Research of Udonthani Provincial Health Office.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size

ผลของโปรแกรมคู่หูเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางสาวจิราวดี   ตรีเดช

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม  อำเภอน้ำโสม

ที่มา : จากรายงานการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานจังหวัดอุดรธานี ปี 2555 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มกราคม 2556) พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 49,665 ราย และจากการวัดรอบเอวประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดอุดรธานี พบว่า เพศชายมีรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 5.32 เพศหญิงมีรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 27.01 ซึ่งรอบเอวเป็นตัวบ่งชี้ภาวะอ้วนที่ง่ายและชัดเจนที่สุดส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้อง อีกทั้งสมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน คิดว่าการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นเรื่องของผู้ป่วยต้องดูแลรับผิดชอบตนเอง จึงไม่สนใจหรือให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะจัด โปรแกรมคู่หูเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาผลโปรแกรมคู่หูเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยใช้หลักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 74 คน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 74 คน โดยจำแนกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบบสมัครใจเข้าร่วม จำนวน กลุ่มละ 37 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบเจาะจงโดยมี เกณฑ์การคัดเลือกดังต่อไปนี้ มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วม สามารถอ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดจนสิ้นสุดงานวิจัย เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับยาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี รูปแบบการวิจัย (Research Design) เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) แบบศึกษา 2 กลุ่ม วัด 2 ครั้ง (Two Group Pre-Test and Post-Test Designs) คือกลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้ทดสอบความเที่ยงตรง (Validily) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดลองใช้วิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาคของ Cronbach's Alpha ได้ค่าความเที่ยง 0.72 ส่วนการรับรู้รายด้านประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ถึงผลประโยชน์ของการปฏิบัติการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติตัว คำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ถึงผลประโยชน์ของการปฏิบัติการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติตัว เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่ากลุ่มการควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุม สรุปผล โปรแกรมคู่หูดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อเสนอแนะ จากผลของงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารตามใจตัวเอง ออกกำลังการที่ไม่เหมาะสม ไม่มีผู้ดูแลและตักเตือน ดังนั้นจึงควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติม และในการจัดกิจกรรม ควรใช้รูปแบบที่หลากหลาย โดยต้องได้รับความร่วมมือจากเพื่อน ครอบครัว และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือทุกภาคส่วน

 

การพัฒนาระบบคัดกรองพัฒนาการเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คปสอ.กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

พญ. นุชรี  มะลิซ้อน , วิชุดา  ชาวสวน  และนภาพร กันธิยะ

โรงพยาบาลกุมภวาปี

ที่มาและความสำคัญ ในปี 2555 โรงพยาบาลกุมภวาปี จัดตั้งคลินิกพัฒนาการเด็ก รับส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติจาก รพ.ลูกโซนและรพ.สต. จากการสรุปผลงานพบว่ามีเด็กมารับบริการ 37 ราย มากกว่า50 % เป็นเด็กที่กุมารแพทย์นัด เช่น เด็ก Preterm และผู้ปกครองพามาตรวจเอง ไม่มีเด็กที่ส่งต่อจากรพ.สต.ทีมงานได้หาแนวทางร่วมกันพบสาเหตุ ระบบการคัดกรองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ายังไม่ชัดเจนไม่มีเจ้าหน้าที่หรือสถานที่ที่เหมาะสมให้เด็กเข้าถึงบริการได้ตามเกณฑ์ พบว่าเด็กที่มารับวัคซีนในรพ.สต.ไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ เนื่องจากการให้บริการที่รพ.สต.เดือนละ 1 ครั้ง ทำให้เด็กมีจำนวนมากและไม่ได้แยกกลุ่มเด็กเล็กเด็กโต ทีมงานจึงได้พัฒนาระบบการตรวจพัฒนาการเด็กและการรับบริการในคลินิกพัฒนาการเด็กร่วมกัน โดยมีประเด็นสำคัญในการพัฒนาคือการฟื้นฟูความรู้และทักษะด้านการตรวจพัฒนาการเด็ก และการปรับระบบบริการ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก0-6 ปี ในรพ.สต.และเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติหรือล่าช้าได้รับการรักษาหรือส่งต่ออย่างเหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัย วิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 4 ระยะคือระยะที 1 ศึกษาสถานการณ์การบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีด้านตรวจพัฒนาการเด็ก ระยะที่ 2 วางแผนดำเนินการ เช่นประชุมผู้เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางให้บริการ ระยะที่ 3 ดำเนินการตามแผนประกอบด้วย ให้ความรู้และฝึกทักษะเจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาการเด็ก จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน พัฒนาระบบส่งต่อข้อมูล การปรับระบบให้บริการวัคซีนและการตรวจพัฒนาการที่รพ.สต. จัดหาชุดตรวจพัฒนาการ การติดตามประเมินผลในรพ.สต.และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะที่ 4 สรุปและประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย คือรพ.สต. 17 แห่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน 27 คน เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าที่มารับบริการในคลินิกพัฒนาการเด็ก ระหว่างปี 2556-2557 จำนวน 136 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลผู้มารับบริการ เวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงาน 27 คน ได้รับการฝึกทักษะการตรวจพัฒนาการเด็ก มีคู่มือการให้บริการในคลิกนิกสุขภาพเด็กดีและแนวทางการส่งต่อและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก รพ.สต. 17 แห่งในอ..กุมภวาปีปรับระบบบริการจากเดือนละ1 ครั้ง เป็นเดือนละ2-4 ครั้ง ตามจำนวนเด็กของแต่ละแห่งแยกวันเด็กเล็กเด็กโตและมีบริการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแห่งละ1 วันต่อเดือน เด็กที่ต้องกระตุ้นพัฒนาต่อเนื่องส่งต่อไปแผนกกายภาพบำบัด และส่งต่อรพ.อุดรธานี ในเด็กที่มีปัญหาด้านการพูด หรือออทิสติค 9 ราย รพ.ศรีนครินทร์ 3 ราย ในปี 2555 - 2557 จำนวนเด็กในคลินิกพัฒนาการเด็กเพิ่มขึ้นจาก 37 รายเป็น 54 และ 82 ราย เด็กรายใหม่เพิ่มขึ้น 38 และ 61 ราย ตามลำดับ ส่งต่อ จากรพ.สต. 2 รายและ 7 ราย โดยพบว่า 3 อันดับโรค แรก คือ Preterm / Delay development /CP การจำหน่ายเด็กดูแลต่อที่บ้าน 9 ราย และเข้าอนุบาล 4 ราย ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน 2 ราย สรุปผลงานโดยย่อ การพัฒนาระบบบริการพัฒนาการเด็ก ส่งผลให้เด็กเข้าถึงบริการด้านการคัดกรอง การกระตุ้นพัฒนาการและได้รับการดูแล การส่งต่อที่เหมาะสมและรวดเร็วมากขึ้น บทเรียนที่ได้รับ การมีคู่มือการดำเนินงานในสถานบริการทุกระดับและการประสานงานกับผู้รับผิดชอบคลินิกพัฒนาการเด็กโดยตรง ทำให้การส่งต่อเด็กและข้อมูลครบถ้วน วางแผนดูแลเด็กร่วมกันได้ดี การนิเทศการปฏิบัติงานด้านการคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการเด็กในรพ.สต.ทุกแห่งทำให้ทีมงานเข้าใจบริบทในการจัดบริการที่เหมาะสม และการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดหาชุดตรวจหรอืกระตุ้นพัฒนาการทำให้การจัดบริการมีคุณภาพมากขึ้น การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ การพัฒนาระบบคัดกรองพัฒนาการเด็กในช่วงแรกเริ่มในรพ.สต. 5 แห่ง ที่มีความพร้อมและมีอุปกรณ์การตรวจและกระตุ้นพัฒนาการ   สามารถคัดกรองเด็กที่พัฒนาการล่าช้าส่งพบแพทย์ได้มากขึ้น จึงขยายผลการจัดบริการให้รพ.สต.อีก12 แห่งเ หลังดำเนินการได้ผลลัพธ์ที่ดี และผ่านการประเมินคลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพจากระดับจังหวัด จึงมีหน่วยงานอื่นเข้าไปเรียนรู้และศึกษาดูงาน  ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่โดยการนำเสนอผลงาน

 

การศึกษาเรื่องการตั้งครรภ์วัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยรับฝากครรภ์ โรงพยาบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

E-mail Print PDF

นางสาวอรวรรณ  พินธะ

งานห้องคลอด  โรงพยาบาลกุดจับ

ที่มาและความสำคัญ สถานการณ์สตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ในประเทศไทย พื้นที่ที่มีจำนวนเด็กคลอดจากแม่วัยรุ่นมากที่สุด 5  อันดับ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ และสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ  อุบัติการณ์วัยรุ่นทำแท้งไม่ปลอดภัย ร้อยละ 30.4 ของการแท้งทั้งหมด และพบวัยรุ่นติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร้อยละ 52 จากกลุ่มวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด (โรงพยาบาลศูนย์อุดร,2551) ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลกุดจับ พบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2554-2556 คิดเป็น ร้อยละ 18.75, 21.91 และ 27.27 ตามลำดับ และยังพบอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่เคยตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 33.33,21.43 และ 18.75 ในปี พ.ศ.2554-2556 (งานแผนงาน โรงพยาบาล กุดจับ,2556) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาผลของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุระหว่าง 11-19 ปีและมารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลกุดจับ ในช่วงเวลาเดือนตุลาคม 2556พฤษภาคม 2557 ยินยอมเข้าร่วมในการวิจัย การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 65 คน ที่มาฝากครรภ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 พฤษภาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติพื้นฐานจำนวนและร้อยละ ผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นใช้สถิติพื้นฐานจำนวนและร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยใช้ Chi-square ผลการศึกษา สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง17-19ปีคิดเป็นร้อยละ 49.2, ด้านการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคิดเป็นร้อยละ 33.8, ด้านอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 52.3, ด้านจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 56.9, ด้านการทราบว่าตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ไตรมาสที่1คิดเป็นร้อยละ 81.5, ด้านการแท้งไม่เคยแท้งคิดเป็นร้อยละ83.1, ด้านการวางแผนที่จะตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์/ไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์คิดเป็น ร้อยละ 72.3 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่1คิดเป็นร้อยละ 78.5 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ปัจจุบันจะอยู่ในไตรมาสที่ 2 คิดเป็นร้อยละ87.7 สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงปกติดีคิดเป็นร้อยละ 93.8 ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 1 มีการดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 81.1 ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ดูแลตนเองในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อทดสอบความแตกต่างด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลต่อการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.006*) ด้านสุขภาพขณะตั้งครรภ์พบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่แข็งแรง/ปกติดี ดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ95.3 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะแทรกซ้อนดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 71.2 เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่าสุขภาพขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.021*) ด้านอาชีพพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่เป็นนักเรียน/นักศึกษามีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 72 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอาชีพแม่บ้านส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ60 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอาชีพรับจ้างมีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าอาชีพมีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value =0.021*) ด้านการวางแผนการตั้งครรภ์พบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่วางแผนที่จะตั้งครรภ์/ตั้งใจตั้งครรภ์มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 54.5 ด้านการไม่วางแผนการตั้งครรภ์พบว่ามีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ64.6 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าการวางแผนการตั้งครรภ์มีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.05*) ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 1 ส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 54.5 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาสที่ 2 ส่วนใหญ่มีผลกระทบด้านจิตใจในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 64.6 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลกระทบด้านจิตใจต่อการตั้งครรภ์พบว่าอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.020*) ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส1ส่วนใหญ่ดูแลตนเองในระดับมากคิดเป็นร้อยละ79.7 สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ดูแลตนเองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ100 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลการดูแลตนเองด้านครอบครัวพบว่าอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value = 0.006*) สรุปผลการศึกษา ข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นส่วนใหญ่มีอายุ 17 – 19 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นแสดงว่ามีการยอมรับการตั้งครรภ์จึงทำให้มีการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์โดยเริ่มตั้งแต่การมาฝากครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ผลกระทบต่อด้านจิตใจมีผลกระทบในระดับปานกลางร้อยละ 58.6 โดยส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์/ไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์และไม่คาดคิดว่าจะตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 68.6 ทำให้ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ทำให้ยังมีความคิดกังวลสับสนกลัวการ เมื่อพ้นช่วงแรกของการตั้งครรภ์ก็จะเกิดการยอมรับการมีตัวตนของบุตรในครรภ์และมาฝากครรภ์จึงทำให้มีการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์การดูแลด้านครอบครัวในขณะตั้งครรภ์ในระดับมากมีค่ามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่น ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์พบว่าปัจจัยด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกและภาวะสุขภาพขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการตั้งครรภ์ในด้านการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่นในด้านผลกระทบด้านจิตใจปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่นในด้านผลกระทบต่อจิตใจพบว่าปัจจัยด้านอาชีพการวางแผนการตั้งครรภ์ด้านอายุครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีความเกี่ยวข้องต่อผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องต่อผลกระทบด้านจิตใจมากที่สุด ทำให้มีผลต่อจิตใจและมีความเครียดความวิตกกังวลสูงมีความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยด้านส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นด้านครอบครัวพบว่าด้านอายุครรภ์ไปฝากครรภ์ครั้งแรกมีผลต่อการดูแลด้านครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ความต้องการการช่วยเหลือของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความต้องการยอมรับจากครอบครัวพบว่าเมื่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการยอมรับการตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์และการปรับบทบาทสถานภาพนักเรียนนักศึกษามาสู่การสร้างครอบครัวทำให้ต้องปรับตัวเป็นอย่างมากทำให้มีความเครียดและวิตกกังวลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความต้องการในด้านความรักความเข้าใจรวมถึงการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์คลอดและหลังคลอดรวมถึงการให้ข้อมูลผลของการตั้งครรภ์วัยรุ่นและความช่วยเหลือในการดูแลทารกหลังคลอด

 

ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ

E-mail Print PDF

นางนิลปัทม์  พลเยี่ยม และ. นางกรองแก้ว  อัคเนตร

งานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี

ที่มาและความสำคัญ จากการสรุปผลงานของโรงพยาบาลกุมภวาปีพบว่าปี 2553-2554 พบทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองร้อยละ34.5 และ31.4 ตามลำดับ จากสาเหตุปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ  ทำให้ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลสูง  ด้านกระบวนการดูแลรักษา ส่งผลให้ภาระงานการพยาบาลมากขึ้น โรงพยาบาลกุมภวาปี มีระบบการดูแลมาตรฐานทั่วไป แต่ยังไม่มี แนวปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน จึงได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติ ช้ในการดูแลมารดาทารก เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะตัวเหลือง จากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ขึ้นในปี 2555 -2556 จึงได้จัดทำการศึกษานี้ขึ้น เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลทารกแรกเกิดจากการได้รับน้ำนม ไม่เพียงพอที่เข้ารับการรักษาที่ตึกสูตินรีเวชกรรม และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและพยาบาลวิชาชีพ ระเบียบวิจัย ศึกษาในกลุ่มมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดปกติที่ 2-72 ชั่วโมง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 300 คู่ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 โดยกลุ่มตัวอย่าง มีความยินดี และเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบคือ แบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติของพยาบาล แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการใช้แนวปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ผลการศึกษา พยาบาลวิชาชีพการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตัวเหลืองจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในทารกแรกเกิด สามารถปฏิบัติได้เป็นอย่างดี โดยค่าคะแนนร้อยละ90 ขึ้นไปจำนวน9 คนและ ร้อยละ87.7 จำนวน1 คน ผลลัพธ์การใช้แนวทางปฏิบัติภาวะตัวเหลืองในปี2555-2556 ร้อยละ 11.3 และ11.3 และพบว่าพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติได้น้อย คือการให้สุขศึกษาโดยสื่อวิดิโอ และแฟ้มเรียนรู้ในเวลา 19.00 น. และเวลา 06.00 น. เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีกิจกรรมพยาบาลทับซ้อนกัน เช่น การประเมินสัญญาณชีพ การกระตุ้นการให้นมของมารดา การให้ยา การชั่งน้ำหนัก และการเจาะเลือดทารก เพื่อประเมินตัวเหลืองประจำวัน ทำให้พยาบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ในเวลาที่กำหนด ในด้านความพึงพอใจของมารดาระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 95.3 และระดับดีร้อยละ 4.6 ด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติ มีความพึงพอใจระดับดีมากร้อยละ 90 และระดับดีร้อยละ 10

 

การจัดการขยะอันตราย ในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลนายูง

E-mail Print PDF

นายณัฐพล   อุ่นจันทร์

โรงพยาบาลนายูง

ที่มาและความสำคัญ ประชากรในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลนายูง  อำเภอนายูง  จังหวัดอุดรธานี  มีการทำเกษตรกรรม และทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร  จำนวนครัวเรือนที่ใช้สารเคมีและปลูกยางพารามีจำนวน 300 ครัวเรือน  โดยมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้กันมาก รวมถึงการใช้พาราควอท ไกลโฟเสต ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช  ยากันเชื้อรา น้ำกรด ซึ่งมีสารพิษ  สารเคมี ซึ่งสามารถเกิดอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม  การใช้สารพาราควอท ไกลโฟเซต น้ำกรอฟอร์มมิก  ปุ๋ย  ยากันเชื้อราดินยาสต๊อบสำหรับทาหน้ายางโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นยางพาราและพืชชนิดอื่น เกษตรกรมีการใช้สารเคมีประมาณ 2 ครั้งต่อปี แต่ไม่มีการกำจัดภาชนะที่เป็นขยะอันตรายจากสารเคมีที่ไม่เหมาะสม  โดยพบว่ามีการทิ้งตามไร่ วางตามพื้นดินที่ใช้ไม่หมดและจัดเก็บไม่เป็นที่ตามบ้านเรือน หรือแม่น้ำลำคลองทำให้สารพิษเหล่านี้ได้แพร่กระจ่ายสู่ดิน สู่แหล่งน้ำต่างๆ  ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา  ในประชากรในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นหัวหน้าครอบครัวของครอบครัวเกษตรกรที่ปลูกยางพาราที่ปลูกยางพาราและทำเกษตรกรรม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 1 คนต่อ 1 ครัวเรือน จำนวน 300 คน วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราและทำเกษตรกรรม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี สถานที่ 2 พื้นที่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนายูง ระยะเวลา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาระหว่าง1 มีนาคม 2557 ถึง 30 พฤษภาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และ ร้อยละ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ คุณลักษณะส่วนบุคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนอายุ รายได้ ระยะเวลาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคมีแต่ละครั้ง ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาการจัดการขยะอันตรายของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในตอนที่สอง โดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่และ ร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย ลักษณะประชากรของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเป็นเพศชายจำนวน 186 คน (ร้อยละ 62.0) และเพศหญิงจำนวน 114 คน (ร้อยละ 38.0) อายุของกลุ่มคิดเป็นค่าเฉลี่ย 12.8 และค่าต่ำสุด อายุ 16 ปี ค่าสูงสุด อายุ 70 ปี ระดับการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 209 คน (ร้อยละ 69.7) มัธยมศึกษาจำนวน 76 คน (ร้อยละ 25.3) และปริญญาตรีจำนวน 9 คน (ร้อยละ 3.0) น้อยสุดคือต่ำกว่าปริญญาจำนวน 6 คน (ร้อยละ 2.0)สถานภาพมีสถานภาพสมรสจำนวน 246 คน (ร้อยละ 82.0) และสุดคือ หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ 29 คน (ร้อยละ 9.7) น้อยสุดคือ สถานภาพโสดจำนวน 25 คน (ร้อยละ 8.3) รายได้ต่อปีเกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีรายได้เฉลี่ยปีละ 65,903.11 บาทและ รายได้ต่ำสุด 20,000 บาท รายได้สูงสุด 400,000 บาทระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ที่ใช้สารเคมีระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพารา เฉลี่ย 7 ปี และระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราปลูกยางพารา ต่ำสุด 5 ปี ระยะเวลาที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรและปลูกยางพาราปลูกยางพารา สูงสุด 70 ปี พื้นที่ในการปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีพื้นที่ในการปลูกยางพาราโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12 ไร่ และพื้นที่ในการปลูกยางพารา ต่ำสุด 2 ไร่ พื้นที่ในการปลูกยางพารา ค่าสูงสุด 100 ไร่ การจัดการขยะอันตราย ของเกษตรกรที่ปลูกยางพารา การจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพารามีการจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 135 คน (ร้อยละ 45.0) และไม่มีการจัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 165 คน (ร้อยละ 55.0) สถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพารามีสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชนอกอาคารมีหลังคา จำนวน 132 คน (ร้อยละ 44.0) จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่โล่งแจ้งจำนวน 141 คน (ร้อยละ47.0) อื่นๆ จำนวน 26 คน (ร้อยละ8.7) และน้อยที่สุด คือ สถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอาคารเก็บสารเคมี จำนวน 1 คน (ร้อยละ 0.3) มีการจัดทำบัญชี หรือบัญชีคุมสารเคมี รวมทั้งมีการบันทึกชนิดและปริมาณสารเคมีในสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ ไม่มีการจัดทำบัญชี หรือบัญชีคุมสารเคมี จำนวน 227 คน (ร้อยละ 75.7) มีการจัดทำบัญชีหรือบัญชีคุมสารเคมี จำนวน 73 คน (ร้อยละ 24.3) สถานที่เก็บสารเคมีมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวัง มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ไม่มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวังจำนวน 277 คน (ร้อยละ 75.7) มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงข้อควรระวัง ผู้ตอบข้อคำถาม จำนวน 73 คน (ร้อยละ 24.3) ผลการสำรวจอุบัติภัยในรอบ 3 ปีที่ผ่านของสถานที่จัดเก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและผู้ที่ปลูกยางพาราไม่มีอุบัติภัย จำนวน 292 คน (ร้อยละ 97.3) มีอุบัติภัย สารเคมีหก/รั่วไหล จำนวน 8 คน (ร้อยละ 2.7) วิธีการในการกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรและที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ ใช้น้ำกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน จำนวน 164 คน (ร้อยละ 54.7) ไม่มีการดำเนินการกำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหล ตกค้างภายในบ้าน จำนวน 77 คน (ร้อยละ 25.7) ทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ก่อนนำไปทิ้ง จำนวน 32 คน (ร้อยละ 10.7) กำจัดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หก/รั่วไหลตกค้างภายในบ้าน โดย วิธีมีกวาดทิ้ง จำนวน 17 คน (ร้อยละ 5.7) ใช้ทรายหรือวัสดุดูดซึมสารที่หกหล่น/รั่วไหลก่อนนำไปทิ้ง จำนวน 10 คน (ร้อยละ 3.3) และวิธีอื่นๆ จำนวน 6 คน (ร้อยละ 9.0) การจัดการภาชนะบรรจุสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้หมดแล้ว มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ มีการจัดการโดยวิธีอื่นๆคือเผา ทิ้งไม่เป็นที่ อื่นๆ จำนวน 83 คน (ร้อยละ 27.7) ฝังกลบบริเวณหน่วยงาน จำนวน 81 คน (ร้อยละ 27.0) ทิ้งรวมกับขยะทั่วไปจำนวน 61 คน (ร้อยละ 20.3) เก็บไว้ในโกดังโดยไม่มีการกำจัด จำนวน 33 คน (ร้อยละ 11.0) นำภาชนะไปบรรจุจำนวน 27 คน (ร้อยละ 9.0) น้อยที่สุดคือ เก็บไว้นอกโกดังโดยไม่มีการกำจัดจำนวน 15คน (ร้อยละ 5.0) การได้รับอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของผู้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีผู้ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ 300 คน พบว่า เกษตรกรผู้ที่ปลูกยางพาราไม่เคยเคยได้รับการอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 230 คน (ร้อยละ 76.7) เคยได้รับการอบรมเรื่องการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จำนวน 70 คน (ร้อยละ 23.3)

 


Page 2 of 26
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday5
mod_vvisit_counterYesterday23
mod_vvisit_counterThis week5
mod_vvisit_counterLast week368
mod_vvisit_counterThis month353
mod_vvisit_counterLast month311
mod_vvisit_counterAll days249104

We have: 1 guests online
Your IP: : 3.141.29.145
Mozilla 5.0, 
Today: May 05, 2024

Polls

Who's Online

We have 1 guest online

Advertisement

Featured Links:
Joomla! Extensions
Joomla! Components, Modules, Plugins and Languages by the bucket load.

Popular