่านแล้วเข้าใจง่ายและใช้ได้สะดวก พบว่า จนท.ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจ จำนวน 4 คน 100% จาการสอบถามผู้มารับบริการ ที่เข้ารับประเมินพัฒนาการโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) จากการสุ่มถามความพึงพอใจ ผู้เข้ารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการจำนวน 30 คน พบว่า มีความพึงพอใจจำนวน 28 คน ร้อยละ 93.33 สรุปผล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี โดยใช้เครื่องมือกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55)ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้น ด้านการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) ระหว่างเดือน พฤษภาคม -กรกฎาคม พบว่า จำนวนเด็กที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีจำนวน 133 คน พบพัฒนาการผิดปกติจำนวน 2 คน ร้อยละ 1.50 ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจำนวน 2 คน 100% ด้านการสอบถาม จนท.ผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนมีความพึงพอใจ อ่านแล้วเข้าใจง่ายและใช้ได้สะดวก พบว่า จนท.ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจ จำนวน 4 คน 100% ด้านการสอบถามผู้มารับบริการ ที่เข้ารับประเมินพัฒนาการโดยการใช้กราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี (กราฟอนามัย 55) จากการสุ่มถามความพึงพอใจ ผู้เข้ารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการจำนวน 30 คน พบว่า มีความพึงพอใจจำนวน 28 คน ร้อยละ 93.33 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผลของศึกษารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการใช้สื่อนวัตกรรมกราฟประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี (กราฟอนามัย 55) ทำให้ค้นพบปัญหาพัฒนาการเด็กแต่ละด้านได้อย่างครอบคลุม 2.ผลของการใช้กราฟประเมินพัฒนาการทำให้มีการเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์ 3.ผลของการใช้กราฟประเมินพัฒนาการทำให้เกิดการติดตามความก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง 4.ได้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 5 ปี และเกิดการนำไปใช้ในงานประจำได้อย่างง่าย สะดวกต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1.หน่วยงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กและพัฒนาการเด็ก มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาการเด็ก 2.ควรมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการ และมีการใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อค้นหาปัญหาหรือสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังติดตามและแก้ไขปัญหา

 

 

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยวิธี “อาสาสมัครน้อยในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นายนรากร  สารีแหล้, นางวันทนา  ไพศาลพันธ์} นางรัชฎาภรณ์  ชุมแวงวาปี  และนางสาวกัญญารัตน์  ครองกลาง

 

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหาน

ที่มาและความสำคัญ ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันเนื่องจากโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกาย คือ สมอง หัวใจไต ตา ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะเกิดความพิการของร่างกายและเสียชีวิตในที่สุด ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2552) องค์การอนามัยโลก รายงานว่าทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากถึงพันล้านคน และประชากรวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็พบ มี 1 คน ใน 3 คน ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้าน จากข้อมูลสถิติสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุความดันโลหิตสูง เป็นจำนวน 3,664 คน สถานการณ์ป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ฐานข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคล หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการและครอบครัว, 2556) ปี 2554,2555 และ 2556 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 60,420, 61,570 และ 64,572 คน ตามลำดับ โดยคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชาการ คือ 4,679.5, 4,833.8 , และ 5,013.7 ต่อแสนประชากรตามลำดับ จังหวัดอุดรธานี จำนวนผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูง กับอัตราป่วย 100,000 คน จำแนกตามจังหวัดในเขตบริการสาธารณสุข ดังนี้ ปี2554,2555 และ 2556 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 15,233 ,16,287 และ 17,632 คน ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร คือ 987.9, 10,53.2 และ 1,135.6 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากข้อมูลเบื้องต้นผู้ป่วยป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,125 หลังคาเรือน ประชาชนที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมดจำนวน 5,466 คน เป็นชุมชนกึ่งชนบทซึ่งกำลังจะกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น เกิดกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม เลียนแบบการบริโภคตามสื่อโทรทัศน์ ในชุมชนมีผู้ป่วยมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในปีงบประมาณ 2554,2555และ2556 จำนวน 46,50 และ 52 คน ตามลำดับ การศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา ด้านการให้บริการในชุมชนมีเฉพาะการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ด้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมรับประทานอาหารรสเค็ม และนิยมใช้ผงชูรสปริมาณมากในการปรุงอาหาร ขาดการออกกำลังกายรับการรักษาไม่ต่อเนื่องและอ้วน ด้านผู้ดูแลและชุมชน พบว่ามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยน้อย เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค ในชุมชนไม่มีกิจกรรมการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าสาเหตุดังกล่าวทำให้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยการช่วยให้ผู้ป่วยมีการจัดการดูแลตนเองที่เหมาะสม การมีระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่แยกออกจากโรคเฉียบพลันอื่น มีทีมในการดูแลที่เป็นสหสาขาวิชาชีพและมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วย จากการสัมภาษณ์พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ในพฤติกรรมการปฏิบัติตัว 3 อ. 2 ส.เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ การงดสูบบุหรี่ และการไม่ดื่มสุรา พบว่าผู้ป่วยส่วนมากทราบวิธีการดูแลตนเอง แต่นำมาสู่การปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม จากการสอบถามผู้ดูแลพบว่าได้ทราบการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว และได้ดูแลในเรื่องของการรับประทานอาหาร ซึ่งส่วนมากผู้ดูแลจะเป็นบุตรที่ช่วยในการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งได้ให้การดูแลแต่ผู้ป่วยไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำที่ ถึงแม้ว่าจะมีการสอนและให้คำแนะนำโดยบุคลากรสาธารณสุขแล้ว แต่เนื่องจากภาษาที่ใช้สื่อสาร และชนิดของอาหารที่พูดถึงประชาชนไม่คุ้นเคย ทำให้ไม่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อยกับการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงป้องกัน ความเสี่ยง ลดเสี่ยง เสริมศักยภาพในการดูแลตนเอง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นประเด็นหลักในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล:การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง, 2553) การศึกษาครั้งนี้มุ่งพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยมีผู้ดูแลที่เป็นหลานในครอบครัวดังกล่าว เป็นผู้ดูแล เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานจนถึงผู้สูงอายุ ที่มีลูกหลานในครอบครัวแล้ว เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้เรียนรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมกับตนเอง และนำไปปฏิบัติด้วยตนเองจนสามารถจัดการตนเองในเรื่องพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ในท้องถิ่น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนการเกิดโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ โดยการใช้กระบวนการในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาผลิตขึ้น ได้แก่ กระบวนการในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อย เพื่อให้อาสาสมัครน้อยมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัวต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา 2. เพื่อพัฒนารูปแบบใหม่ของงานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ที่เหมาะสมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านยาโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรคความดันโลหิตสูง ระหว่าง ก่อนกับ หลัง การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ ระเบียบวิธีวิจัย การพัฒนาคุณภาพงานบริการระดับปฐมภูมิงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง ที่ผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับใช้กระบวนการ Participatory Learning (PL) เข้าด้วยกัน ด้วยการพัฒนารูปแปบใหม่ของงานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ที่นำหลักวิชาการมาประยุกต์อย่างผสมผสานกัน โดยใช้งาน พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557 เปรียบเทียบผลดำเนินงานโรคความดันโลหิตสูง ระหว่าง ก่อนกับ หลัง การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 7-15 ปี ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านยา จำนวน 57 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 7-15 ปี ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีศักดิ์เป็นหลานของผู้ป่วยในเขตพื้นที่ตำบลบ้านยา หมู่ที่ 1 และ 9 จำนวน 17 คน คัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการวิจัยต้องเข้าเกณฑ์ตาม Inclusion criteria จำนวน 9 คน Inclusion criteria ตามคุณสมบัติดังนี้ เป็นหลานของผู้ป่วยที่อาศัยในครอบครัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทั้งที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งที่ดี และไม่ดี และได้รับการรักษาด้วยยา และรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน มีอายุระหว่าง 7-15 ปี อ่านและเขียนหนังสือได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. รูปแบบใหม่ของงานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ด้วยกระบวนการ Participatory Leaning 2. สื่อ Multimedia อีสานสรภัญญะ ที่คณะผู้วิจัยได้แต่งขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา โดย รศ.ดร.เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล โดยใช้ 4 วิธีการหลัก คือ 1) การเสวนากลุ่ม (Group dialogue) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) 2) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) 3) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) 4) การประชุมเชิงระดมสมองเพื่อร่วมเรียนรู้ (Work shop) ขั้นตอนและวิธีการ โดยการใช้รูปแบบ PDCA P = Plan 1.ระยะเตรียมการ 1.1 ศึกษาข้อมูล ค้นหาสาเหตุและสภาพปัญหาของชุมชน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมาร่วมกับ แกนนำเครือข่ายในชุมชน เพื่อหาแนวทางและพัฒนาระบบบริการที่สามารถ ดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม โดยจัดประชุมประชาคมในหมู่บ้านเพื่อสะท้อนถึงปัญหา 1.2 ประชุมทีมดำเนินการ 1.3 กำหนดรูปแบบในการดำเนินงาน 1.4 ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน 1.5 สร้างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อย D=Do 2.ระยะดำเนินการ 2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การบริการสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และปรับมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อย 2.2 การวิเคราะห์สถานการณ์สถานการณ์การบริการสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และปรับมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อย 2.3 ออกแบบพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา 2.4 รูปแบบพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2.5 นำรูปแบบที่ได้จัดบริการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2.6 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM)ของแกนนำและกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายให้เพิ่มมากขึ้น C=Check 1. ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนการที่กำหนด 2. เรียนรู้จากการดำเนินงาน เกิดนวัตกรรมหรือไม่ ผลความพึงพอใจมีมากขนาดไหน A=Action 3. ระยะประเมินผล การประเมินผลการสร้างพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 3.1 กลุ่มเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และมีการจัดบริการเชิงรุกในกลุ่มที่ยังไม่ป่วยอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง 3.2 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา และกลุ่มเสี่ยง มีการเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยอาสาสมัครน้อย มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงลดลง 3.3 ผู้ดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาให้ความสำคัญและเข้าใจแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากขึ้น 3.4 ชุมชนให้ความสำคัญต่อปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและมีกิจกรรมสนับสนุนการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง 3.5 สรุปและประเมินผลโครงการ ด้วยกระบวนการ PDCA การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบใหม่มาดำเนินการ ด้วยค่าสถิติพรรณนาด้วยค่าจำนวน ร้อยละ และค่าสถิติที่ใช้คือ Paired t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%CI ผลการศึกษา จากการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา ที่พัฒนาขึ้นใช้เพียงทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ปฏิบัติงาน คือ กลุ่มแกนนำอาสาสมัครน้อยที่มีศักยภาพในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเป็นต้นแบบในการสร้างอาสาสมัครน้อยรุ่นใหม่ต่อไป เกิดสายใยความรักและความเอื้ออาทรที่ดีในครอบครัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ใช้เจ้าหน้าที่ ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรเดิมที่พัฒนามาจากบริบทและความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตให้เกิดเป็นนวัตกรรมนวัตกรรม สื่อ Multimedia อีสานสรภัญญะ ใช้สถานที่ในรพ.สต.บ้านยาให้คุ้มค่าในการอบรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครน้อย และเครือข่ายที่เข้มแข็ง ; ผลการดำเนินงาน พบว่า อาสาสมัครน้อยมีความรู้ โดยมีความรู้หลังผลการทดลองเพิ่มขึ้นจากเดิมจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 96 มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นโดยการใช้แบบบันทึกและแบบสังเกตระหว่างดำเนินกิจกรรม เช่น สามารถเตือนผู้ป่วยในการรับประทานยา การออกกำลังกาย และสังเกตอาการแทรกซ้อนได้ อาสาสมัครน้อยร้อยละ 91.5 มีความพึงพอใจในที่ถูกพัฒนาศักยภาพในการดูแลคนในครอบครัวได้ เกิดความรักในครอบครัวและสัมพันธภาพมากขึ้น การพัฒนารูปแบบใหม่ของงานพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โดยกระบวนการ Participatory Leaning ใช้การประยุกต์กระบวนการ PDCA แบบบูรณาการโดยใช้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางทำให้ศักยภาพของอาสาสมัครน้อยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นจากเดิม (p<0.05) สรุปและวิจารณ์ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยวิธี อาสาสมัครน้อยในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา ดีกว่าวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแบบเดิม การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ 1. กระบวนการพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้ในการวิจัยนี้ ช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาสาสมัครน้อย และผู้ป่วย และยังเป็นการส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีด้านสุขภาพและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป 2. รพ.สต.บ้านยา ได้จัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครน้อยเพิ่มขึ้นในทุกหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่ายเพิ่มความครอบคลุมของงานบริการสุขภาพในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านโดยให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ (KM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน 3. งานวิจัยนี้ รพ.สต.บ้านยา ได้นำไปเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กับสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ ได้นำเสนอเป็นตัวอย่างของการทำงานประจำสู่การวิจัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถพัฒนางานที่รับผิดชอบได้ โดยใช้เพียงทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นทำวิจัย แผนการที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในหน่วยงาน 1. ควรมีการพัฒนาต่อเนื่องจนเป็น the best practice ระดับประเทศอย่างยั่งยืน 2. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ควรมีการพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครน้อย ขึ้นเป็นเครือข่ายเป็นประจำในทุกปี ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแกนนำอาสาสมัครน้อย ในหมู่บ้านอื่นที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และค้นหาวิธีในการขจัดปัญหาเหล่านั้น ต่อไป 3. ควรดำเนินการพัฒนางานบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ให้ต่อเนื่องและครอบคลุมทุกๆปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จนเป็น รูปแบบตัวอย่างของการพัฒนางานดังกล่าวแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ข้างเคียงและ ควรนำประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างและพัฒนารูปแบบนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานอื่นๆของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยา บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อยในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นการทำงานที่อาศัยความละเอียดอ่อนในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย เพื่อเป็นการทำงานที่ได้คุณภาพ ลดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยและอาสาสมัครน้อย โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ส่งผลให้การดำเนินงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ผู้รับบริการได้รับการบริการอย่างครอบคลุม และศักยภาพเท่ากันทุกคน คือ คุณภาพงานบริการการรักษาดีขึ้น ระยะเวลาการรักษาลดลง ประหยัดแรงงานเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความยั่งยืนของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนจะเกิดขึ้นได้โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การสร้างการรับรู้ให้คนในชุมชนได้เข้าใจและลดอคติต่อผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความเข้าใจ และความสำคัญของเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ต้องร่วมมือ และร่วมใจ และตั้งมั่น โดยแท้จริง การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหาร/หน่วยงาน/องค์กร ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนในการจัดเวทีวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หน่วยงานให้การสนับสนุนบุคลากรให้โอกาสในการพัฒนาและการดำเนินงาน องค์กรภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ

 

การพัฒนาระบบให้การปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางนภาพร  กันธิยะ, นางจตุพร บุญพงษ์ และนางวิชุดา  ชาวสวน                                                                                                       โรงพยาบาลกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี

ที่มา การให้การปรึกษาหญิงตั้งครรภ์เป็นบริการที่หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับเพื่อคัดกรองความเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการสรุปผลงานพบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่รพ.กุมภวาปีได้รับบริการคำแนะนำไม่ครบถ้วนพบสาเหตุหลัก คือขั้นตอนการบริการใช้เวลานานและอัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอในวันให้บริการรายใหม่และวันที่นัดฟังผลเลือด จึงมีการพัฒนาระบบให้การปรึกษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล21แห่ง วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบให้การปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และสามีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของอำเภอกุมภวาปีและอำเภอประจักษ์ศิลปาคม กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีได้รับบริการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วขึ้น ระเบียบวิธีวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลาดำเนินการมกราคม-ตุลาคม 2555ซึ่งประกอบด้วย ระยะแรก เป็นการศึกษาข้อมูลสถานการณ์การให้การปรึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่ในรพ.สต.ที่รับผิดชอบงานฝากครรภ์เป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคน มีจำนวนเพียงพอและผ่านการอบรมให้การปรึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ไม่มั่นใจในการให้การปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ ระยะที่สองเป็นการพัฒนารูปแบบให้การปรึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผนและนำแผนไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลและสะท้อนการปฏิบัติ เพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบให้กรปรึกษา จนกระทั่งได้รูปแบบและคู่มือให้การปรึกษาที่เป็นความต้องการร่วมกันของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและหญิงตั้งครรภ์ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย สูติแพทย์ 2 คน เจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์ รพ.กุมภวาปี 4 คน พยาบาลวิชาชีพในรพ.สต. 21 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยในการฝึกปฏิบัติในห้องประชุมและแผนกฝากครรภ์ หัวข้อที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบคือ การให้การปรึกษาก่อนและหลังตรวจเลือด การจัดทำคู่มือให้การปรึกษา ระบบการส่งผลชันสูตร การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม การตอบแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อเท็จจริงและการประชุมกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติร้อยละ ได้แก่ ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหญิงตั้งครรภ์ ลการศึกษา รูปแบบที่ได้จากการวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนการชี้แจง การให้ความรู้การฝึกปฏิบัติในห้องประชุมและที่แผนกฝากครรภ์ การจัดทำและปรับปรุงคู่มือ การปรับระบบการส่งคืนผลชันสูตร การประเมินการปฏิบัติโดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ การทำงานเป็นทีมของแม่และเด็ก ความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. นโยบายการพัฒนา รพ.สต. อัตรากำลังที่เพียงพอ การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีปัจจัยที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมในการปรับระบบบริการร่วมกันตามสถานการณ์ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์ รพ.กุมภวาปีและเจ้าหน้าที่รพ.สต. ซึ่งเอื้อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และระบบการจัดการที่ดี โดยเจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์เป็นผู้ประสานงาน สนับสนุนด้านวิชาการและสื่อ อุปกรณ์ จัดระบบการส่งต่อข้อมูลที่เอื้อต่อการบริการที่ รพ.สต. การเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ประสิทธิของการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่รพ.สต.มีความพึงพอใจร้อยละ 83 เจ้าหน้าที่รพ.สต.ได้รับการพัฒนาสมรรถนะด้านให้การปรึกษาและสามารถให้บริการหญิงตั้งครรภ์และสามีที่รพ.สต. ได้ร้อยละ 86 และ 91 ตามลำดับ ยกเว้นในรายที่ผลผิดปกติจะนัดฟังผลที่รพ.กุมภวาปี ร้อยละ 11 ประกอบด้วย โลหิตจาง เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์และพบเชื้อเอชไอวี หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้ฟังผล ร้อยละ 2.9 จากการไม่ทราบวันนัด,นัดล่าช้า และ ผลตรวจเลือดสูญหาย หญิงตั้งครรภ์พึงพอใจในภาพรวม ร้อยละ 92 ได้รับบริการที่ใกล้บ้าน สะดวกและรวดเร็วและเข้าใจเรื่องผลการตรวจเลือด และเห็นด้วย ร้อยละ 100 ให้ดำเนินการบริการให้การปรึกษาต่อใน รพ.สต. การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ 1.การปรับระบบการฝากครรภ์รายใหม่ในรพ.สต. ทำให้หญิงตั้งครรภ์และสามีเข้าถึงระบบบริการได้ สะดวกขึ้น และ      ไม่รอนาน 2.มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์และสามีระหว่างโรงพยาบาลกุมภวาปีและรพ.สต.เกี่ยวกับการรับบริการก่อนและหลังให้การปรึกษา และบริการฝากครรภ์ 3.เจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์ได้ปรับระบบการให้คำแนะนำเรื่อง การซักประวัติและการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนบริการ และคำแนะนำรายกลุ่มรายบุคคลได้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ 4.กรมอนามัยและและศูนย์ความร่วมมือไทย- สหรัฐด้านสาธารณสุข ได้นำผลงานไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำคู่มือแนวทางการจัดระบบบริการในโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์และสามี และสรุปผลงานอยู่ในภาคผนวก บทเรียนที่ได้รับและปัจจัยสู่ความสำเร็จ 1.การดำเนินงานให้การปรึกษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบล มีปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ คือ การทำงานเป็นทีมของงานแม่และเด็ก ความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาสมรรถนะในการบริการในรพ.สต. และนโยบายการพัฒนารพ.สต.ให้มีมาตรฐานที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งในด้านอัตรากำลังที่เพียงพอและศักยภาพบริการที่ต้องเพิ่มขึ้น 2.การส่งต่อข้อมูลและการบันทึกผลชันสูตรของหญิงตั้งครรภ์และสามีในสมุดฝากครรภ์ให้ครบถ้วน ถูกต้องจะช่วยให้การสื่อสารและการดูแลระหว่างโรงพยาบาลและรพ.สต.มีความต่อเนื่อง 3.การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจะได้รับความร่วมมือและการประสานงานที่ดีในการปรับระบบงานระหว่างเจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์และเจ้าหน้าที่ในรพ.สต. รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ด้านงานอนามัยแม่และเด็ก ให้สามารถปฏิบัติงานได้  4.การปรับปรุงระบบงานส่งผลดีต่อด้านเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการคือ เจ้าหน้าที่มีความเครียดลดลง สามารถให้บริการได้ตามเป้าหมายและมีเวลามากขึ้น สามารถเพิ่มคุณภาพการบริการ หญิงตั้งครรภ์และสามีได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็วขั้น ลดค่าใช้จ่ายและ ลดระยะเวลาการเดินทางในการมารับบริการ

 

 

 


Page 9 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday19
mod_vvisit_counterYesterday23
mod_vvisit_counterThis week19
mod_vvisit_counterLast week368
mod_vvisit_counterThis month367
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249118

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.133.111.85
Mozilla 5.0, 
Today: May 05, 2024

Polls

Who's Online

We have 1 guest online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular